วิธีการพูดคุยกับดอกเตอร์ซึ่งจบมาทางคอมพิวเตอร์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมถูกเจ้านายเก่าเรียกเข้าไปพบครับ ผมเองก็ไม่ได้เจอเจ้านายเก่านานแล้ว เลยว่าจะไปดูซะหน่อยว่ายังอยู่ดีมีสุขอยู่หรือเปล่า?

เจ้านายเก่าผมจบดอกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์มาจากสหรัฐอเมริกาครับ เป็นบุคคลที่น่าสนใจเรียนรู้มากเลยทีเดียว!!

ประเด็นที่ทำให้เจ้านายเก่าต้องเรียกผมไปพบก็คือ … เขาอยากจะได้ผู้ร่วมงานของผมไปทำงานให้!!!

โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนงกทรัพยากรบุคคลมาก ๆ เลยล่ะ ผู้ร่วมงานของผมแต่ล่ะคนล้วนผ่านการเลือกสรรจากผมมาทั้งนั้น อีกทั้งผมต้องออกแรงถ่ายทอดความรู้ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติให้ตั้งหลาย ๆ อย่าง อยู่ดี ๆ จะมาขอไปทำงานให้โดยไม่ได้อะไรตอบแทนคงไม่ได้กระมัง อิ อิ 😛

เมื่อผมถูกเรียกตัวและแจ้งให้ทราบถึงหัวข้อในการเรียกตัว ผมก็จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในการพูดคุย เนื่องจากอีกฝ่ายไม่ธรรมดา เพราะเป็นถึงดอกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์ การจะปฏิเสธอะไรหรือจะเรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จะต้องวางแผนให้ดี เพราะถ้าเพลี้ยงพล้ำแล้ว นอกจากจะปฏิเสธไม่ได้แล้ว อาจจะถึงขั้นไม่สามารถเรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ ได้เลย!!!

ลักษณะพิเศษของดอกเตอร์ก็คือ เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางวิชาการ ดอกเตอร์นอกจากจะมีภูมิปัญญาเฉพาะเรื่องมากกว่าเราแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังมีสิ่งพิเศษเพิ่มเติมมาก็คือ “พลังแห่งความเชื่อ” และ “กลไกพิสูจน์ความเชื่อ”

ดอกเตอร์ถือได้ว่ามี “พลังแห่งความเชื่อ” ที่สูงกว่าคนทั่วไปมาก เมื่อเชื่อแล้วก็จะเชื่อฝังใจไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมี “พลังแห่งความเชื่อ” ที่มากมายขนาดนี้ ก็ด้วยเหตุผลเพราะพวกเขาได้พิสูจน์ความเชื่อนั้น ๆ แล้วด้วย “กลไกพิสูจน์ความเชื่อ” ซึ่งกลไกดังกล่าวอาจจะเกิดจากการสร้างโดยตัวดอกเตอร์เอง หรือรับมาจากดอกเตอร์คนก่อน ๆ!!!

ดังนั้นกุญแจสำคัญในการพูดคุยกับดอกเตอร์ซึ่งจบมาทางคอมพิวเตอร์ก็คือ เราต้องทำให้เขาเชื่อถือเราให้ได้ และวิธีที่จะทำให้เขาเชื่อถือเราก็คือ เราต้องค้นหาให้พบว่า “กลไกพิสูจน์ความเชื่อ” ของเขานั้นคืออะไร?

ซึ่งดอกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์เกือบทุกคนจะใช้ “หลักฐาน” เป็นสิ่งพิสูจน์ความเชื่อ ดังนั้น การกล่าวเลื่อนลอย, ปฏิเสธเลื่อนลอย, การนำเสนอเลื่อนลอย หรืออ้างอิงเลื่อนลอย โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิงใด ๆ จะไม่ได้รับการเชื่อถือจากดอกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์เลย

ยกตัวอย่างเช่นถ้าผมจะบอกกับเจ้านายเก่าว่าผู้ร่วมงานของผมงานเยอะ ผมก็ต้องมี “หลักฐาน” ไปพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนนั่นก็คือ รายงานการทำ Incident รายเดือนของทีมงาน, รายงานการทำ Change Request รายเดือนของทีมงาน, รายงานการทำ Job Assignment รายเดือนของทีมงาน และรายงานการสรุป manday ranking รายเดือนของทีมงาน เป็นต้น

ที่สำคัญดอกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์จะเกลียดมาก หากต้องพูดคุยกับคนที่มั่วหรือคนที่ไม่รู้จริงหรือคนที่ตอบคำถามไม่ได้ แล้วยังตะแบงเถียงข้าง ๆ คู ๆ ไปเรื่อย ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้ดอกเตอร์ฯไม่รีรอเลยที่จะเปิดสงครามน้ำลายด้วยทันที จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะศิโรราบยอมแพ้ไป

หากเรารู้ตัวว่าต้องเข้าสู่สงครามน้ำลายกับดอกเตอร์ฯแล้วล่ะก็ ผมขอแนะนำให้ยอมแพ้ไปเลยตั้งแต่วินาทีแรกของยกแรกครับ เพราะดอกเตอร์ฯจะยุติสงครามน้ำลายทันทีเมื่อรู้ว่าตนเองชนะแล้ว และจะไม่ซ้ำเติมคนแพ้ด้วย!!!

ซึ่งนี่คงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการพูดคุยกับดอกเตอร์ซึ่งจบมาทางคอมพิวเตอร์ครับ อิ อิ 😛

[tags]การจัดการ,การพูดคุย,ดอกเตอร์,คอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “วิธีการพูดคุยกับดอกเตอร์ซึ่งจบมาทางคอมพิวเตอร์

  1. ถ้าเขาต้องการคนจากเรา แล้วเราจะยอมแพ้
    นั่นคือเราก็ส่งๆ คนไปให้เขา หรอครับ?

    สรุปแล้ว เกมนี้จบยังไงครับพี่ไท้ อยากรู้ๆ ^^

  2. แหม บอกให้เตรียมหลักฐานซะดิบดี จบหักมุมแบบนี้เลยนะครับ ฮ่าๆ

    ปล.เอ็นทรี่นี้ไม่ตอบไม่ได้ โดนมาคล้ายๆ กันเปี๊ยบ ^_^

  3. อาจารย์ที่ปรึกษาผมก็เป็น doctor ครับ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากๆ คุยด้วยแล้วบางทีก็เซ็ง

  4. เกมนี้จบที่ผมมีหลักฐานที่แน่นหนา เพื่อชี้แจงให้เห็นว่าผู้ร่วมงานของผมงานเยอะครับ ดังนั้นถ้าอยากให้ทำงานให้ ก็ต้องเสนอผลตอบแทนมา … จึงเป็นเช่นนี้แลครับคุณ AMp

    ถ้าไม่มีหลักฐานแน่นหนาก็ต้องยกธงขาวทันทีครับคุณ rengrit ไม่งั้นศึกจะยืดเยื้อ ออมแรงไว้สู้ในยกหน้าดีกว่า อิ อิ ^-^

    พลิกวิกฤติเป็นโอกาสสิครับคุณ xinexo ดูดความรู้ท่านมาเยอะ ๆ เพราะโดยธรรมชาติแล้วดอกเตอร์จะมีภูมิปัญญาอัดแน่นอยู่เป็นอันมาก ถ้าทำได้ก็อยากจะระบายออกมาเหมือนกัน เหมือนดาวนิวตรอนยังไงอย่างงั้นเลย 😛

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *