พลังการวิจัยพัฒนา

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, การแพทย์ และเทคโนโลยีของชาติ ต้องมีส่วนประกอบของเงินและคน ประกอบเข้าด้วยกันครับ

จากข้อมูลที่ผมได้มา ผมขอเรียงลำดับรัฐชาติที่มีการวิจัยพัฒนามากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ดังนี้

  1. สหรัฐอเมริกา, งบวิจัยล่าสุดต่อปีประมาณ 11.94 ล้านล้านบาท, มีนักวิจัยประมาณ 1,300,000 คน
  2. จีน, งบวิจัยล่าสุดต่อปีประมาณ 4.92 ล้านล้านบาท, มีนักวิจัยประมาณ 926,000 คน
  3. ญี่ปุ่น, งบวิจัยล่าสุดต่อปีคือ 4.70 ล้านล้านบาท, มีนักวิจัยประมาณ 677,000 คน

จะเห็นว่า เฉพาะงบวิจัยที่ใช้ต่อปีก็มหาศาลมาก ๆ เลยครับ อีกทั้งจำนวนนักวิจัยก็มีมากมายด้วย และผมก็เชื่อว่านักวิจัยเหล่านั้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการวิจัยพัฒนาครับ

คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่าย เป็นกระดูกสันหลังที่เอื้ออำนวยต่อความก้าวหน้า ในการวิจัยพัฒนา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จริง ๆ

ป.ล. 1) สำหรับของประเทศไทยผมไม่ทราบ เพราะหาไม่เจอ แต่ที่รู้แน่ ๆ ก็คือ งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยซึ่งใช้จ่ายในทุก ๆ เรื่องเลยต่อปีเนี่ย ยังไม่ถึงครึ่งของงบวิจัยของชาติใดชาติหนึ่งในสามชาติข้างต้นเลยครับ

ป.ล. 2) คิดเงินบาทเป็นดอลล่าร์ จากราคาขายโดยสถาบันการเงินที่ 36.21 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

[tags]นักวิจัย,งบประมาณ,งบวิจัย,จีน,ญี่ปุ่น,ไทย,สหรัฐอเมริกา,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,เครือข่าย[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “พลังการวิจัยพัฒนา

  1. บ่งบอกว่าเราไม่ควรเป็นนักวิจัยของไทยไหมครับ ควรจะเป็นอย่างอื่นดีกว่า อาจจะสร้างประโยชน์ได้มากกว่ารึป่าว

  2. ตรงข้ามครับน้องโอ ผมกำลังบ่งบอกว่าประเทศไทยเราควรจะมีงบวิจัยพัฒนาและมีนักวิจัยพัฒนาในสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นครับ รวมทั้งนักวิจัยทางด้านศาสตร์คอมพิวเตอร์ด้วย

  3. อ.ของผมเคยเป็นนักวิจัยที่ญี่ปุ่น และก็ยังกลับมาทำวิจัยที่เมืองไทย แกเคยบ่นว่า กลับมานี่ไม่ค่อยมีเงินซื้อหนังสือมาอ่านเท่าไหร่ ไม่เหมือนตอนอยู่ญี่ปุ่น ซื้ออ่านแบบไม่ต้องห่วงเรื่องเงิน เพราะทุนวิจัยที่ทางญี่ปุ่นเทียบกับประเทศเรา ในการให้โปรเจคแต่ละโปรเจค ต่างกันมากครับ ไม่รู้ว่า ถ้ารัฐยังไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง ประเทศไทยก็คงมีแต่นักวิจัย(กิน)แกลบกันหละครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *