ข้อมูลยิ่งละเอียด ยิ่งมีประโยชน์ และยิ่งมีต้นทุนสูง

คิดว่าข้อมูลที่เราจะเก็บในคอมพิวเตอร์ ควรจะละเอียดแค่ไหนดีล่ะ?

ถ้าเป็นการบันทึกข้อมูลลงบล็อก ผมก็คงจะบันทึกไว้ว่า …

25/12/2550 09:45 – ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกสดชื่นจัง คิดว่าถ้าได้ซดโอวัลตินตอนเช้ายิ่งอร่อยเข้าไปใหญ่?

จริง ๆ บล็อกต้องสาธยายยาวกว่านี้ แต่ถึงจะยาวมันก็ไม่ละเอียดซักเท่าไหร่ ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่าข้อมูลที่ยืดยาว ไม่ได้หมายความว่ามันจะละเอียด

งั้นลองใหม่คราวนี้เป็นไมโครบล็อกบ้าง ผมก็คงจะบันทึกว่า …

25/12/2550 09:00 – ตื่นเช้า
25/12/2550 09:25 – ซดโอวัลติน

สมกับเป็นไมโครบล็อกจริง ๆ คือสั้น ๆ ได้ใจความดี!!!

แต่ข้อมูลที่ละเอียดซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดเก็บที่ผมจะโม้นั้น มันไม่ใช่แบบบล็อกหรือแบบไมโครบล็อกหรอกนะ มันต้องประมาณนี้

25/12/2550 08:45 – สมองเริ่มปรับตัวเข้าสู่สภาวะตื่น
25/12/2550 08:48 – สมองเริ่มปล่อยคลื่นเดลต้าน้อยลง
25/12/2550 08:50 – ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
25/12/2550 08:53 – หัวใจถูกกระตุ้นให้เต้นเร็วขึ้น
25/12/2550 08:55 – ม่านตาที่ขยายตัวเริ่มหดตัว
25/12/2550 08:58 – สมองเริ่มปล่อยคลื่นอัลฟ่าเข้าแทนที่
25/12/2550 09:00 – เปลือกตาถูกเปิดออก
25/12/2550 09:02 – เริ่มกลอกตา
25/12/2550 09:04 – สมองเริ่มทบทวนตัวตน
25/12/2550 09:06 – ร่างกายเริ่มบรา ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

ละเอียดไปมั้ย? ไม่หรอก จริง ๆ ต้องละเอียดให้ได้มากกว่านี้อีกถึงจะมีประโยชน์ ถ้ายิ่งสามารถเก็บรายละเอียดได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะมีประโยชน์มากเท่านั้น

เพียงแต่ว่ามันต้องละเอียดแค่ไหนล่ะถึงจะพอ???

ผมมองว่าตอนนี้เรามีศัพท์ที่ใช้วัดขนาดเทคโนโลยีกันเยอะนะ เช่น ไมโครเทคโนโลยี ใช้อธิบายสิ่งที่เล็กระดับหนึ่งในล้าน, นานาเทคโนโลยี ใช้อธิบายสิ่งที่เล็กระดับหนึ่งในพันล้าน

แต่กับความละเอียดของข้อมูลในแง่ของมิติการจัดเก็บ กลับไม่ยักจะมีศัพท์ที่บัญญัติเกี่ยวกับมันเลยแฮะ อือม ต่อไปถ้าใครมาถามผมว่าข้อมูลของผมที่เก็บไว้มีความละเอียดแค่ไหน ผมคงต้องบอกว่าเก็บละเอียดในระดับชีวภาพเลยมั๊งเนี่ย ฮา

[tags]ข้อมูล,ละเอียด,การจัดเก็บ,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “ข้อมูลยิ่งละเอียด ยิ่งมีประโยชน์ และยิ่งมีต้นทุนสูง

  1. งั้นมันก็คือ log ของระบบอวัยวะ ระบุแยกดีกว่า

    เช่น

    สมอง เข้าสู่สภาวะตื่น เริ่ม
    สอมง ลดคลื่นเดลต้า เริ่ม

  2. เก็บเป็น Temporal database ดูจะเหมาะสมกว่า log นะเนี่ย แต่จริง ๆ แล้วจะเก็บอะไรคือ ต้องรู้ว่าจะเอาอะไรไปใช้อ่ะครับ ตัวอย่างอย่างเช่น เครื่องเร่งอนุภาคทั้งหลาย อย่างเช่น LHC เอาอนุภาคมาชนกันมี อนุภาคชนกันในหนึ่งช่วงเวลา (อย่างเช่นหนึ่งวิ) มากกว่า bandwidth ของคอมพิวเตอร์ที่จะเก็บลง storage device ได้ ก็เลยต้องตัด การชนกันที่ให้ผลที่ไม่ค่อยน่าสนใจออกไปอ่ะครับ

    เก็บเยอะเกินไปไม่ได้ใช้ ก็เปล่าประโยชน์อ่ะครับ คุยกับคนใช้โปรแกรมดี ๆ ว่าเค้าต้องการอะไร แล้วเดาว่าเค้าอาจจะต้องการอะไรในอนาคตแล้วเก็บเท่านั้นอ่ะครับ

  3. รับรู้ได้ขนาดนี้ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นระดับมี “สติ” ในทางพุทธศาสนาหรือเปล่าครับ โดยปรกติการเกิดดับของการรับรู้จะเร็วและมากเกินกว่าคนเราจะบันทึกได้ทันนา ถ้าจะมีปัญหา น่าจะเป็นปัญหาที่ วิธีการจัดเก็บ มากกว่าการจัดหาเนื้อที่ในการจัดเก็บหรือเปล่า?

    และจริงๆแล้วถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมละเอียดลึกลงไปได้ขนาดนั้น อาจจะไม่มานั่งนึกถึงการจัดเก็บอะไรไว้อีกแล้วก็ได้นะครับ ^^

  4. เออ น่าคิดแฮะ แยก log ตามอวัยวะอย่างที่คุณ sugree ว่า

    ถ้าในแง่ของการเก็บเหตุการณ์ในระดับฟิสิกส์อนุภาคนี่ขอยอมแพ้ครับคุณ Tee มันละเอียดเกินไป๊ T-T

    โอ้ เข้าใกล้แนวพุทธเลยนะเนี่ยคุณ meekob คงจะเป็นอย่างที่คุณ crucifier ว่าเลยอ่ะ

    เขาคุยกันระดับเหตุการณ์อนุภาคแล้วคุณข่า ของคุณข่านี่เหตุการณ์ระดับชีวภาพ อิ อิ 😛

    ความเห็นอันไหนอ่ะที่คุณ xinexo เห็นด้วย … อ้อ สงสัยของคุณข่า

    ถ้า 5 วินาทีได้ 3 เรคคอร์ด งั้น 1 วินาทีได้กี่เรคคอร์ดเนี่ย? อ๋า คำนวนม่ะถูก อิอิ 😛

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *