ช้างตัวใหญ่กับหนูตัวเล็ก

เดี๋ยวนี้ Broadband Internet เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ … มัน … เป็นเรื่องที่น่ายินดีจริง ๆ เพราะนั่นก็หมายความว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถที่จะเสพข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น และด้วยเหตุผลนี้กระมังที่คนส่วนใหญ่จึงฉวยโอกาสนี้ โอกาสที่ Broadband กำลังเติบโต นำเสนอรูปแบบการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตใหม่ ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่ง video podcasting หรือเกมออนไลน์

แต่ผมกลับคิดอีกอย่างนึง อาจจะสวนทางกันนิดหน่อย ผมคิดว่าในเมื่อตอนนี้ใคร ๆ ก็สามารถดู video podcasting หรือเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้แล้ว นั่นย่อมแสดงว่าเราก็สามารถที่จะคิดย้อนกลับมาได้ว่า มีบริการอะไรบ้างทางอินเตอร์เน็ต ที่สมัยก่อนเราทำไม่ได้เพราะติดปัญหาเรื่องความเร็ว แล้วก็เพราะติดปัญหาเรื่องความเร็ว ทำให้บริการหรือแนวความคิดดี ๆ เหล่านั้นตกหล่นหายไป จนไม่มีใครไปคิดถึงมันอีก

ตอนนี้อินเตอร์เน็ตเร็วขึ้นแล้ว เราน่าจะกลับไปคิดถึงมันอีกครั้งนึง!!!

ผมกำลังคิดถึงการรับส่ง plain text file ในรูปแบบ VRML ระหว่าง client และ server

VRML ภาษาซึ่งให้รายละเอียดในการพลิ้วไหวของการแสดงผลกราฟิก 3 มิติ, ให้รายละเอียดในแบบของ plain text เหมือนกับที่ XML เป็น และเป็นภาษาที่เปลืองช่องสัญญาณสิ้นดี เพราะไม่ได้มีการบีบอัดเลย (ถ้าเราไม่ได้สั่งให้บีบอัดมัน)

ของเก่า ๆ บางทีก็ควรถูกระลึกถึงบ้าง 😛

เส้นทางที่ช้างหนึ่งเชือกถากถางเอาไว้ เพื่อให้ตนเองสามารถเดินผ่านไปได้นั้น จะเป็นอานิสงค์ที่ทำให้หนูตัวเล็ก ๆ อีกหลายร้อยตัวสามารถเดินผ่านได้เช่นกันครับ

[tags]ช้าง,หนู,ตัวใหญ่,ตัวเล็ก,broadband, internet, video, podcasting[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “ช้างตัวใหญ่กับหนูตัวเล็ก

  1. พี่ไท้ ครับ ไม่ทราบว่า พอจะให้คำชี้แนะเรื่อง โปรแกรม
    แนวๆ OCR (Optical Character Recognition) ได้มั้ยครับ ?
    ผมรู้สึกว่า จะหา คำปรึกษาเรื่องนี้ยากมากๆ เลยคับทั้งไทยและเทศ

    (ปล. ผมไม่เก่งเท่าไหร่ แล้วก็พอจะ งูๆ ปลาๆ ภาษา perl ได้อย่างเดียว คับ)

  2. เห็นด้วยกับความคิดแบบนี้ครับ หลายๆ อย่างที่ควรระลึกถึงแล้วลองเอากลับมาทำอีกครั้ง

  3. ไม่ได้มีแล้วหรอครับ คุ้น ๆ เห็นพวกคนเคมีชีวะเค้าเอามาดูโมเลกุลกัน แต่ผมก็ยังไม่ชอบ interface สามมิติอยู่ดีอ่ะครับ ผมว่าใช้แล้วงงกว่าเดิม ตอนเด็ก ๆ เคยคิดไว้ว่าจะทำเป็นห้างสามมิติ ให้คนเดินเล่นซื้อของช้อปปิ้งได้

    สำหรับพวก OCR ผมก็ไม่ใช่คนทำทางนั้นแต่ถ้าให้เดาว่าทำยังไง ผมbasic basic คือเดาว่าแสกนมาทีละกลุ่มก้อนที่สีเดียวกัน(หรือสีต่างจากสีรอบข้างมาก) แล้วใช้เทียบกับของใน Database โดยแทนเป็น coefficient ของ series อะไรซักอย่าง แล้วอาจจะใช้เทคนิคทางสถิติแบบ neural net หรือพวก decision tree ทั้งหลาย ช่วยอีกทีอ่ะครับ

  4. ถ้า 3 มิติ พลิ้วไหวได้จริง จินตนาการต่างๆ ที่เคยดูในหนัง ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ต่างๆ การล้วง การสืบค้นคืนข้อมูล เราคงจะได้สัมผัสเร็ว ๆนี้ กระมัง และคงเป็นแบบฉบับ 3D แต่นึกถึง พ่อ แม่ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่บ้านนอกผมจัง จะได้สัมผัสมันหรือเปล่าน่า!!

  5. เอ้อ ถ้าหมายถึงในระดับทฤษฎี, สมการ และการลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับ OCR แล้วล่ะก็ ผมไม่รู้เลยอ่ะครับ ไม่ได้เอกมาทางนี้ T-T

  6. แล้วไอหนูบางตัวที่มันอุตส่าลงทุนสู้ถากถางเส้นทางเอง
    มันจะตายเอาครับ เพราะขณะนี้มีช้างเดินทำทางให้แล้วเรียบร้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *