การเพิ่มทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ช่วงนี้ที่ทำงานผมเขากำลังจะขึ้นระบบซอฟต์แวร์ใหญ่ยักษ์กันครับ คิดว่าไม่เกินเมษายน 2550 ก็คงต้องขึ้นให้ได้แล้วล่ะ ผมเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องประสานระบบซอฟต์แวร์ของ Front Office ใหม่ เข้ากับระบบ Back Office เดิม ซึ่งมีถึง 2 ระบบ แถมต้องไปเชื่อมกับระบบ Data Warehouse ก็คงไม่แคล้วต้องโดนหางเลขไปด้วย

เขาเรียกทีมผมว่าทีม Interface ครับ ผมงี้อยากจะบอกว่าน่าจะเรียกว่าทีม Intergration Enterprise Software น่าจะเหมาะกว่ากระมัง เพราะระบบซอฟต์แวร์อะไร ๆ มันต่อกันไม่ได้ ก็เรียกทีมนี้ไปใช้งานทุ้กกกกที

การต่อเชื่อมของระบบซอฟต์แวร์

สีแดงคือขอบเขตที่ทีม Intergration Software ต้องดูแลครับ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนที่ต้องเชื่อมซอฟต์แวร์เข้าหากัน ก็ต้องมีขอบเขตงานแบบนี้ทั้งนั้น นั่นก็คือ นอกจากจะต้องรับผิดชอบในส่วนการเชื่อมต่อของตนเองแล้ว ยังต้องก้าวล้ำเข้าไปดูแลในระบบที่ตนเองต้องต่อเชื่อมกึ่งหนึ่งด้วย เรียกว่าแตะคนอื่นไปทั่ว

การสร้างซอฟต์แวร์ระดับใหญ่นี่มันวุ่นวายจริง ๆ นะ ขอบอก เพราะเราต้องจัดจ้างบริษัทเอกชนให้เข้ามาช่วยสร้างระบบให้เรา ซึ่งไม่ใช่แค่จ้างบริษัทเดียวนะ ต้องจ้างหลายบริษัทเลยล่ะ แถมบางบริษัทเห็นว่าตัวเองก็ทำไม่ไหว ก็ไปจ้างบริษัทอื่น ๆ มาช่วยอีก

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ, นักวิเคราะห์ระบบ, ผู้ประสานงาน และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งหลายบริษัทงี้เดินยั้วเยี้ยกันไปหมดเลย

จุดที่เป็นปัญหาที่สุดก็คงเป็นตอนเชื่อมประสานกันของซอฟต์แวร์ครับ ไม่ว่าจะเป็นการต่อเชื่อมภายในระบบของตนเอง หรือการต่อเชื่อมกับระบบอื่น ๆ

เพราะทุกบริษัททำเหมือนกันหมดเลย นั่นก็คือ ตั้งหน้าตั้งตาทำระบบของตนเองเพื่อจะส่งมอบ ซึ่งเหมือนกับกล่องนึง ๆ ก็แบบว่าตั้งหน้าตั้งตาทำกันเข้าไป แล้วสุดท้ายเป็นไงรู้มั้ยครับ? กล่องมันต่อกันไม่ได้ ผมงี้เซ็งโคตรเลย

ผมทำงานมาหลายที่แล้ว ทุกที่เหมือนกันหมด คือ ทำให้ของข้ารอด, ของข้าเสร็จไว้ก่อน จะเชื่อมกับใครได้ไม่ได้ข้าไม่สน!!! (อันนี้ไม่ได้ก้าวร้าวนะครับ T-T ผมเปล่าคิดเองนะ)

ทางผู้บังคับบัญชาผมรู้แกวครับ พอเห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ไม่สนใจที่จะเชื่อมระบบกันซะที ก็เลยกำหนดนโยบายเปรี้ยงให้กับบริษัทเอกชนต่าง ๆ รับทราบว่า ถ้ากล่องของพวกคุณเชื่อมกันไม่ได้ ก็ไม่ต้องเอาตังค์!!!

ทุกบริษัททำเหมือนกันหมดเลยครับ เพิ่มคน!!! เพื่อมารองรับกับความต้องการนี้ ผมรู้สึกเลยนะว่ามันเป็นสูตรมากเลย พอเห็นว่าอะไร ๆ มันจะไม่ทันแล้ว เขาก็เพิ่มคนกัน แล้วที่เพิ่มเข้ามาก็คละ ๆ กันนะ คือมีเด็กใหม่เพิ่งเรียนจบ กับคนที่มีประสบการณ์แล้ว

การเพิ่มคนจะดีมากเลยครับ หากทำในช่วงต้นของโครงการ เพราะคนที่เพิ่มมาเหล่านั้น จะได้เติบโตและเข้าอกเข้าใจไปกับระบบพร้อม ๆ กันไป แต่ถ้าเพิ่มมาตอนกลางกึ่งปลายแบบนี้ มันลำบาก ลำบากยังไง?

  1. เด็กจบใหม่น่าสงสารมาก เพราะต้องได้รับแรงกดดันอย่างหนัก อันเนื่องจากจบมาปุ๊ป ยังไม่ทันจะได้อุ่นเครื่องอะไรเลย ก็ต้องมาเจอของจริง, ของหิน, ของสาหัสแล้ว
  2. คนที่มีประสบการณ์แล้วก็ถูกโหลด เพราะนอกจากจะต้องทำงานให้ทันตามกำหนดแล้ว ก็ยังต้องประคองเด็กจบใหม่ไปด้วย เพราะหากเด็กจบใหม่ช่วยไม่ได้ งานนี้หลังอาน เพราะจะต้องทำในส่วนที่เด็กใหม่ทำไม่ได้

เข้าลักษณะเตี้ยอุ้มค่อม ทั้งขึ้นทั้งล่อง!!!

เรื่องแบบนี้ไม่รู้จะโทษใครดี โทษใครดีล่ะ เฮ้อ โทษไม่ได้เลย ผมเข้าใจว่ามันควรจะเป็นบทบาทของบริษัทเอกชนต่าง ๆ นะ ที่เขาต้องคิดว่า ระบบซอฟต์แวร์ที่เขาต้องสร้าง ไม่ได้อยู่อย่างเดียวดาย, ระบบซอฟต์แวร์ของพวกเขา ต้องต่อเชื่อมกับระบบอื่น ๆ

ดังนั้นก็ควรตั้งงบประมาณและกำลังพลเผื่อไว้ซะตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องทำให้มีปัญหาทั้งเรื่องเงิน, งาน และคน เป็นลูกโซ่เป็นทอด ๆ แบบนี้ครับ

ป.ล. เด็กใหม่น่าสงสารจริง ๆ นะ ผมเห็นนั่งน้ำตาไหลเพราะความหินของงานเชียวล่ะ ส่วนคนที่มีประสบการณ์แล้วก็ไม่แตกต่างเท่าไหร่นัก พอเห็นว่าทำไม่ทันแล้ว ทำไม่ได้แล้ว ก็ชิงลาออกไปดื้อ ๆ ทิ้งสินค้าระหว่างผลิตเอาไว้เต็มเลย ทำใจครับเพราะผู้ที่ลำบากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้น ที่อาจจะได้ตังค์ไม่ครบ แถมโดนเบี้ยปรับอีกต่างหากนั่นเอง

[tags]การพัฒนาซอฟต์แวร์,การเพิ่มคน,การเพิ่มทีม,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,เด็กใหม่,คนมีประสบการณ์[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “การเพิ่มทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์

  1. ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ????????????????????????????? ?????????????????????????????????????? ???????????????????????????????????????????????? -_-‘ ???????????????????????????????????????

    ??????. ?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????? ???????????????

  2. เด็กเก่ามัวแต่สอนเด็กใหม่ เป็นอันว่าซอร์ฟแวร์งี้ไม่พัฒนากันเลย แต่ถ้าได้เด็กใหม่ ที่เจ๋งๆ ฝีมือดีๆ รับรองได้ว่าผ่านเแบบชิวๆ ได้สะบาย ทั้งผู้บริหารและเด็กเก่าครับ

  3. คุณ patr จะให้หัวหน้ามาอ่านเหรอ ^o^ เกรงใจจัง แต่ผมว่านะ เขาอ่านเสร็จแล้ว เขาก็คงไม่เพิ่มคนหรอก เพราะเขาอาจจะได้อ่านหัวข้อ “การรีดส่วนเกินแรงงานจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์” ที่ผมเคยเขียนไปด้วยอ่ะดิ ^o^ เลยคิดว่ารีดส่วนเกินแรงงานจากคุณต่อไปดีกว่า

    ส่วนใหญ่เด็กใหม่พอเก่งแล้ว ก็ย้ายงานเพื่อเพิ่มเงินเดือนครับคุณเดย์ T-T เศร้าจิต ต้องสอนใหม่อีกแล้วเรา

    เวลาจะเป็นเครื่องทำละลายที่ดีที่สุดครับน้องโอ เวลาจะค่อย ๆ ทำให้เราเจ๋งขึ้นเอง

    คุณสิทธิศักดิ์เป็นผู้ประกอบการไปแล้ว ไม่ต้องเป็นพนักงานธรรมดาแล้วนี่ ดังนั้น หัวข้อนี้คงใช้กับคุณสิทธิศักดิ์ไม่ได้แหงม ๆ เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *