การแสดงตนด้วยอวัยวะทางชีวภาพ

ผมชอบรูปด้านล่างที่แปะเอาไว้นี้จังเลยครับ มันอธิบายอะไรได้ชัดเจนดี สำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องการแสดงตนด้วยอวัยวะทางชีวภาพ จากภาพจะเห็นว่ามนุษย์เราสามารถแสดงตนหรือสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยหลากหลายวิธีมาก ๆ ซึ่งก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการจะทำให้คอมพิวเตอร์ตรวจรู้การแสดงตนเหล่านี้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้แขนงวิชา Pattern Recognition เข้ามาช่วย

แต่บังเอิญว่าแขนงวิชา Pattern Recognition นั้น อธิบายทางทฤษฎีน่ะมันไม่ยากเท่าไหร่ แต่พอลงมือปฏิบัติแล้วมันยากมาก ๆ เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องหาโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม ร่วมกับอัลกอริธึมทางคอมพิวเตอร์ที่สมเหตุสมผล เพื่อให้ระบบสามารถรู้จำสำหรับเปรียบเทียบรูปแบบการแสดงตนได้อย่างใกล้เคียงที่สุด

ถ้าใครเคยได้ดูฉากหนึ่งในหนังเรื่อง Resident Evil ภาค 3 คงยังจำกันได้ เพราะมีอยู่ฉากหนึ่งที่ศูนย์บัญชาการใต้ดินซึ่งอยู่กลางทะเลทราย สามารถตรวจพบตัวเอกที่ชื่อ “อริซ” ได้ โดยอาศัยดาวเทียมเป็นตัวจับภาพ แล้วให้ระบบเปรียบเทียบใบหน้าว่าตรงกับ “อริซ” หรือไม่? ซึ่งระบบก็ทำได้เพียงให้ค่าความน่าจะเป็นที่ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น … ที่เหลือมนุษย์ต้องตัดสินใจเองว่าใช่หรือเปล่า!!!

ดังนั้น ในเมื่อหาโมเดลฯก็ยาก, หาอัลกอริธึมก็ยาก แถมยังต้องสร้างระบบการตัดสินใจตามตรรกะเชิงอารมณ์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าผลลัพท์นั้น “สงสัยจะใช่” หรือ “สงสัยจะไม่ใช่” มันก็เลยกลายเป็นเรื่องยากทบทวีคูณเข้าไปใหญ่

แต่บังเอิญว่าหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คือการทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะมีกลุ่มคนคิดกันขึ้นมาว่า น่าจะเป็นการดีถ้าเราจะเอาของยาก ๆ พวกนี้มาทำเป็น API ซะจะดีกว่า ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นก็คือ BioAPI Consortium

BioAPI Consortium คือกลุ่มคนที่ร่วมกันพัฒนาชุดคำสั่งมาตรฐาน ที่จะใช้ครอบโมเดลฯ, อัลกอริธึมฯ และ ระบบการตัดสินใจฯ สำหรับการทำ Pattern Recognition เพื่อการแสดงตนด้วยอวัยวะทางชีวภาพในรูปแบบต่าง ๆ ในภาพข้างตน

ดังนั้นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการจะให้ซอฟต์แวร์ของตน มีกลไกการแสดงตนด้วยอวัยวะทางชีวภาพ จึงไม่จำเป็นต้องพัฒนาในส่วนของ Pattern Recognition เองอีกต่อไป หากแต่ใช้ BioAPI เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการบริหารจัดการแทน

ปัจจุบันมีเพียง BioAPI รุ่น 1.1 ที่แจกฟรีครับ ถ้าอยากจะได้รุ่น 2.0 ต้องเสียตังค์ ซึ่งผมก็งง ๆ เหมือนกันว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้หนอ???

ป.ล. เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็เหมือนกันหมดเลยเน้อะ ตอนแรกก็ทำเป็น Platform API ขึ้นมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เขียนด้วยภาษา C แต่ถึงแม้จะทำเป็น Platform API แล้วก็ตาม ยังไง ๆ ภาษา C ก็ยังถือว่าเป็นยาขมสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ฝีมือระดับกลางอยู่ดี จึงต้องมีคนนำเอา Platform API พวกนี้มาเขียนต่อยอด ประกอบกันขึ้นมาเป็น Application Framework อีกทอดหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นก็จะไม่มีใครใช้ Platform API เหล่านั้น ทุกคนต่างหันไปใช้ Application Framework แทนด้วยเหตุผลว่า … ก็มันง่ายนี่หว่า … ไงล่ะ!!!

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,Platform API, Application Framework, BioAPI, Pattern Recognition, อวัยวะชีวภาพ[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “การแสดงตนด้วยอวัยวะทางชีวภาพ

  1. ใช่ครับ…สมัยนี้ใครๆก็ชอบของฟรีที่ได้มาง่ายๆเร็วๆกันทั้งนั้น ความอดทนในการรอคอยของมนุษย์คงจะลดลงเรื่อยๆ…

  2. คนเมืองมักไม่อดทนครับคุณ manoogalum แต่คนนอกเมืองอดทนมากกกกกกกกกก

  3. ขอโทษนะครับ โมเดลทางคณิตศาสตร์ กะอัลกอริทึมน่าจะนับเป็นทฤษฎีนะ ส่วนการปฏิบัติน่าจะหมายถึงการเขียนซอฟแวร์ออกมานะ ในความคิดผมนะ โดยส่วนตัวสนใจโมเดล กับ อัลกอริทึมมากกว่าแฮะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *