มาตรฐานทางคอมพิวเตอร์

มีหลายครั้งนะที่ผมสังเกตเห็นว่า มาตรฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ฝรั่งคิดแล้วประกาศให้คนทั้งโลกใช้กันนั้น มันไม่ได้คิดยากอะไรเลย แค่ต้องอาศัยความละเอียดหยุมหยิมมากซักหน่อย ในการรวบรวมความคิดแล้วประกาศออกมาเท่านั้นเอง

เคยได้ยิน, ได้อ่าน หรือได้ฟังมาจากไหนไม่รู้ เขาบอกว่าที่ยุโรปนั้นจะจัดหาจัดจ้างนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรเก่ง ๆ มานั่งเป็นคณะทำงาน เพื่อมีหน้าที่ร่างมาตรฐานใหม่ ๆ กันเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย ทำกันเป็นอาชีพเลยว่าอย่างนั้น วัน ๆ ไม่ต้องทำอะไร คิดแต่ว่าในโลกคอมพิวเตอร์นั้น มันควรจะมีการกำหนดอะไรให้มันกลาง ๆ เป็นมาตรฐาน แล้วชาวบ้านสามารถเข้ามาร่วมใช้กันอย่างไม่เคอะเขินบ้าง จากนั้นก็ลงมือช่วยกันร่างออกมาเป็นมาตรฐานให้ใช้กัน

จะเห็นว่าโดยพฤติกรรมของทางยุโรปนั้น กระบวนการในการร่างมาตรฐานทางคอมพิวเตอร์ออกมา มันเหมือนกับการร่างกฎหมายเลยเน้อะ งั้นแบบนี้ ก็น่าจะนิยามได้ว่าคณะทำงานเหล่านั้นเป็น “สภาคอมพิวเตอร์” ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในทางคอมพิวเตอร์ ที่จะคอยออกเสียงยินยอมหรือคัดค้านต่อมาตรฐานนั้น ๆ โดยมี “สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคอมพิวเตอร์” เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เลขานุการ มีหน้าที่ควบคุมให้ process ในการรับร่างมาตรฐานเข้าสภา, ส่งร่างมาตรฐานเข้าสภา, จัดวาระในการอภิปรายมาตรฐาน, สรุปมติการอนุมัติมาตรฐาน และประกาศใช้มาตรฐาน ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์

อ่านแล้วดูดีเน้อะ!!!

ส่วนของทางอเมริกานี่อีกแบบนึงนะ ฟากนั้นใครดีใครได้ ใครใหญกำหนดก่อน ส่วนใครที่กำหนดก่อนแต่ยังไม่ใหญ่จริง ก็เตรียมโดนรื้อทีหลัง อะไรประมาณนั้น

ผมมองว่า “สภาคอมพิวเตอร์” และ “สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคอมพิวเตอร์” อ่ะนะ ไม่ต้องรอภาครัฐหรอก ภาคเอกชนก็ทำเองได้ หรือแม้แต่บุคคลธรรมดาก็ทำได้ ขืนรอภาครัฐคงลำบาก เพราะตอนนี้ภาครัฐกำลังสนใจแต่อุตสาหกรรมการเงิน และอุตสาหกรรมหนัก เขาคงไม่มาสนใจอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เท่าไหร่หรอก

ไม่แน่นะว่าต่อไป “สภาคอมพิวเตอร์” อาจกลายร่างเป็น “ผู้คุ้มกฎทั้ง 5” แห่ง World Goverment เหมือนในการ์ตูน One Piece ก็ได้ ใครจะรู้ 😛

[tags]คอมพิวเตอร์, มาตรฐาน, สภาคอมพิวเตอร์, กฤษฎีกาคอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *