คิดว่าเดี๋ยวนี้พวกเราคงสบายขึ้น เนื่องจาก Google, Microsoft, Adobe, Yahoo, Amazon และ eBay ต่างปล่อยบริการ web application ใหม่ ๆ ออกมาเป็นว่าเล่น

นอกจากจะปล่อยของออกมาแล้ว ก็ไม่ลืมที่จะเปิดช่องทางการเชื่อมต่ออย่างเช่น API, RSS, ATOM และ Web Service ให้นักพัฒนา web application ภายนอก สามารถจะเชื่อมต่อเข้าไปใช้บริการต่าง ๆ ได้

จนนำมาซึ่งศัพท์สุดฮิตที่เรียกว่า Mashup

ตอนนี้บริษัทในย่อหน้าแรกกำลังเปลี่ยนแนวทางของตัวเองเล็กน้อย จากเดิมที่ปล่อยของและปล่อยช่องทางการติดต่อออกมาเพื่อใคร ๆ Mashup

ก็เปลี่ยนเป็นออกหน้าบริหารจัดการการ Mashup ให้แทน จนนำมาซึ่งบริการที่เรียกว่า Mashup Editor

เป็นการตอกย้ำถึงแนวความคิดที่ว่า …

คุณเอาบริการต่าง ๆ ของบริษัทเราไป Mashup มันก็ไม่ดีเท่าเรา (บริษัทซึ่งเป็นเจ้าของบริการเหล่านั้น) บริหารจัดการ Mashup ให้คุณ

จริง ๆ ผมก็เห็นว่า Mashup Editor ตรงตามหลักการของ Software as a Service นะ ถึงแม้ว่าบางบริษัทจะทำให้ Mashup Editor เป็น desktop application ก็เถอะ

แต่สิ่งที่ผมไม่ชอบการบริหารจัดการ Mashup โดยบริษัทในย่อหน้าข้างบนเท่าไหร่ ก็ด้วยเหตุผลเพราะ …

ผมอยากติดตั้งกลไกการ Mashup ของผมไว้ที่ server ของผมเองมากกว่า ไม่ใช่วางไว้ที่ server ของผู้ให้บริการการ Mashup เพราะถ้าทำแบบนั้นมันขาดอัตลักษณ์ เนื่องจากกลายเป็นว่าหากใคร ๆ อยากใช้กลไกการ Mashup ของผม พวกเขาก็ต้องไปเข้าใช้ที่ผู้ให้บริการ Mashup แทน แทนที่จะมาเข้าใช้ที่เว็บไซต์ของผม

อีกทั้งผมก็ได้ใช้บริการต่าง ๆ จากบริษัทเหล่านั้นอยู่แล้ว ดังนั้นการวางกลไกการ Mashup ไว้ที่ server ของผม มันก็เลยไม่น่าจะถือว่าเป็นเรื่องเหลือบ่ากว่าแรงอะไร

ยังมีประเด็นอีกอย่างหนึ่งที่จะกล่่าวถึง นั่นก็คือบริษัทเหล่านั้นล้วนสนใจแต่บริการของตนเอง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การให้บริการการ Mashup จึงเน้นเฉพาะบริการของตนเองเป็นหลัก ส่วนบริการอื่น ๆ เป็นรอง

มันจึงเป็นไปได้ยาก หากผมจะใช้บริการ Mashup เฉพาะของเจ้าใดเจ้าหนึ่ง เพื่อเชื่อมกับบริการของเจ้าอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่กลไกการ Mashup ต้องอยู่ที่ server ของผม!!!

ดังนั้นมันจึงเป็นการดีกว่ามั้ย ถ้าจะมี Cross Mashup Framework ซึ่งอาจจะเขียนเป็นภาษา php ขึ้นมา เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับบริการของทุก ๆ บริษัทได้อย่างง่ายดายและสมบูรณ์

โดยอาจจะทำออกมาเป็นไฟล์ประมาณนี้ …

  • adobe.php – เก็บ class ที่เอาไว้ต่อเชื่อมกับบริการของ adobe
  • google.php – (ความหมายเดียวกับอันบน)
  • yahoo.php – (ความหมายเดียวกับอันบน)
  • amazon.php – (ความหมายเดียวกับอันบน)
  • microsoft.php – (ความหมายเดียวกับอันบน)
  • ebay.php – (ความหมายเดียวกับอันบน) และ
  • container.php – เก็บ class หลักเพื่อเชื่อม class ซึ่งบรรจุอยู่ในไฟล์ต่าง ๆ ที่ว่ามา

สรุปแล้วผมไม่คิดว่าการพัฒนา web application จะใช้ GUI สวย ๆ เพียงอย่างเดียวช่วยได้หรอกครับ เพราะถึงสุดท้ายแล้วหากจะทำอะไรที่มันซับซ้อนละเอียด ๆ เราก็ต้องลงมือเขียนเองอยู่ดี

แล้วมันก็จะเป็นการดีมาก ๆ หากต้องลงมือเขียนแล้ว เรามี Cross Mashup Framework ซึ่งแก้ปัญหาทั่ว ๆ ไปของการ Mashup ไว้ทั้งหมดแล้วให้เราใช้อ่ะ … แล้วเราเขียนเพิ่มแค่ตึ๋งเดียวก็พอ

ป.ล. ผมแค่จินตนาการ … แต่ไม่มีปัญญาทำครับ T-T

[tags]cross,mashup,framework,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,web,application[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “จินตนาการถึง Cross Mashup Framework

  1. อ่านแล้วงงๆ นะครับพี่

    มันสวนทางกับแนวคิดการทำ mashup หรือเปล่าครับ?

    คือผมเข้าใจว่าการทำ Mashup คือการทำ Service ใหม่ๆ เพื่อ Data/Information ชุดใหม่ โดยอิงจาก Service/Data ตัวเดิม โดยที่เราไม่ต้องเป็นเจ้าของ Service/Data เอง

    ส่วนตัวผมก็ไม่เคยใช้ Mashup editor ของเจ้าไหน ไม่ว่าจะเป็น Yahoo pipe, Microsoft Popfly
    ขอแค่ทราบสเปคของ API ว่าถ้าอยากทำอะไร ต้องส่งข้อมูลอะไรให้ ที่เหลือทำมือหมด และผลลัพธ์ของการทำ Mashup ก็อยู่ในเว็บใหม่ที่ผมตั้งขึ้นมาแทน

    ผมมองที่ผลลัพธ์มากกว่า เค้าอุตสาห์จะช่วยลดภาระให้แล้ว เมื่อเสนอมา ก็สนองให้หน่อย

  2. ความเข้าใจของคุณ Audy ถูกต้องแล้วครับ เพียงแต่สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ ปรกติเราทำ Service ใหม่ ๆ ที่ว่าขึ้นมาแล้ววางไว้ที่ server ของเราใช่มั้ยครับ

    .. แต่นี่ .. กลายเป็นว่าต่อไป ถึงแม้เราจะทำ Service ใหม่ ๆ ขึ้นมา เราก็ต้องเอาไปวางไว้ที่ server ของผู้ให้บริการ Mashup อยู่ดีครับ เพราะการ Mashup ของเราทำโดย Mashup Editor เหล่านั้น ดังนั้นกลไก Mashup มันก็เลยต้องยึดโยงอยู่กับ Mashup Engine ของเจ้าของ Mashup Editor นั่นเอง

    ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คงเหมือนกับการเขียน macro บน Microsoft Access น่ะครับ จะเห็นว่าพอเราเขียนเสร็จแล้ว หากเราอยากจะสั่งให้ macro ดังกล่าวทำงาน เราก็ต้องสั่งให้มันทำผ่าน Microsoft Access อยู่ดี แสดงว่า macro ดังกล่าวยึดโยงอยู่กับ Microsoft Access นั่นเอง

  3. อืมพอเข้าใจความคิด Peetai ละครับซึ่ง Cross Mashup Framework ผมว่ามันมีลักษณะเหมือน API ยังไงยังงั้นเลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *