ศิลปะการ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์

ผมเคยได้คุยกับระดับนโยบายที่คุมการเงินการคลังท่านหนึ่งขององค์กรครับ ท่านบ่นว่าถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยงานทางด้านการเงินแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงไม่เชื่อถือข้อมูลสรุปที่ได้จากคอมพิวเตอร์อยู่ดี ตราบใดที่ยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ชี้ชัดว่ามันถูกต้อง และที่สำคัญ วิธีการพิสูจน์ต้องกระทำได้โดยคนของท่านเอง ไม่ใช่โดยคนของศูนย์คอมพิวเตอร์!!!

ถ้าบ่นกันมาอย่างนี้แสดงว่าท่านเชื่อว่า ข้อมูลซึ่งจัดเก็บและบรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้น มัน FAKE ได้ … ซึ่งมันจริงซะด้วยสิ!

งั้นมายกตัวอย่างการ FAKE แบบไม่เนียนกันดีกว่า โดยดูจากพอร์ตหุ้นที่ผมเปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในเมืองไทยเรากัน

พอร์ตหุ้นของ Mr. PeeTai ซะเมื่อไหร่กัน?

ขอบอกไว้ก่อนเลยว่าพอร์ตหุ้นข้างบนนั้น มัน FAKE ขึ้นมาและไม่เป็นความจริง เพราะการที่จะซื้อหุ้นของ “ปตท.” และ หุ้นของ “ปูนใหญ่” ที่มูลค่าที่ตราไว้ได้นั้น มันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผม เพราะผมไม่ได้เป็นคนมีสีหรือคนบิ๊กบึ้มอะไรกับใครเขา

ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นก็คือ ถ้าการ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวถูกกระทำโดยมนุษย์ และเป็นการกระทำแบบหยาบ ๆ ไม่ได้มีวิธีที่สลับซับซ้อน เราก็ยังพอที่จะเชื่อได้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง … แต่ทว่า … แล้วถ้าหากการ FAKE ดังกล่าวนั้น มันกระทำอยู่บนกิจกรรมที่ถูกต้องของคอมพิวเตอร์ล่ะ จะเป็นยังไง?

ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ระบบคอมพิวเตอร์ทุกระบบ ล้วนมี DEBUG Mode ซึ่งอนุญาตให้ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบได้ และมันก็เป็นช่องโหว่ซะด้วย เพราะ DEBUG Mode ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เจ้าของระบบฯนั้นเป็นผู้บริหารจัดการ ดังนั้นผู้ที่สร้าง DEBUG Mode ก็มักจะไม่ได้ทำ Log เอาไว้เพื่อเก็บกิจกรรมการทำงานในขณะใช้ DEBUG Mode อยู่ เพราะเห็นว่าผู้ที่จะใช้ DEBUG Mode ได้ก็คือเจ้าของระบบฯ จึงไว้ใจได้ว่าเจ้าของระบบฯคงจะไม่ทำอะไรส่งเดชแน่!!!

อือม แล้วแบบนี้เราจะไปเชื่อได้ไงล่ะว่าข้อมูลมัน FAKE ไม่ได้ ในเมื่อมันมีช่องเล็กช่องน้อยให้กระทำการได้ดุจดั่งพระเจ้าเช่นนี้?

นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการที่จะยืนยันว่าข้อมูลถูกต้อง จึงต้องมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน, ต้องมีหมายเลขเฉพาะกำกับ, ต้องสามารถตรวจสอบไขว้ได้, ต้องเป็นข้อมูลแบบสัมพัทธ์ที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่ข้อมูลแบบสัมบูรณ์ที่อ้างอิงไม่ได้, ต้องมีวิธีพิสูจน์ที่สามารถทำซ้ำได้ อีกทั้งยังได้ผลเหมือนกันทุกครั้งที่พิสูจน์ และต้องสามารถพิสูจน์โดยใครก็ได้ ไม่จำเพาะเพียงแค่คนไอทีเท่านั้น

โดยสรุปแล้ว ศาสตร์ในการพิสูจน์ว่าข้อมูลไม่ FAKE จะกลายเป็นศาสตร์ที่ำสำคัญในอนาคตครับ!

[tags]ศิลปะ, FAKE, ข้อมูล, คอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “ศิลปะการ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์

  1. เหมือนที่ผมเคยลงในบล็อกเรื่อง แก้ข้อความทางหน้าเว็บเลยครับ
    สมัยนี้ต้องตรวจดูให้ดี วิธีโกงต่างๆเริ่มมีมากขึ้น ไอ้เราก็ไม่เก่งพอจะไปไล่ตามจับเค้าทันซะด้วย ต้องติดตามข่าวสารบ่อยๆ

  2. ถ้าในตอนนี้ คงต้องให้ “คนของท่าน” ไปหัดเขียน query กับโปรแกรมมิ่งแล้วล่ะครับ

  3. อ๊ะคุณ feekz ก็เคยเขียนถึงเหรอ คราวหน้าเอา url มาใส่ได้เลยนะ ผมจะได้ตามไปอ่าน

    ธุรกิจการ Fake ข้อมูล หรือธุรกิจการพิสูจน์ข้อมูลล่ะคุณเน็ต 😛

    555 คนของท่านจบบัญชีอ่ะคุณ AMp

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *