โลกเราเดี๋ยวนี้อะไร ๆ มันก็รวดเร็วไปหมดครับ ดังนั้นการจะทำความรู้จักกับใครซักคนนึง อยากจะรู้ว่าเขาเป็นคนยังไง มีความรู้ความสามารถแค่ไหน เราก็จำเป็นต้องรีบ ๆ รู้ ซึ่งวิธีที่จะรู้ได้อย่างรวดเร็วก็คือการให้เขาแสดงวุฒิการศึกษา หรือไม่ก็ให้แสดงใบรับรองการผ่านงาน

แต่ในสมัยก่อนโบร่ำโบราณ มันมีวุฒิการศึกษาหรือใบผ่านงานกันซะที่ไหนล่ะพี่น้องครับ อือม แล้วเขาใช้วิธีไหนล่ะในการอ่านคน … เขาก็ใช้สิ่งที่เรียกว่า “โหงวเฮ้ง” หรือ “นรลักษณ์ศาสตร์” ในการอ่านคน ๆ นั้นยังไงครับ

ศาสตร์ทางด้าน “โหงวเฮ้ง” นั้นเป็นศาสตร์ที่ลึกลับ เป็นศาสตร์ในทางโหราศาสตร์แขนงหนึ่ง มันกระจุกตัวและถูกถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่นหลาย ๆ พันปีล่วงมาแล้ว!!

สมัยก่อนการจะรับคนเข้ามาเป็นฝ่ายบุ๋นหรือฝ่ายบู๊นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู “โหงวเฮ้ง” หรือลักษณะทั้ง 5 ของคน ๆ นั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่บริเวณใบหน้าอันได้แก่ ตา, คิ้ว, หู, จมูก และปาก

คนที่มี “โหงวเฮ้ง” ดีจึงไม่จำเป็นที่จะต้องหน้าตาดี, หล่อ หรือสวย แต่ขอให้มีองค์ประกอบทั้ง 5 ของใบหน้าที่คล้องจองเหมาะสม ก็ถือว่าถูกต้องกระบวนความแล้ว

ทีนี้ยุคสมัยนี้มันเป็นยุคแห่งอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อะไร ๆ ที่เคยถูกผูกขาดด้วยช่างฝีมือ หรือผู้เชี่ยวชาญก็มักจะถูกทำให้กลายเป็นเครื่องกล, เครื่องไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ รวมถึงซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทั้งนั้น ผมก็เลยคิดว่าไม่ควรจะมีแต่ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่ดู “โหงวเฮ้ง” ได้ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เองก็น่าจะดู “โหงวเฮ้ง” ได้เหมือนกัน

แขนงวิชา Pattern Recognition น่าจะช่วยให้คำตอบกับเรื่องนี้ได้ เพราะเป็นแขนงวิชาที่เน้นในการเปรียบเทียบรูปลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเราน่าจะประยุกต์ใช้เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของ ตา, คิ้ว, หู, จมูก และปาก เข้ากับฐานข้อมูลคำทำนายต่าง ๆ ได้

ตอนนี้เริ่มจะจับประเด็นได้แล้วว่า ศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ศาสตร์อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันคงไม่แปลกนะถ้าโปรแกรมเมอร์กับคนทำนาย “โหงวเฮ้ง” จะมาทำงานร่วมกันน่ะ?

[tags]โหงวเฮ้ง, นรลักษณ์ศาสตร์, pattern recognition, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “โหงวเฮ้ง recognition

  1. ต่อจากเรื่องที่แล้วเลยคับพี่ ยังงี้คอมก็วัดความสวยได้สิ

    นึกว่าจะทำไม่ได้

  2. ผมว่า formulate มันเป็น mathematically well-defined question ได้อ่ะครับ

    นั่นคือ สมมติว่าเราเก็บหน้าคนเป็นแบบคล้าย ๆ เก็บ coefficient ซัก 500 เทอมแรก ของ orthogonal polynomial series แล้ว เก็บไว้ว่า คนนั้นเคยเป็นนายกหรือเปล่า คำถามโหงวเฮ้งก็อาจจะเป็น given หน้าที่มี feature แบบนี้(coefficient 200 ตัวแรกบวกกันได้ 0 อะไรแบบนี้) มีกี่คนจากกี่คนที่ได้เคยเป็นนายก

  3. อา.. เพิ่งสอบไป.. เป็น Selective Perception Heuristics อย่างหนึ่ง (หนึ่ง ใน หก ของ Heuristics) ซึ่งก็คือ shortcuts ในการที่จะตัดสินใจ ว่าคนๆ นี้เป็นอย่างไร.. ฯลฯ

  4. เรื่องที่แล้ววัดความสวย แต่เรื่องนี้วัดโหงวเฮ้งครับคุณ next 😉

    ยังไม่เคยเล่นเลยครับพี่ป๊อก ไม่เคยรู้เลยว่าฝรั่งก็มีการทำ facial recognition ด้วย

    ที่ผมคิดไว้นี่ไม่ใช่แค่เก็บใบหน้าอ่ะครับคุณ Tee แต่เก็บทุกองค์ประกอบของ “ตา”, “หู”, “จมูก”, “คิ้ว” และ “ปาก” เอาไว้ แล้วเอามาเทียบที่ล่ะส่วนเลย รับรองว่าคำนวณกระจุยแน่ ๆ เพราะสัมประสิทธิ์อย่างเยอะ ฮา

    วิชาไรอ่ะพี่มุก แปลไทยหน่อยดิ T-T ผมอ่อนภาษาอังกฤษอ่ะ

  5. ดูซิ แม้แต่งานหมอดู คอมพ์ยังจะไปแย่ง
    ปล.พูดแล้วคิดถึงฮวงจุ๊ย ไหนๆก็ๆหนน่าจะมี software ตรวจฮวงจุ๊ยโดย import ภาพ 3D ในโปรแกรมออกแบบ แล้วคำนวนการจัดวางและแสง สภาวะโดยรอบ เริ่มเยอะแหะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *