มาให้ความสนใจกับผังงานกันเถอะ

ผมว่านะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไป ไม่ค่อยจะชอบเขียนผังงานกันหรอก จริงแมะ? ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าถ้าให้เขียนผังงานนะ สู้เขียนเป็นโปรแกรมออกมาเลยจะดีกว่า เพราะมันก็เหมือนกันนั่นแหล่ะ ทำไมต้องมาเสียเวลาเขียนผังงานด้วย ฉอด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ฉอด (คองี้เอ็นขึ้นเลยเวลาเถียง)

Flow Chartอันนั้นมันก็จริง เห็นด้วย เพราะถ้าเมื่อ 9 ปีก่อนมีใครมาสั่งให้ผมเขียนโปรแกรม แล้วกำชับกับผมว่าก่อนจะเขียนโปรแกรมให้เขียนผังงานก่อนล่ะก็ ผมจะตบกะโหลกดิ้นเลย เหอ ๆ โหด ๆ (ไม่จริงหรอก เรื่องจริงก็ ครับ ครับ นั่นแหล่ะ แหะ ๆ)

แต่มาตอนหลังนะ พอผมต้องอยู่ในฐานะที่ต้องสื่อสารกับผู้ร่วมงานเพื่อให้เข้าใจว่าต้องการให้ลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นยังไง กลับกลายเป็นว่าไอ้เจ้าผังงานดันเป็นเครื่องมือที่ดีและเรียบง่ายในการใช้อธิบายให้เข้าใจตรงกันแฮะ

ดูเหมือนว่าผังงานจะไม่เหมาะให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนทำหรอก แต่มันเหมาะจะให้นักวิเคราะห์ระบบเป็นคนทำ แล้วถ่ายทอดให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจมากกว่า ดังนั้นถ้าเห็นนักวิเคราะห์ระบบคนไหนสั่งให้โปรแกรมเมอร์เขียนผังงานล่ะก็ ตบกระโหลกมันเลย อย่าลืม (ใครจะกล้าล่ะเนี่ย?) เพราะงานเขียนผังงานเป็นงานของนักวิเคราะห์ระบบ ไม่ใช่ของโปรแกรมเมอร์ อย่ามั่วนิ่มเชียว

Context Diagramทีนี้บางครั้งเราก็ต้องรับทราบว่าในองค์กรของเราก็อาจมีระบบตั้งมากมายเยอะแยะ แล้วไอ้ระบบเหล่านั้นก็น่าจะมีการสื่อสารข้อมูลกัน การจะมานั่งเขียนผังงานเล็ก ๆ เพื่ออธิบายให้พวกผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นฟังมันก็กระไรอยู่ เพราะคนพวกนี้เขาชอบอะไรใหญ่ ๆ โต ๆ แล้วก็เข้าใจอะไรง่าย ๆ ดังนั้นเราก็เลยต้องยกระดับมาใช้ผังงานอีกแบบที่ชื่อว่า Context Diagram ดีกว่า

ซึ่งเป็นผังงานแบบที่ผุ้ใหญ่ผู้โตเหล่านั้นชอบมาก เพราะมันรวบรัดตัดความดี ใครเขียนผังงานแบบนี้เพื่อสื่อสารกับผู้ใหญ่ผู้โตได้ ก็จะได้รับความชื่นชมซะไม่มี

แล้วถ้าอะไร ๆ มันซับซ้อนล่ะ จะเขียนผังงานยังไงดี ที่จะให้ผู้ร่วมงานเข้าใจด้วย ลูกค้าหรือผู้รับบริการจากเราเข้าใจด้วย แถมให้ผู้ใหญ่ผู้โตซึ่งมีอำนาจวาสนาและมีหน้าที่ดูแลเราอย่างใกล้ชิดเข้าใจด้วย มันก็ต้องคิดเยอะแฮะ ซึ่งโชคดีที่ในโลกนี้มีคนคิดไอ้เจ้า Work Flow ขึ้นมา

Workflow

มันเป็นผังงานในรูปแบบที่ผมชื่นชอบมาก ๆ เลย และผมก็ใช้มันบ่อย ๆ ด้วย ใช้บ่อยมาก ใช้ทุกวันทำงาน เพราะผมต้องสื่อสารกับผู้ร่วมงานไปทั่วเลย และระดับบริหารขององค์กรส่วนใหญ่ก็ชอบด้วย เพราะมันระบุขอบเขตบทบาทของแต่ล่ะระบบอย่างชัดเจน ทำให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าตรงไหนทำอะไร แล้วข้อมูลส่งไปทางไหน มีการแสดงออกหน้าจอหรือพิมพ์เป็นกระดาษหรือเปล่า เยอะแยะมากมายสาธยายไม่หมด

บางครั้งเราก็ต้องเข้าใจอ่ะครับว่าผู้ร่วมงานเราไม่ได้จบคอมพิวเตอร์ทุกคน เพราะบ้างก็อาจจะจบบัญชี หรือผู้บริหารบางท่านก็จบ MBA ไอ้ครั้นจะมาพ่นรูปประโยคประมาณว่า “มันเป็นงี้ครับ ทางเราได้อ่านข้อมูลมาจาก Oracle แล้วทำการเรียงเป็น Stream ตามหลักการ Protocol ไอ้นี่ไอ้โน่นไอ้นั่น จากนั้นยิง Socket ไปยังอีกระบบ แล้วเราก็ทำ software handshaking ด้วย บรา ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ……”

ซึ่งเขาก็จะมองหน้าเราแล้วก็ถามว่า “เฮ้ย คุณไท้ ช่วยพูดภาษาคนหน่อยได้มั้ย ภาษาคอมพิวเตอร์ไม่เอา ไม่เข้าใจ”

ใช่แมะ ๆ ๆ ๆ ๆ เราจะเอาภาษาที่ไม่ใช่ภาษาคนไปสื่อสารกับคนอื่นได้ไงล่ะ เราก็เขียนผังงานสิ ไอ้เจ้า Work Flow น่ะ เขียนแบบนี้กลาง ๆ ดีที่สุดเลย เข้าใจกันถ้วนทั่วทุกตัวคนทีเดียว

[tags]ผังงาน,flow chart,context diagram,work flow[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “มาให้ความสนใจกับผังงานกันเถอะ

  1. เหอๆๆๆๆ พี่ไท้ สุดยอดจริง ๆ ผมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีทีเดียวครับ เพราะการทำงานทุกอย่างก็ต้องมีแผนงานครับ ผมเองเคยควบคุมงานบริหารจัดการ ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีพนักงาน 1500 คนเป็นผู้ปฏิบัติงาน การสื่อสารในการอบรมพนักงานให้เข้าใจตรงกันได้ก็ต้องอาศัยหลักการด้านการศึกษาแผนงานพอสมควร เพราะระดับ Supervisor ส่วนใหญ่แล้วมักติดคำว่า EGO อยู่ หรือเรียกว่า เจดี มันใหญ่ไป วิธีที่จะแก้ได้ก็คือ คุณต้อง ขุดเจดีนั่นซะ ด้วยเทคนิคที่เหนือชั้น จนหมอบราบคาบ ก็จะส่งผลให้การทำงานนั้นเป็นไปตามแผนอย่าง ดีทีเดียว เห้อ..เรื่องเดียวกันหรือเปล่าเนี่ยะ

  2. ผมไม่เคยผังงาน(flow chart or system arcithech)ที่ถูกหลักก่ะเค้าซักที
    เคยเขียนให้ตัวพอให้ตัวเองอ่านออกมองเห็นภาพ และอธิบายคนอื่นได้
    จริงๆๆก็อยากให้มันเป็นตามรูปแแบบที่เค้ามีเหมือนกันน่ะ(แต่ไม่รู้หลักอ่ะครับ)
    ผนวกด้วยความขี้เกียจ(แอบคิดว่าที่เราเขียนเองมันก็ดีแล้วนี่ เหอๆๆ)
    ผมว่าแผนภูมิรูปภาพแบบนี้่มีประโยชน์น่ะครับ อย่างน้อยมันสามารถสื่อสารได้มากกว่าตัวหนังสือ
    สร้างความเค้าใจในวงกว้างมากกว่า

  3. ชัดเจนครับ ปกติถึงผมไม่ได้ทำงานระดับองค์กร แต่ก็มักใช้วิธีการทำงานโดยการจำลองขั้นตอนลำดับชั้นในแบบ flow chart บ่อย ๆ ข้อดีที่เห้นได้ชัดคือ ลดความสับสนในขั้นตอนปฏิบัติได้จริง เพราะก่อนเราออกแบบ flow chart ก็ได้วิเคราะห์แผนการไว้ชั้นหนึ่งแล้ว จึงจัดเรียงเป็น flow chart ออกมา เพื่อให้ดูสวยงาม

  4. ตอนเด็กๆเคยไปสอบวัดระดับความรู้คอมพิวเตอร์ของ CU สอบสองครั้งยังไงก็ไม่ผ่านหัวข้อ flow chart

    จำจนตายเลย 🙁

  5. อือม ๆ น่าจะใช่เน้อะ การเขียนผังงานน่าจะมีอยู่ใน System Analyst and Design จริง ๆ ด้วยแฮะคุณ panu

    คุณ BigNose ขอ bye งั้นผมก็บ๊ายบายด้วยคน 😛

    คุณสิทธิศักดิ์ใช้อะไรขุดเจดีครับเนี่ย มือเปล่า หรือใช้อำนาจสั่งการ หรือใช้อำนาจรัฐอ่ะครับ มันขุดยากอ่ะ ทำยากด้วยเน้อะ

    เขียนให้มันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมคางหมู, สี่เหลี่ยมด้านขนาน, วงกลม แล้วก็โยงเส้นให้มันถูกต้องก็น่าจะพอสื่อสารได้แล้วล่ะคุณ memtest

    เห็นด้วยกับคุณโยคีเรื่องการร่างผังงานก่อนแล้วค่อยจัดให้สวยงามทีหลัง เพราะผมเองก็มักจะร่างมันบน white board แล้วก็เรียกให้เลขาฯมาลอกไปทำเป็นภาพสวย ๆ ใน Visio อีกทีเหมือนกัน ทุ่นแรงดี ใช้คนอื่น

    ตอนเด็กนี่ประถมหรือมัธยมอ่ะ rhino เพราะตอนนั้นพวกเรายังเด็ก ยังวุฒิภาวะไม่ถึง ก็ไม่น่าจะทำได้จริง ๆ นั่นแหล่ะ แต่ถ้าเป็นตอนนี้ก็น่าจะทำได้แล้วเน้อะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *