ผมชอบผลงานของ Bernard Lietaer ครับ เขาเป็นใครน่ะเหรอ? เขาเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบระบบเงินยูโรที่ปัจจุบันสมาชิกสหภาพยุโรปใช้กันอยู่

แนวคิดนึงที่ผมสนใจในงานเขียนของเขา อยู่ที่เรื่องของความผันผวนทางการเงิน และการปฏิวัติสารสนเทศ เรามาค่อย ๆ เรียงลำดับความเข้าใจกันก่อนนะครับ

ทราบกันมั้ยครับว่าคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถโปรแกรมคำสั่งได้ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลเพราะอะไร? … ครับ ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ มีเครื่องมือในการคำนวณสมการยาก ๆ ได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ

นั่นแสดงว่าโดยพื้นฐานแล้วคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับคณิตศาตร์ ถูกเน้อะ?

ทีนี้เรามองย้อนกลับไปอีกว่าแล้วคณิตศาสตร์ถูกคิดค้นขึ้นเพื่ออะไร … เมื่อมองย้อนกลับไปถึงต้นขั้ว เราก็จะพบว่าคณิตศาสตร์ในระยะเริ่มต้น ถูกคิดค้นเพื่อการคำนวณ และเพื่อการนับ … แล้วนับอะไร?

ครับ ใช้เพื่อการนับทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่า และทรัพย์สินที่มีมูลค่าเหล่านั้น ก็เทียบได้กับ “เงินตรา” ทุกวันนี้

เมื่อย้อนกลับมาในปัจจุบัน อย่างที่เรารู้ ว่าเดี๋ยวนี้ระบบการเงินของประเทศไทยอยู่ในรูปแบบของระบบปริวรรตเงินตรา เราเอาทองคำ, ดอลล่าร์สหรัฐ, หลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลล่าร์ มาแมะเอาไว้เพื่อเป็นทุนสำรองเงินตราบางส่วน จากนั้นเราก็ปั๊มเหรียญกษาปน์และธนบัตรออกมาให้ประชาชนอย่างพวกเราใช้กันอีกทีนึง

เงินตราที่ใช้อยู่มีทุนสำรองหนุนหลัง

ซึ่งจากสิ่งนี้จะทำให้เราเห็นว่า ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายนั้น ประชาชนทั่วไปยังชำระค่าสินค้าและบริการกันด้วยเหรียญกษาปน์และธนบัตรอยู่

เมื่อมีการปฏิวัติสารสนเทศเกิดขึ้น จึงมีความหมายถึงการที่เรายกระดับอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ให้ผนวกรวมเข้ากับชีวิตประจำวัน และสิ่งแรก ๆ ที่การปฏิวัติสารสนเทศได้เข้าไปเปลี่ยนแปลง นั่นคือรูปแบบของการชำระเงิน และการจัดการเกี่ยวกับเงิน

เราจะพบว่าเงินของเราสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบ Smart Card, ผ่านบัตรเครดิต และผ่าน Internet Banking

การชำระค่าสินค้าและบริการจะถูกเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยใช้วิธีหยิบยื่นเหรียญกษาปน์หรือธนบัตรให้กัน เพื่อแลกกับสินค้าและบริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีสื่อกลางใด ๆ มาช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยน ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นต้องมีสื่อกลางเข้ามาเป็นผู้ประสานให้การชำระค่าสินค้าและบริการนั้นสมบูรณ์

คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ และระบบอินเตอร์เน็ตกลายเป็นนายหน้าในการทำธุรกรรมเหล่านี้!!!

มันคงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นนัก กับการที่คอมพิวเตอร์จะเป็นนายหน้า หรือเป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม เพราะโลกยุคนี้ก็เป็นแบบนี้ไปหมดแล้ว

ครับ เรื่องแบบนั้นไม่น่าตื่นเต้นหรอก แต่จุดที่น่าจะตื่นเต้นกว่าจะอยู่ที่ มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การปฏิวัติสารสนเทศจะนำมาซึ่งการปฏิวัติทุนสำรองเงินตรา และการปริวรรตเงินตรา!!!

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น งั้นเรามาดูนิยามของเงินกันก่อนแล้วจะเข้าใจ …

เงินคือข้อตกลงภายในชุมชนระหว่างสมาชิกชุมชนว่าจะใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสื่อในการชำระเงิน เมื่อเป็นข้อตกลง เงินก็เหมือนกับข้อตกลงประชาคมอื่น ๆ กล่าวคือถึงแม้จะเป็นนามธรรม แต่ก็เป็นเรื่องจริง ข้อตกลงอาจทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นการยอมรับโดยทั่วไป โดยอิสระหรือบังคับ รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

ข้อความข้างบน Bernard Lietaer เป็นคนบอกไว้ ผมแค่แฮ่บมาแสดงให้ดูเฉย ๆ ครับ

ผมคิดว่าด้วยการเติบโตของอินเตอร์เน็ตอันเกิดจากการปฏิวัติสารสนเทศ ผนวกรวมเข้ากับการมีชุมชนเกิดขึ้นในอินเตอร์เน็ต ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมีใครซักคนนึกอุตริ สร้างเงินตราที่เป็นที่ยอมรับกันขึ้นมาในชุมชนออนไลน์ โดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นทุนสำรองเงินตรา ซึ่งทุนสำรองเงินตราดังกล่าว อาจจะไม่ใช่เงินตราหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นได้

ถึงตอนนั้นรัฐบาลคงวิ่งวุ่นยิ่งกว่าการปิด Camfrog หรือเว๊ปโป๊ซะอีก เพราะมันหมายถึงการคุกคามอันใหญ่หลวงต่อรัฐชาตินั่นเอง

[tags]การปฏิวัติสารสนเทศ,ปริวรรตเงินตรา,bernard lietaer,เงินตรา,ทุนสำรองเงินตรา[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “การปฏิวัติสารสนเทศ

  1. อืมเป็นความคิดที่ผมไม่ตระหนัก มาก่อนครับ นับถือครับ
    ทำเงินตราชนิดใหม่ บนอินเตอร์เน็ต
    ————————————-
    ผมเคยได้ยินว่าวิชาคณิตศาสตร์ เริ่มต้นจากการนับแกะ (ได้ยินมาครับ)
    แต่มันก็ไม่ต่างกันเท่าไรใช่ไหมครับ

  2. เอ่อ..พี่ไท้ครับ วันนี้ผมแวะมาบอกข่าวดีครับพี คือเว็บพี่ได้ PR3 เกือบทุกหน้าเลยครับ ไม่เชื่อพี่ลองเช็คดูหนะครับ 🙂

  3. ผมว่าอีกหน่อย เตรียมใช้เงินตราที่ออกโดยชุมชนออนไลน์ได้เลยครับคุณหมี ถึงตอนนั้นธนาคารกลางแต่ล่ะประเทศ คงได้วิ่งวุ่นกันน่าดู

    ผมก็ยังเห็นว่าเป็น PR=0 อยู่เหมือนเดิมนะ คุณสิทธิศักดิ์ดูผ่านอะไรอ่ะ ผมดูจาก Google ToolsBar ซึ่งแปะอยู่กับ IE

  4. ลองเช็คหน้าอื่น ๆ ดูครับหน้าหลักจะช้ากว่าครับเพราะว่าต้องปรับฐานข้อมูลเยอะครับพี่

  5. มุมมองของพี่ไท้น่าสนใจครับ
    ใครจะรู้ว่าต่อไปเราอาจพริ้นเงินจากเครื่องพริ้นเพื่อในไปซื้อของก็เป้นไปได้

  6. บัตร Smart Card ของเซเว่นไงครับ !

    เพียงแต่มูลค่าของบัตร = มูลค่าของเงินบาท เท่านั้นเองครับ
    ผมมองอย่างนี้เพราะว่า นอกกลุ่มพันธมิตรแห่งบัตรเซเว่นตัวบัตรก็ไม่ได้มีมูลค่าอะไร
    ก็เหมือนเป็น Community ของเงินตรามาตรฐานบัตรเซเว่นที่มีมูลค่าเท่ากับเงินบาทครับ

    พูดถึงบัตรเซเว่น ผมยังแอบสงสัยว่าทำไม “ธนาคาร” ถึงไม่กระโจนเข้ามาเล่นกับสาย
    ที่เป็นกลุ่มหากินของตัวเอง (การเงิน) น่ะครับ ปล่อยให้ true money เปิดตลาดอยู่ได้ ลองคิดเล่น ๆ ว่าถ้าธนาคารทำบัตร e-money คล้าย ๆ กับสร้าง Account
    ของตัวเองขึ้นมาแบบซื้อซิมมือถือ แล้วก็เติมเงินผ่านห้างร้านหรือใช้บัตรเติมเงิน
    เวลาเข้าร้านซื้อขายของก็เอาไปรูดแบบบัตรเครดิต ฯลฯ หรือธนาคารจะเห็นอะไรที่ผม
    ไม่เห็นรึเปล่า

    (นอกเรื่องไปไกลมาก ๆ เลย ขอโทษคุณพี่ไท้ด้วยครับ)

  7. ลองดูเว๊ปนี้หน่อยมั้ยครับคุณ memtest, คุณเอกรินทร์ http://www.lightlink.com/hours/ithacahours/

    มันเป็นการเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน ให้อยู่ในรูปของการปริวรรติเงินตรารูปแบบใหม่ ถ้าอ่านดูจะพบว่า ทุนสำรองเงินตราของเงินตราแบบนี้ ไม่ใช่เงินตราหลักหรือทองคำหรือโลหะเงินเลย

    แต่อย่างที่ผมบอกอ่ะครับว่า การปริวรรติเงินตราแบบนี้ ควรได้รับการเห็นด้วยจากรัฐบาลและธนาคารกลางซะก่อนครับ ไม่อย่างนั้น ทางการคงไม่ยอมแน่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *