ผมไม่รู้ว่าตอนนี้ยังมีใครอยากให้ประเทศไทยเป็นเหมือนอินเดียอยู่หรือเปล่า ที่จะให้เมืองไทยเราเป็นผู้ส่งออกบริการซอฟต์แวร์ หรืออยากให้เมืองไทยเราเป็น Silicon Valley แห่งที่สามของโลก

จำได้ว่าเคยแวะไปหลาย ๆ เว๊ปไซต์และหลาย ๆ บล็อก ที่มีการถกเถียงกันว่าโดยคุณสมบัติแล้ว ประเทศไทยเราจะเป็น Sillicon Valley แห่งที่สามของโลกได้หรือเปล่า? ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นได้หรือไม่ได้ ผมคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเรื่องนี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

การที่กลุ่มทุนในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, อังกฤษ และสหภาพยุโรป เลือกแบ่งเอาภาระงานบางอย่าง ซึ่งเป็นภาระงานที่ไม่ใช่แกนกลางหลักในการทำรายได้ของกลุ่มทุน อีกทั้งเป็นภาระงานที่สร้างต้นทุนสูงให้กับการดำเนินงานของกลุ่มทุน จนทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มทุนลดลง

เมื่อเลือกได้แล้วจึงส่งมอบภาระงานเหล่านั้นมาให้กับประเทศกำลังพัฒนา ผ่านการทำธุรกรรมที่เรียกว่าการ Offshoring นั้น น่าจะถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างเราหรือเปล่า? อันนี้คงต้องค่อย ๆ คิดเป็นขั้นเป็นตอนไป

ถ้าเราสังเกตุดี ๆ เราจะพบว่าประเทศพัฒนาแล้ว มักเลือกภาระงานสำคัญ ๆ อย่างการผลิตสินค้า Hi-Tech เอาไว้กับตัวเอง ในขณะที่การผลิตสินค้า Low-Tech จะผลักมาให้กับประเทศกำลังพัฒนาไปทำแทน

จนเมื่อการปฏิวัติสารสนเทศเกิดขึ้น รูปแบบการผลักภาระงานก็มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น โดยนอกจากประเทศพัฒนาแล้วจะผลักการผลิตสินค้า Low-Tech มาให้กับประเทศกำลังพัฒนาแล้ว ยังผลักภาระการบริการหลาย ๆ อย่างมาให้กับประเทศกำลังพัฒนาด้วย ซึ่งหนึ่งในการบริการดังกล่าวก็คือ Outsourcing Software Service หรือ Offshoring Software Service นั่นแหล่ะ

พวกเราจะรู้สึกดีใจมั้ย ถ้ามีใครผลักงาน “เบ๊” มาให้พวกเรา 😛 แต่งานมันเงินดีนะ แถมยังเป็นงานใช้สมองด้วย!!!

มองในแง่ของเศรษฐกิจแล้ว ก็น่าจะถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะการรับงาน Offshoring Software Service แบบนี้ มันช่วยนำเข้าดอลลาร์สหรัฐได้ดีนักแล 😛 รัฐบาลเราจะได้เอาดอลลาร์มาเป็นทุนสำรองเงินตรา แล้วก็พิมพ์ธนบัตรไทยและเหรียญกษาปน์ไทยออกมาเยอะ ๆ

แล้วพอรัฐบาลปั๊มเงินออกมาได้เยอะแยะ ก็จะได้นำเงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ แล้วธนาคารพาณิชย์ก็ปล่อยกู้ให้กับกิจการร้านค้าไปลงทุน

จากนั้นกิจการร้านค้าก็เอาเงินไปจ่ายค่าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป แล้วก็จ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างพวกเราให้ทำงานให้ สุดท้ายก็เอาเงินกำไรที่ได้ เจียดส่วนหนึ่งจ่ายเป็นภาษีให้กับรัฐบาล เพื่อให้กระแสเงินสดไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป

แบบนี้ก็ดีนะ!!!

ทีนี้มันก็เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาครับ เพราะว่าประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเห็นว่าตัวเองคิดผิดครับ ไม่เคยคิดว่างาน “เบ๊” เหล่านั้นที่ตนเองไม่อยากทำ จะสร้างกำไรสุทธิได้มากมายขนาดนี้ พวกเขาก็เลยตระหนักถึงคุณค่าของการบริการครับ ก็เลยผนวกเทคโนโลยีเข้ากับทฤษฎีระบบการบริการซะเลย

แล้วก็เลยกลายเป็น Software as a Service อย่างที่เห็นเนี่ยแหล่ะครับ ซอฟต์แวร์กลายเป็นการบริการ ไม่ใช่เป็นผลิตภัณฑ์อีกต่อไป ซอฟต์แวร์จะไม่ถูกผลิตออกมาเป็นล้าน ๆ กล่องเพื่อขาย แต่มันจะอยู่บน Web Server ที่ซึ่งลูกค้าเป็นล้าน ๆ คนจะสามารถเข้าถึงได้

ซอฟต์แวร์จะถูกส่งถึงเรา ในขณะที่เงินของเราจะกลายเป็นค่าบริการที่ส่งถึงผู้ให้บริการซอฟต์แวร์!!!

ชะรอยว่าในอนาคต คนไทยเราคงจะต้องเอาเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์ เพื่อจ่ายค่าบริการซอฟต์แวร์ของประเทศพัฒนาแล้วเป็นแน่แท้ เหมือนอย่างที่หลาย ๆ คนตอนนี้จ่ายค่าธรรมเนียม eBay, ค่าธรรมเนียม PayPal, ค่าธรรมเนียม AdWords และค่าธรรมเนียม AdBrite ซะหลังแอ่นอยู่ตอนนี้ยังไงล่ะ 😛

[tags]outsourcing,offshoring, SaaS, Software as a Service[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “ข้างหลังภาพ Offshoring

  1. ผมฟังคำว่าประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนามาจนชินแล้วอ่ะครับ ไม่รู้ว่าพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว(คิดแล้วเศร้า) สิ่งที่บ้านเรายังขาดอยู่คือการเห็นความสำคัญของซอฟแวร์
    หลายๆคนรวมถึงผู้มีอำนาจยังคงคิดว่าซอฟแวร์ในโลกนี้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายๆใดๆคิดแต่เพียงค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์แวร์อย่างเดียวก็พอ ถ้าเรารู้ว่ามันไ่ม่ฟรีน่ะ(ที่ฟรีน่ะเพราะโกงเค้ามา) ภาครัฐควรหาทางออกไปยังสินค้าทดแทนและสนับสนุนให้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้เอง
    ลดการนำเข้า ผมว่าคนไทยเก่งๆเยอะน่ะไม่แพ้ที่ไหน ถ้าแข็งใจมาัพัฒนาซอฟแวร์ฟื้นฐานเพื่อประเทศไม่นานคงจะเสร็จ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าน่ะทั้งลดการนำเข้าและได้ซอฟแวร์ที่เหมาะกับประเทศและการใช้งาน มีแต่ได้ก่ะได้ ผมก็จะได้งานด้วย เหอๆๆๆๆ

  2. จริง ๆ ต่อให้ Software ไม่เป็น Service มันก็มีค่าเท่ากับขายเป็น package หรือป่าวครับ เพราะว่า สุดท้าย มันก็ย้อนกลับมาขายให้เราอยู่ดีในราคาที่บวก premium ไปแล้วครับ เหมือนพวก รองเท้า เสื้อผ้าทั้งหลายที่ทำในเมืองไทย แล้วไปตีตราเมืองนอกแล้วกลับมาขายเมืองไทย จะเห็นว่าของทั้งหลาย made in Thailand ทั้งนั้นเลย

    แต่การที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนผมว่ายังไงก็เป็นเรื่องดีทั้งด้าน เงินทุนไหลเข้าประเทศ การจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพ นักพัฒนา ไทย ให้มีความเชียวชาญมากยิ่งขึ้น ไม่แน่ เราอาจจะได้เห็น Software ของเรา ทัดเทียม กับ ของต่างชาติครับ เดี๋ยวนี้โลกมันไร้พรมแดน อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ

    แล้วผมว่าเราน่าจะพัฒนาอะไรของเราเองอย่างจริงจังซะทีนะครับ อย่างที่เกาหลี ผมเห็น naver.com ของเค้าที่เป็นทั้ง portal site และ search engine ที่ Google ยังต้องยอมแพ้ในการ Search ในเกาหลีครับ อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้บ้างจัง

  3. ผมว่าถ้าเราผลิตสินค้าทุนได้, ผลิตอาวุธเพื่อป้องกันตนเองได้, วิจัยพัฒนาเองได้, มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่าง ๆ ถึงตอนนั้นก็น่าจะเรียกประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้แล้วกระมังครับคุณ memtest

    คุณค่ามันเท่ากันครับคุณก้อนหิน ไม่ว่าซอฟต์แวร์จะเป็นสินค้าหรือบริการ เพียงแต่ถ้ามันเป็นสินค้า เมื่อเราได้ซอฟต์แวร์มาแล้ว เราก็ต้องเอามาติดตั้งไว้ในเครื่องของเรา ซึ่งถ้าหากว่าเราเดินทางไปที่อื่น ไม่ได้พกพาคอมพิวเตอร์ที่บรรจุซอฟต์แวร์ดังกล่าวไปด้วย เราก็ใช้มันไม่ได้ หรือถึงแม้เราจะพกแผ่นต้นฉบับของซอฟต์แวร์ดังกล่าวติดตัวไปด้วย เราก็ยังต้องเสียเวลาไปติดตั้งซอฟต์แวร์ยังเครื่องใหม่ หากเราต้องการจะใช้มัน

    แต่ถ้ามันเป็นบริการตามหลักการของ Software as a Service ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนในโลก หากบริเวณดังกล่าวมีคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้ เราก็สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้ครับ

  4. นึกถึงหนังเรื่อง Matrix จัง ทุกสิิ่งทุกอย่างก็จะถูกสร้างมาด้วยโปรแกรม ของหนึ่งอย่างก็เป็นโปรแกรมหนึ่งโปรแกรม อย่างเช่นขนมเค้กที่ถูกโปรแกรมให้มีรสชาติ สี กลิ่นที่ดีเยี่ยม ต่อไปอนาคตโลกเราอาจจะเป็นอย่างนั้นจริงๆก็ได้เนอะ

  5. ผมไม่แปลกใจเลยที่ประเทศไทยเรากำลังพัฒนา คนไทยเราเก่งแต่ไม่รักกัน
    ต่อให้เก่งแค่ไหน.. คงได้แค่คำชม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *