Career Path ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เมื่อหลายปีก่อน ๆ โน้นอ่ะครับ ผมเคยทำงานอยู่บริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง จริง ๆ แล้วเวลาผมเลือกที่ทำงาน ผมก็จะเลือกทำงานกับบริษัทมหาชนทุกครั้งไปครับ ด้วยเหตุเพราะมันดูมั่นคงดี (รึเปล่าหว่า?), เงินดี (จริงดิ?) และดูท่าจะก้าวหน้าได้ดีทีเดียว (จะเหลือเหรอ?)

ปรกติแล้วตำแหน่งหน้าที่การงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ มันก็เป็นอะไรที่พื้นฐานมาก ๆ เลยครับ อย่างที่พวกเรารู้ ๆ กันอยู่ แต่บริษัทมหาชนดังกล่าว ได้นำเสนอสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนครับ นั่นก็คือการทำ Career Path ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และนำเสนอให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริษัทได้รับทราบทั่วกัน

Career Path ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ข้างบนคือตาราง Career Path ที่หน่วยงานคอมพิวเตอร์ในบริษัทมหาชนดังกล่าวกำหนดขึ้นครับ ผมชอบมากเลยทีเดียว

จากตารางจะเห็นว่ามีการแบ่งออกเป็น 5 แถว แต่ล่ะแถวก็มี 5 ขั้น โดยเป็นตำแหน่งงานระดับเทคนิค 3 แถว, ตำแหน่งงานระดับวิเคราะห์ระบบ 1 แถว และตำแหน่งงานระดับจัดการ 1 แถว

ดูเหมือนบริษัทจะให้ความสำคัญกับบุคลากรดีในระดับหนึ่ง เพราะไม่ใช่สักแต่ว่าให้งานทำเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการชี้แจงถึงอดีต, ปัจจุบัน และอนาคต ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์อีกด้วย

ตอนที่ผมเข้าไปทำงานที่นั่น ผมยังเด็กมาก เด็ก…เด้ก…เด็ก ผมไม่รู้หรอกว่าอะไรเหรอ Career Path ตอนนั้นสนใจแต่ว่าเรียนจบ มีงานทำ ก็โอเคแล้ว ไม่ได้คิดทะเยอทะยานอะไร

และแล้วเมื่อถึงเวลาที่ผมจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ผมก็ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปพูดคุย พร้อมทั้งนำตาราง Career Path มาให้ดู แล้วถามว่าสนใจจะเลื่อนขึ้นไปในทิศทางใด ผมจึงเลือกตามตารางข้างล่างนี้

Career Path ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ผู้บังคับบัญชาแจ้งกับผมว่า เขาจะเลื่อนตำแหน่งให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยพิจารณาจากทักษะของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แยกเป็นราย ๆ คนไป แล้วก็ชี้ให้เห็นว่า เส้นทางที่ผมควรได้เลื่อนขึ้นไป ควรเป็นตามตารางข้างล่างนี้

Career Path ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ตอนนั้นคิดแต่ว่า อะไรฟระ? ไหนบอกว่าจะให้เราเลือกเองไง แล้วทำไมถึงมากำหนดอะไรให้อย่างนี้ 🙂 แต่ยังไงเขาก็เป็นผู้บังคับบัญชา ผมก็เลยไม่ได้โต้เถียงอะไร ไม่ได้คิดอะไรเลยตอนนั้น เด็ก…เด้ก…เด็ก จริง ๆ

มาภายหลังอีกหลาย ๆ ปีจึงได้เข้าใจแนวคิดที่อดีตผู้บังคับบัญชาเลือกไว้ให้ครับ ว่าการอวยยศเลื่อนตำแหน่งให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น ควรทำอย่างเหมาะสม ตามลักษณะที่คน ๆ นั้นเป็น

แต่จริง ๆ แล้วผมเองก็อยากลองเป็น Software Engineer กับเค้าดูซักครั้งเหมือนกันนะครับ 😛 มันคงน่าสนุกดีทีเดียวแหล่ะ คิดว่า!!!

[tags]career path, นักพัฒนาซอฟต์แวร์,เทคนิค,ระบบ,จัดการ[/tags]

Related Posts

16 thoughts on “Career Path ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

  1. อืม….
    เห็นแค่นี้ก็รู้ตัวเองเลยว่า ชีวิตเราไม่เคยวางแผนอะไรเลยยยยยย

    ยังไม่สายนะ

  2. ดูจากCareer Path ใช้เวลาน่าจะไม่เกิน 20 ปีน่ะครับ
    อายุซัก 40 กว่าๆ หลังจากนั้นพวกเราจะทำอะไรครับ สงสัยมานานแล้วว่าประเทศเรามีโปรแกรมเมอร์วัยเกษียณกันรึเปล่า

  3. แต่ผมว่าแบบแผนภูมิอันนี้ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่เลยในความคิดผมครับ คือโดยส่วนตัวผมคิดว่าการที่เราจะเติบโต ไม่น่าจะต้อง ไปเป็น SA เสมอไปครับ บางทีเราอาจจะเสีย programmer ฝีมือดีมากๆ เพื่อให้ได้ SA กระจอกๆ มาคนนึง ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่ากันเลยครับ

    จริงๆ น่าจะมี Career Path ที่ดีสำหรับพวกสาย Programmer ด้วยเหมือนกัน ที่เค้าจะไม่ต้องมาฝืนตัวเอง เช่น Special Team Leader สำหรับแก้ปัญหาเชิง Technical ที่ยากๆ หรือการ ทำงานส่วนที่ ต้องการ Performance จัดๆ ซึ่ง SA อาจจะทำงานส่วนนี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ

  4. อือม ถ้าดูจากตารางข้างบน เทียบกับภาระงานที่ทุกวันนี้ทำอยู่ ผมก็เป็น Programmer II = 5%, Senior System Analyst = 50% และ Assistant Manager = 45% ครับน้องโอ

    ยังไม่สายครับคุณ guest

    ผมเคยพบโปรแกรมเมอร์อายุเกือบ 40 ปีอยู่คนนึงครับคุณ memtest ค่าแรงเค้าแพงมากเลยนะจะบอกให้ ^o^

    อือ ๆ ผมเข้าใจล่ะคุณก้อนหิน ซึ่งถ้าบอกงี้ก็น่าจะหมายถึง แถวของระดับเทคนิคทั้ง 3 แถว ไม่น่าจะตันอยู่แค่ระดับที่ 3 น่าจะต่อยอดขึ้นไปถึงระดับที่ 5 อย่างนั้นได้ เน้อะครับ ผมก็คิดว่างั้นเหมือนกัน แต่องค์กรในเมืองไทยส่วนใหญ่ คงไม่มีเท่าไหร่แฮะ ^o^ คงต้องรอให้ประเทศไทยเรามีอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เข้มแข็ง และเติบโตมาก ๆ อ่ะครับ จนเมืองไทยเรามีบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ใหญ่ ๆ เยอะ ๆ จนการสร้างซอฟต์แวร์เป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ จนเรื่องทางระดับเทคนิคเป็นเรื่องสำคัญอ่ะครับ

  5. มุมของคุณก้อนหิน น่าสนใจครับ
    เท่าที่ผมทราบมา(ไม่ทราบว่าถูกรึเปล่า)พวกSpecial Team Leader เงินเดือนสูงมากๆ
    และงานคือคอยแก้ปัญหาให้programmer

  6. แต่ผมกลับคิดว่าในอุตสาหกรรม IT บ้านเรายังต้องการ programmer ฝีมือดีอีกมากนะครับ ยังมีงานอีกหลายส่วนทีเดียวซึ่งเรายังทำกันได้ไม่ดีและต้องการ programmer รวมไปถึง System Architect ที่มีความสามารถอะครับ

    ที่ผ่านมาที่ ผมว่าเราคิดกันไปเองว่า ต้องเป็น SA เสมอครับ จริงๆงานทั้งสองส่วนไม่น่าจะสำคัญยิ่งหย่อนกว่ากันเลย

  7. ยังไงก็ตามแต่ อย่าลืมช่วยกันสนับสนุนและพัฒนาฟรีซอฟแวร์ของไทยกันเยอะๆนะครับ เพราะค่าครองชึพของประเทศเรามันต่ำ ผู้ที่ไม่มีทุนเพื่อศึกษาเทคโนโลยีคงมีอีกมากมายนะครับ

  8. เป็นแบบที่คุณ memtest ทราบนั่นแหล่ะครับ พวกนี้เขียนโปรแกรมเก่งมากกกกกกก และสามารถแนะนำเทคนิคการเขียนโปรแกรม ให้กับโปรแกรมเมอร์ได้ แต่ก็มีติดปัญหานะ เพราะหลายคนจะเชี่ยวชาญภาษาคอมพิวเตอร์เฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น ที่ผมเคยพบนั้น เป็นหัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์ ซึ่งพี่เขามีความเชี่ยวชาญสูงมากในภาษา ABAP ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ใน SAP แต่ภาษาคอมพิวเตอร์อื่น เขาไม่ถนัดเลย เป็นต้น

    ผมถึงทางตันนานแล้วครับคุณ BigNose เพียงแต่ที่ยังยอมเป็นพนักงานกินเงินเดือนอยู่ ก็เพราะว่ามันสุขกายสบายจิตดี ^o^ อยู่ไปวัน ๆ ครับ ไม่ทะเยอทะยานอะไร แถมมีเวลาเหลือเยอะแยะ ให้ทำงานอดิเรกสนุก ๆ ได้ด้วย

    ระบบมันบีบให้ทุกคนเติบโตไปทาง System Analyst ครับคุณก้อนหิน แต่อีกไม่นานหรอก ผมว่านะต่อไปแถวที่ 1 – 3 ก็จะมีตำแหน่งที่โตขึ้นไปถึงระดับที่ 5 แน่ ๆ เลย

    ผมให้กำลังใจได้ครับน้องโอ แต่ช่วยสนับสนุนไม่ได้ครับ T-T บ่จี๊ ไม่มีตังค์

  9. สงสัยเรื่องระดับต่างๆอ่าคะ
    ระดับเทคนิค# 1 ระดับเทคนิค# 2 นี่ต่างกันยังไงหรอคะ ดูแล้วก้อเริ่มต้นจากการเป็นโปรแกรมเมอร์มาเหมือนกันเลย มีเกณฑ์แบ่งคนเข้าไปทำงานในแต่ละระดับยังไงอะคะ แล้ว ระดับเทคนิค# 1-3 ระดับระบบ ระดับจัดการ เงินเดือนแตกต่างกันไหม๊อ่าคะ เงินเพิ่มขึ้นตามระดับรึป่าวคะ

  10. มันก็แล้วแต่บริษัทครับคุณ mataro อย่างเทคนิค #1 กับ เทคนิค #2 จะต่างกันตรงที่

    เทคนิค #1 – เน้นทางเทคนิคอย่างเดียวเลย เขียนโปรแกรมอย่างเดียว ไม่สนใจการวิเคราะห์ระบบทั้งสิ้น ส่วน
    เทคนิค #2 – เน้นทางเทคนิคครึ่งนึง คือเขียนโปรแกรมครึ่งนึง แล้วก็วิเคราะห์ระบบครึ่งนึง อะไรประมาณนี้อ่ะครับ

  11. ถ้าผมอยากเป็นนักพัฒนาซอฟแวร์บ้าง
    ผมต้องไปเรียนที่ไหนคับ

    ปล ผมอยากดูแลระบบเซิฟเวอร์เป็นน่ะคับ

  12. ตอบ คุณ Mimz
    ผมว่างานดูแลเซิฟเวอร์นี่ ออกไปทางงานแผนก infrastructure นะครับ
    ประมาณว่าเป็น Admin ระบบ Network และดูแลงานด้าน infrastructure อื่นๆด้วย งานด้านเขียนโปรแกรมก็อาจมีบ้าง
    แต่ไม่เน้นมากเท่า Programmer กับ Software Engineer
    เนื่องจากภาระหน้าที่หลักๆคือดูแลระบบ
    ส่วนถ้าอยากเขียนโปรแกรม ผลิตซอฟท์แวร์แบบเน้นๆ
    เนี่ยก็ Programmer หรือ Software Engineer เลยครับ

  13. น้อง ๆ ไหนที่จบแล้วหรือกำลังทำงานอยู่ แล้วชอบเขียนโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์ ตอนนี้มีงานลักษณะนี้ให้ทำแล้วที่ Toyota Tsusho Electronics (Thailand) Co.,Ltd.

    บริษัทเค้าอยากให้คนที่มีใจรักด้านนี้ กลับเข้าสู่อุตสาหกรรมพัฒนาซอท์ฟแวร์ด้านอีเล็คทรอนิคส์ยานยนต์อยู่ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่รู้จะไปตามหาพวกน้อง ๆ แบบนี้ที่ไหน

    งานเข้ามาเพียบ แต่โปรแกรมเมอร์ที่เซียน ๆ และใจรักก็มีอยู่น้อยซะเหลือเกิน ไม่รู้จะไปตามหาได้ที่ไหน ยังไงใครสนใจงานด้านนี้ หรือมีเพื่อนคนรู้จักที่อยากทำงานด้านการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบนี้ก็ติดต่อพี่ได้ที่ 081818 2826 หรือส่ง resume มาที่ sudkanung@ttet.co.th ได้ตลอดค่ะ

    ขอบคุณคุณไท้ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลนะคะ ยังไงฝากประชาสัมพันธ์ให้คนที่เค้าชอบงานด้านนี้ มาได้ทำงานกับบริษัทที่ต้องการเฉพาะคนแบบนี้ด้วยจะขอบคุณอย่างสูงเลยค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *