Fuzzy Logic กับการลงประชามติรับกฎหมาย

ปรกติแล้วผมมักจะถูกผู้ร่วมงานต่อว่าเล็ก ๆ อยู่เสมอครับ เพราะในขณะที่พวกเขากำลังถกเถียงกันเรื่องอำนาจรัฐและกฎหมายอยู่นั้น ผมกลับเอาแต่สนใจเรื่องเศรษฐกิจอยู่เพียงอย่างเดียว ทีนี้พอพวกเขาถามว่าผมรู้สึกยังไงกับการเมืองไทยตอนนี้ ผมก็ตอบด้วยประโยคเด็ดของผมว่า “ไม่รู้และไม่สน” ครับ

อือม เพราะเป็นงี้สินะ เลยโดนต่อว่าเลย!!!

ผมเชื่อว่าต่อไปคนไทยคงจะมีโอกาสได้ลงประชามติอีกเยอะ แบบว่าคงอีกหลาย ๆ ครั้งเลยล่ะ ไม่ใช่แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว และโดยส่วนตัวแล้วผมก็ไม่ค่อยรู้สึกชอบการลงประชามติรับกฎหมาย ที่มีเพียงเงื่อนไขให้ผม “รับ” หรือ “ไม่รับ” แค่เพียง 2 เงื่อนไขอ่ะครับ

สิ่งที่ผมอยากได้ก็คือ ผมอยากให้เปิดโอกาสให้ใช้ Fuzzy Logic ได้ คือ ผมควรจะสามารถให้น้ำหนักกับการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” กับเรื่องนั้น ๆ ได้ด้วย อย่างเรื่องประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ นี่ก็เหมือนกัน ผมอยากจะให้น้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” รายมาตราเลยด้วยซ้ำ!!!

ยกตัวอย่างเช่น…

มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
คะแนนของผม – รับ : 100%, ไม่รับ : 0%
เพราะ – มันก็ต้องอย่างงั้นอยู่แล้ว

มาตรา ๘๒ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
คะแนนของผม – รับ : 60%, ไม่รับ : 40%
เพราะ – เห็นด้วย แต่ก็รู้สึกว่าปฏิบัติยาก ต้องมาตีความกันอีกว่าแค่ไหนถึงจะพอเพียง

มาตรา ๑๖๑ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ
คะแนนของผม – รับ : 30%, ไม่รับ : 70%
เพราะ – เห็นด้วยนิดหน่อย แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยมาก เพราะถ้าออกเสียงประชามติได้ แสดงว่าระบบ ส.ส. กับ ส.ว. มันล้มเหลวนั่นเอง

มาตรา ๑๗๐ รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ …
คะแนนของผม – รับ : 0%, ไม่รับ : 100%
เพราะ – ผมไม่ชอบเลยที่รัฐมนตรีจะมาจาก ส.ส. แถมเมื่อมาเป็นรัฐมนตรีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องลาออกจากการเป็น ส.ส. อีกต่างหาก นั่งมันสองเก้าอี้เลย ใครจะทำไม?

ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นทางคอมพิวเตอร์อ่ะนะ สิ่งนี้จะถือเป็นสถิติที่ดีเยี่ยมเลยล่ะ ที่จะให้ผู้วิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ได้ ว่ากฎหมายมาตราไหนที่มีคนให้้น้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” มากกว่ากัน จะได้เอาไปปรับปรุงได้ถูกต้องที่สุด อีกทั้งจะเป็นตัวประเมินที่ดีที่จะทำให้ผู้ลงประชามติรู้ใจตัวเองจริง ๆ ว่าจริง ๆ แล้วตนเองให้น้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” กฎหมายฉบับนั้นกันแน่ โดยดูจากผลรวมของน้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ในทุก ๆ มาตรา

ครั้งนี้ถือว่าผมพลาดไป เพราะผมไม่สนใจการเมือง ไม่งั้นผมคงทำ Software as a Service ที่เรียงเรียงทุกมาตราของร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เอาไว้ พร้อมทั้งให้ใครก็ตามสามารถเข้ามาให้น้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ในทุก ๆ มาตราได้

ผลสรุปที่ได้จากการให้น้ำหนักในทุก ๆ มาตรา จะทำให้คน ๆ นั้นรู้ใจตัวเองว่า จริง ๆ แล้วโดยรวมนั้น ตนเองพึงพอใจที่จะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” กฎหมายฉบับนี้กันแน่ … โดยมีสถิติอันเกิดจากการให้น้ำหนักในทุกมาตราเป็นหลักฐานสำคัญนั่นเอง

ป.ล. ถ้าจะให้เจ๋งจริงอ่ะนะ ในแต่ล่ะมาตราต้องให้ “หน่วยกิต” ได้ด้วย ยิ่งมาตราไหนสำคัญ ยิ่งจะต้องมีหน่วยกิตที่สูงกว่ามาตราทั่วไป แบบนี้ยิ่งวิเคราะห์ได้ดีเข้าไปใหญ่ เพราะน้ำหนักในการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” พอเอาไปคูณกับ “หน่วยกิต” แล้ว มันจะสะท้อนผลลัพท์ได้อย่างถึงแก่นเลยล่ะ 😛

[tags]คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, เว็บ, fuzzy logic, รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐, สถิติ, Software as a Service, มาตรา, กฎหมาย[/tags]

Related Posts

13 thoughts on “Fuzzy Logic กับการลงประชามติรับกฎหมาย

  1. ยอดเยี่ยมไปเลยถ้าได้อย่างนี้ เเต่ปฎิบัติยากมากมายที่จะทำได้อย่างเปงทางการ ยากที่จะมีคนอ่านครบทุกมาตรา เเค่กาซ้ายกับขวา ยังต้องรงณรงณ์ขนาดนี้ นี้ต้องให้น้ำหนักด้วย ต้องใช้เวลาทำนานขึ้นไป คิดเยอะ (เว้นเเต่คิดจากบ้านมา)จะมาลงกันไหมอ่า

    ปล อยากให้ระบบลงคะเเนนของคนต่างจังหวัด เเต่มาลงที่กรุงเทพเเทนง่ายๆกว่านี้ เอาเเบบเข้าเนตเเล้วบอกทางเนตเลยได้ไหมว่าผมจะมาลงกรุงเทพอ่า นี้ยุ่งยากจริงๆๆ เหนื่อย

  2. ถ้าจะเอา ทุกมาตรามาก็คงไม่ไหว เอาแค่ที่เปลี่ยนแปลงมาให้เลือกดีกว่า แต่ว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีคอมใช้นี่สิ จะทำเป็นซอร์ฟแวร์แบบที่พี่ไท้ว่าท่าทางคนเลือกจะมีอยู่น้อยนิด แต่ท่าจะพิมพ์ลงกระดาษให้คนกาก็รู้สึกว่ามันจะเปลืองทรัพยากรอยู๋มิไช่น้อยหนะสิครับ

  3. ในชีวิตนี้ คงมีไอเดียดีๆแบบนี้ที่โผล่ขึ้นมา แล้วเราก็ลืมไปนิ
    ขอบคุณที่มีบล็อก ได้เผยแพร่ความคิด และบันทึกความคิดเอาไว้ระลึกถึง
    (ยามแก่ อิ อิ )

  4. เป็นไอเดียที่เจ๋งมากครับ โดยเฉพาะเรื่องหน่วยกิต เพราะหากพิจรณาดี ๆ มันจะมีบางมาตราที่มีหน่วยกิตเป็น infinity กล่าวคือ หลาย ๆ มาตราอ่านแล้วสวยหรู แต่เจอบางมาตราเข้าไป มันไปหักกลบมาตราอื่น ๆ หมด ไอ้ที่เขียนไว้สวยหรู พอเอาเข้าจริง เจอมาตราเหล่านี้เข้าไป มันกลับใช้งานไม่ได้ ซึ่งมาตราเหล่านี้แหละครับ มันอันตรายมาก ๆ

    ปล. อย่าลืมให้หน่วยกิตของที่มา รธน. ด้วยนะครับ ผมให้สัก 0.5*infinity 😛

  5. เป็นความคิดน่าสนใจมากๆเลยค่ะ ถ้าทำออกมาได้จริง เมื่อให้ user ใช้ก็ต้องให้เวลาคิดที่เหมาะสม เพราะข้อความแบบกฏหมายบางทีก็ต้องอ่านแล้วแปลไทย แถมแปลไทยรอบแรกก็อาจยังมีเงื่อนซ่อนอยู่ ต้องแปลไทยต่ออีก

    สำหรับหน่วยกิตก็อาจต้องมีการคัดสรรอีกว่าอันไหนจะได้น้ำหนักไปมากสุด แล้วจะเอาใครหรืออะไรเป็นตัวกำหนด

    สำหรับฉัน รธน นี้แค่มาตรา ๓๐๙ ข้อเดียวก็แทบจะกินสัดส่วนหน่วยกิตทั้งหมดของ รธน -_-!

  6. วันนี้ตอนนั่งหาข้อมูล เกี่ยวกับ รธน ผมก็คิดแบบพี่ไท้ครับ แต่ไม่ละเอียดเท่าพี่ไทยตรงเรื่องหน่วยกิตนี่แหละครับ

    ที่คิดได้แบบนั้น เพราะอ่านๆดูแล้วเห็นว่ามันก็มีทั้งดีและไม่ดี รวมๆ แล้วทำไมจะต้อง บอกว่ารับหรือไม่รับ แค่นี้หละ และทำแบบนี้ดีตรงที่คนคิดจะได้รู้ด้วยว่า อันไหนตรงใจคนส่วนใหญ่ ที่ไม่ตรงใจเพราะอะไร แถมมีเหตุผลชี้ให้เห็นด้วย ลดเวลานั่งเทียนขึ้นเยอะ

    แต่ ถ้าทำได้คงต้องใช้เวลานานเชียวหละคับพี่ เพราะทุกคนต้องรู้ถึงแก่นทีเดียวเชียว (แต่ก็ตรงกับที่ผมเคยรู้ว่า เราไม่สามารถอ้างว่าไม่รู้กฏหมาย ไม่ได้)

  7. ้ Fuzzy Logic แบบที่พี่ไท้ว่าเค้าได้นำมาใช้ตอนรับฟังความคิดเห็น
    ของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่สัญจรไปตามจังหวัดต่างๆครับ
    ในตอนนี้ผมมองว่าประชาชนบางส่วนยังไม่พร้อมกับการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ
    ณ ปัจจุบันในบางฟื้นที่ยังคงมีการซื้อเสียงอยู่เลย ยังคงมีม๊อบจัดตั้ง ประชาชนบางส่วนขาดวุฒิภาวะในการควบคุณอำนาจในการออกเสียง
    อยากเห็นการเมืองบ้านเราดีกว่านี้คงต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการศึกษาและเศรษฐกิจระดับจุลภาค

  8. ชีวิตมันต้องยุ่งยากครับคุณ bin จนกว่าประเทศเราจะพัฒนานั่นแหล่ะ มันจะได้ยุ่งยากน้อย ๆ หน่อยอ่ะ

    ที่ผมคิดนั้น มันก็คงจะคล้าย ๆ กับระบบโพลอ่ะครับคุณ nat มันไม่ใช่คะแนนจริงจังอะไรหรอก ใช้ในทางราชการอะไรไม่ได้หรอก

    บล็อกมันก็ดีแบบนี้แหล่ะครับป้า xim 😛

    T-T ไอ้เจ้า 0.5 คูณ infinity แล้วมันจะได้อะไรเล่าพี่น้องคับคุณโบว์

    เน้อะคุณ Dominixz พวกเราเป็นพวกไม่ชอบการเมืองเหมือนกัน

    ผมว่านะคุณ patr คนที่จะลองระบบแบบที่ผมว่า เขาคงต้องตั้งใจจริง ๆ นั่นแหล่ะ เพราะกว่าจะกรอกเสร็จ ก็เซ็งถึงแก่นเลยล่ะผมว่า

    เห็นแบบนี้แล้วคงต้องวางอุเบกขาครับคุณ memtest เศร้าจิต T-T

    เออจริงด้วยคุณเดย์ มันเหมือนการสอบเลยแฮะ คนทำแบบสอบถามกว่าจะทำเสร็จ เซ็งเป็ดน่าดู

    มาตรา 309 เป็นมาตราคลาสิกครับคุณ cotton คุณ tee 😛

  9. ผมว่าแค่ให้เลือกรับ-ไม่รับเป็นรายมาตราน่าจะโอแล้วนะพี่ไท้ ส่วนน้ำหนักเอาให้กับประโยคที่ชอบ-ไม่้ชอบในมาตราเพื่อประกอบการแก้ไขเลยดีกว่า

    ฝันกลางวัน~

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *