มันเหมือนกับเอาเรื่องสองเรื่องมาผูกกันเลยครับ ระหว่าง Work@Home กับโครงการ SETI

สำหรับ Work@Home คือการทำงานจากที่บ้านแบบหนึ่ง เป็นงานที่ได้รับการสรรเสริญจากทั่วพื้นพิภพ ว่าดีเลิศประเสริฐศรีจนไม่มีใครอยากจะทำ!!!

ส่วนโครงการ SETI นั้นคือโครงการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเนื่องจากวิธีการค้นหานั้นต้องใช้การรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ต่าง ๆ ทีนี้เขาก็วิเคราะห์ข้อมูลไม่ไหว ก็เลยอยากจะขอให้อาสาสมัครช่วยเขาประมวลผลสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าให้หน่อย โดยวิธีการก็ง่ายมากนั่นก็คือ ให้อาสาสมัครไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาไว้ที่เครื่อง ติดตั้งโปรแกรม ต่ออินเตอร์เน็ต แล้วโปรแกรมก็จะยืมเวลา CPU ของเครื่องมาใช้ประมวลผลเอง

โม้มาได้สามย่อหน้าก็เพื่อจะบอกว่า Evolution@Home ก็ถือว่าเป็นโครงการขอยืม CPU คล้าย ๆ กับ SETI เช่นกัน เพียงแต่คราวนี้เป็นการขอหยิบยืม CPU เพื่อใช้ประมวลผลในเรื่องวิวัฒนาการทางชีววิทยาแทน!!!

สังเกตุกันมั้ยว่าเมืองไทยเราไม่ยักมีโครงการหยิบยืม CPU จากอาสาสมัครคนล่ะเล็กล่ะน้อย เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่สลับซับซ้อน!!!

เราก็เลยเสีย CPU กับ Bandwidth ไปกับการโหลดบิตกัน เฮ้อ น่าเสียดาย!!!

ป.ล. ผมไม่เคยโหลดบิตเลยครับ … เพราะ … ผมโหลดไม่เป็น แหะ ๆ ๆ 😛

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,evolution,home[/tags]

Related Posts

11 thoughts on “Evolution@Home

  1. เพราะว่า…ไม่มีอะไรจะให้คอมคิดมั้งครับ

    ที่ผมสนับสนุนคือ Einstein at Home ของ LIGO อ่ะครับ หา gravitational wave กับ LHC@Home หา Higgs (ยังไม่ run แต่ MonaLisa Grid เค้าน่าสนใจมาก(คนทำ office อยู่ชั้นล่างไปชั้นนึง))

  2. ผมนอกจากจะเสีย cpu ไปกับการ load bit แล้วยังเสียไปกับการเปิดบอทอีกต่างหากครับ (เกรียนสุดๆ)

  3. คุณ scalopus ไม่ให้ url ไว้เหรอครับ ว่าโครงการดังกล่าว url อะไร?

    โห คุณ Audy ถึงขนาดมีฟาร์มเล็ก ๆ เป็นของตัวเองเลยเหรอครับ ขนาดผมจะเช่า dedicated server ผมยังคิดแล้วคิดอีกเลย กลัวเจ๊งไม่คุ้มทุน

    ของคุณ sugree นี่ไม่ต้องทำแบบ Evaluation@HOME เลยครับ เพราะมี ThaiGrid อยู่ในความดูแล อันนั้นเจ๋งกว่าเยอะเลยครับ พลังการประมวลผลซู้ดยอดดด

    อ๋า ตอนแรกผมนึกว่ามีไม่กี่โครงการซะอีกครับคุณ Tee อือม แต่ส่วนใหญ่ที่คุณ Tee แนะนำมา มันจะเป็นการประมวลผลสำหรับงานฟิสิกส์อ่ะเน้อะ แสดงว่างานทางฟิสิกส์เป็นงานที่ต้องการการประมวลผลระดับใหญ่จริง ๆ

    555 คุณ xinexo เปิดบอทด้วยเหรอ แบบนี้ก็เก็บ level ได้เร็วกว่าคนเล่นปรกติอ่ะดิ อิ อิ

  4. อ่าน comment แต่หละท่าน
    งั้นผมมี dedicated hosting ส่วนตัว
    จะเรียกไรหละคับ

    ps. วันนึงๆมีคนเข้า peetai หลายพันไหมคับ

  5. Penguin Villa – เดี๋ยวนี้มันมีบริการถอดรหัสแบบไม่ต้อง bruteforce แล้วนะ บริการผ่านเว็บเลย แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าอยู่ที่ไหน -*- ว่างๆ ลองหาดูครับ

  6. พวก web md5decrypter ใช่มั๊ย พวกนี้มันมีฐานข้อมูลคำอยู่แล้วนะ
    อย่างเช่น hello md5 เป็นอะไรมันก็รันเทียบได้เลย ถ้าเข้าใจมั๊ยผิด
    แบบนี้ถอดตามคำที่มีในดิกชันนารีมากกว่า ถ้า bruteforce มันจะลองไปเรื่อยๆ

    เรื่องนี้จะว่าไปคล้ายๆ การทำคลัสเตอร์ แต่อย่างว่าเน็ตประเทศไทย ต่อใ้ห้ core 2
    แต่พาหนะห่วย มันก็.. 😛

  7. เพิ่งตามกลับมาอ่านอีกครั้งครับ ไม่รู้ว่าจะยังได้ใช้อยู่มั๊ย
    BOINC เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากความสำเร็จของ SETI@Home ครับ
    โครงการทั้งสองพัฒนาโดย Berkeley ซึ่งเขาเห็นว่า SETI@Home ประสบความสำเร็จ เขาก็เลยพัฒนาออกมาเป็นลักษณะ Framework ให้นักวิจัยสามารถเอา Framework นี้ไปพัฒนาได้ง่ายขึ้น ซึ่งตัวระบบก็จะมีพวกการจัดการเก็บสถิติและประสานงานต่างๆให้

    ตามไปดูได้ที่
    http://boinc.berkeley.edu/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *