การรีดส่วนเกินทุนจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ผมเคยไปเยี่ยมบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจเว๊ปไซต์ครับ บริษัทนี้ชื่อไม่ดังเท่าไหร่ แต่เว๊ปไซต์ของเขาดังมาก เขามีเว๊ปไซต์ในความดูแลประมาณ 5 เว๊ปเห็นจะได้ แค่บอกชื่อแล้วก็จะรู้จักทันที

การไปเยี่ยมในครั้งนั้น ผมไม่ได้ไปเพราะจะติดต่อธุรกิจอะไร ผมไปเพราะผมมีเรื่องทางอาญาบางอย่าง ที่ต้องไปติดต่อขอให้บริษัทนี้ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกบางอย่างให้กับผม

เมื่อผมเข้าไปในบริษัทครั้งแรก สิ่งที่ผมเห็นก็คือที่ขวามือของผม มีห้องประชุมห้องหนึ่ง ภายในห้องนั้นมีระดับผู้บริหารกำลังประชุมกันอยู่ เห็นว่าราว ๆ 4 – 5 คน

เบื้องหน้าของผมเป็นกลุ่มโต๊ะทำงาน วางเรียงกันเป็นแถวตอน กว้าง 4 โต๊ะ ลึก 4 โต๊ะ คำนวณแล้วก็ประมาณ 16 – 18 โต๊ะ ผมทึกทักเองในใจว่าคงมีระดับปฏิบัติการ ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ราว ๆ 18 – 20 คนเป็นอย่างน้อย

เมื่อรวมกับระดับบริหารแล้ว บริษัทนี้น่าจะมีคนทำงานราว ๆ 25 คน!!!

ตอนนั้นผมมัวแต่สนใจเรื่องทางอาญาของผม เลยไม่ได้สนใจอะไรกับพนักงานของที่นั่น แต่ตอนนี้หมดเรื่องไปนานแล้ว เลยมานั่งคิดว่า บริษัทนี้สามารถสร้างสรรค์ผลงานระดับประเทศได้ โดยใช้คนแค่ 20 กว่าคนเองแฮะ เก่งจัง

การใช้คนน้อยแต่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เยอะแบบนี้ ทำให้ผมนึกถึง คาร์ล มาร์กซ์ ครับ เขาบอกเอาไว้ว่า

โดยแก่นแท้แล้ว กำไรสุทธิของธุรกิจ ได้มาจากการรีดส่วนเกินแรงงานจากคนทำงาน

ผมก็เชื่อตามนั้นแหล่ะว่า การกดค่าแรงเป็นสิ่งแรก ที่จะทำให้ธุรกิจของเราได้ผลกำไรสุทธิสูง ๆ เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่เราควบคุมได้ ในขณะที่ต้นทุนของวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ถูกกำหนดมาแล้วโดยผู้ผลิต และราคาขายเราก็กำหนดส่งเดชไม่ได้ เพราะถูกควบคุมโดยกลไกตลาด ถ้าเรากำหนดแพงไป ก็จะถูกตลาดลงโทษ โดยผู้ซื้อไม่สนใจจะซื้อนั่นเอง

วันนี้ผมได้คุยกับ Application Management Director ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งครับ ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยปูนใหญ่ครึ่งหนึ่ง และ Accenture อีกครึ่งหนึ่ง

เขาเล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้การประเมิณต้นทุนสำหรับการทำโครงการซอฟต์แวร์หนึ่ง ๆ ทำได้โดยยากครับ เนื่องจากว่าตัวแปรในการพิจารณามันเยอะ ถ้าหากว่าพิจารณาผิด ก็จะทำให้การเสนอราคาผิด ซึ่งนำมาซึ่งการขาดทุนอันมหาศาล ด้วยเหตุผลเพราะว่า ต้นทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ กระจุกตัวอยู่ที่ค่าแรงของนักพัฒนาซอฟต์แวร์นั่นเอง

ยุคนี้การกดเงินเดือนนักพัฒนาซอฟต์แวร์มันแทบเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะถ้านักพัฒนาซอฟต์แวร์ถูกกดค่าแรง ก็จะไม่อดทนอยู่ ก็จะลาออกไปอยู่ที่ใหม่ที่ไม่กดค่าแรงทันที

ดังนั้นจุดเปลี่ยนจึงกลายเป็นว่า บริษัทส่วนใหญ่ต้องยอมจ่ายค่าแรงให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในราคาสูง แล้วก็ไปนั่งคิดกันให้หัวแตกไปเลยว่า

  1. จะรีดเร้นศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาทุกหยดยังไง และ
  2. จะประเมิณต้นทุนซึ่งแปรผันตรงจากค่าแรงดังกล่าว เพื่อไปคำนวณเป็นราคาขายที่จะเสนอให้กับลูกค้าต่อไปยังไง

ผมว่าการประเมิณพวกนี้ มันยากกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกองเลยแฮะ เน้อะ?
[tags]ค่าแรง,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,กดค่าแรง,ส่วนเกินทุน,รีด[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “การรีดส่วนเกินทุนจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์

  1. แล้วพี่ว่าในอนาคตอีกซักปีสองปี จะเป็นอย่างนี้อยู่รึป่าวครับ
    ผมว่าเดี๋ยวนี้คนเก่งๆเยอะแล้วนะครับ
    ไม่รู้ว่าพอรุ่นผมจบมันจะเปลี่ยนไปยังไงและมากแค่ไหน

  2. คุณโอ – ตอนนี้คนเก่งไม่ได้เยอะขึ้นหรอกครับ เพียงแต่คนเก่งนั้นโผล่มาให้เราเห็นมากกว่าแต่ก่อนมากกว่า ทำให้เราคิดว่าคนเก่งมีเยอะ ทั้งที่จริง ๆ แล้วคนที่ยังไม่เก่งหรือกำลังไต่อันดับมีอยู่มากเมื่อเทียบกับคนเก่งครับ

    ในด้านการรีดพลังความคิดนี่เห็นด้วย แต่ปัญหาก็คือความเหมาะสมในด้านค่าตอบแทนและการพักผ่อน นักพัฒนาซอฟต์แวรก็คน ครับ และงานด้านนี้ต้องใช้สมองในการคิดมากตามไปด้วย การมีช่วงพักผ่อนและสภาพการทำงานที่ผ่อนคลายทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นครับ เห็นได้กับ GooglePlex ครับ

  3. อืมๆ ใช่ครับ ผมก็ว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากๆเลย เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆ หาจาก Google ก็ไม่ได้ :-p

    เรื่องสถานการณ์เงินเดือนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผมว่าคงอยู่ไม่นานหรอกครับ เพราะจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สมทบกับคนที่อยู่ๆแล้ว ซึ่งก็น่าจะทำให้ปัญหาที่เกิดจากเงินเดือนนักพัฒนาน้อยลง (อุปสงค์ – อุปทาน)

    อีกทั้งบริษัทรับพัฒนาซอฟต์แวร์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปก็เก่งขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ

    คราวนี้ปัญหาน่าจะไปอยู่ที่การทำตลาด การหาลูกค้ามากกว่าการประเมิณราคาแล้วล่ะครับ

  4. ต่อไปคนเก่งจะเยอะแยะเต็มไปหมดเลยครับน้องโอ เพราะในอนาคตข้างหน้า ถ้าหากเรายังต้องใช้แรงงานทำงานอยู่ ก็จะเหลือคนแค่สองพวกเท่านั้น คือ ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ประกอบการ

    การปฏิวัติสารสนเทศ, การปฏิวัติทุนสำรองเงินตรา และการปริวรรตเงินตรารูปแบบใหม่ อันเกิดจากการแพร่หลายของอินเตอร์เน็ต จะนำมาซึ่ง งาน, ความมั่งคั่ง และความยั่งยืนรูปแบบใหม่ สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในอนาคตครับคุณ Ford AntiTrust, คุณ panuta

  5. คุณพี่ไท้ พอจะอธิบายได้ไหมครับว่า การปฏิวัติทุนสำรองเงินตราคืออะไร แล้วทุนสำรองที่ว่าจ จะเปลี่ยนรูปจากทองคำไปเป็นอะไรได้อีกครับ แล้วใครจะยอมรับ?

    รวมถึงเรื่องการปริวรรตเงินตราด้วยครับ อ่านแล้วงงๆ

  6. อย่างที่เรารู้กันครับคุณ nat ว่าปัจจุบันนี้เรามีเหรียญกษาปน์และธนบัตรใช้กัน

    จะเห็นว่าเรายอมรับเงินตราในปัจจุบัน เนื่องด้วยเหตุผลเพราะได้รับการรับรองความน่าเชื่อถือจากธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาลไทย อย่างต่อเนื่อง และยาวนาน

    ในอดีตอารยธรรมของมนุษย์เรา ใช้โลหะสินแร่ที่หายากแทนเป็นเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นโลหะทองคำ, โลหะเงิน หรือโลหะทองแดง

    แต่เนื่องจากว่าโลหะดังกล่าวหายาก โดยตัวมันเองก็มีค่า ดังนั้นคนทั่วไปจึงไม่ใช้มันเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ แต่กลับนำโลหะซึ่งทำเป็นเงินตราเหล่านั้น มาหลอมเพื่อทำภาชนะ, สิ่งของ หรือเครื่องประดับ

    จึงทำให้โลหะมีค่าเหล่านั้นขาดแคลน

    โดยปัญหาเหล่านี้ จึงมีความคิดว่าควรสร้างระบบที่เรียกว่าการปริวรรตเงินตรา ซึ่งหมายถึง การนำสินทรัพย์ที่มีค่ามาใช้หนุนหลังการออกเงินตรา ซึ่งคุณ nat สามารถทำความเข้าใจเพิ่มได้จากลิงค์นี้ http://www.bot.or.th/Bothomepage/databank/EconData/Definitions/Monetary&PublicFinance/CurrencyReserve.htm

    ไม่แน่ว่าในอนาคต ด้วยการปฏิวัติทุนสำรองเงินตราในชุมชนออนไลน์ เราอาจจะได้เห็นรูปแบบของทุนสำรองเงินตรารูปแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับ เงินใน PayPal ที่อิงอยู่กับดอลล่าร์สหรัฐ, เงินใน eGold ที่อิงอยู่กับค่าของโลหะมีค่า หรือแสตมป์เงิน 7-Eleven ที่อิงอยู่กับเงินบาทไทยก็เป็นได้

    สำหรับคำตอบที่ว่าใครจะยอมรับ ก็คงต้องตอบว่าการยอมรับจะขึ้นอยู่กับชุมชนออนไลน์นั้น ๆ ครับ

  7. รีดเงินหรือรีดแรงงานอ่ะคุณจอห์น ^o^ ผมว่าอย่างคุณจอห์นน่าจะถูกรีดความรักมากกว่านะ อิ อิ

    ผมโม้อ่ะครับท่านสุมาอี้ หากยังพิสูจน์ให้เห็นจริงไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ ก็ถือว่าสิ่งที่ผมกล่าวมา เป็นเพียงการโม้เท่านั้นเองอ่ะครับ ^o^

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *