เดี๋ยวนี้ถ้าจะแบ่งประเภทของ SaaS จากเทคนิคการให้บริการ น่าจะแบ่งได้เป็นสองประเภท ประเภทแรก ผู้รับบริการต้องเข้าไปที่หน้าเว๊ปของผู้ให้บริการ SaaS ถึงจะเข้าถึงบริการได้ และประเภทสอง ผู้ให้บริการ SaaS จะปล่อย “ปรสิต” ของตนเอง ไปอยู่ตามหน้าเว๊ปต่าง ๆ เพื่อให้บริการทั้งแก่เจ้าของเว๊ปไซต์ และผู้เยี่ยมชม

บล็อกของผมเองก็มี “ปรสิต” อยู่ 3 ตัว ซึ่งผมเองนั่นแหล่ะ ที่อนุญาติให้มันฝังตัวอยู่ภายในบล็อกของผมได้ ซึ่งได้แก่ MyBlogLog, Google Analytics และ Technorati

ระยะหลัง ๆ เราจะพบว่าผู้ให้บริการ SaaS ส่วนใหญ่ เริ่มเน้นการบริการในแบบปล่อย “ปรสิต” มากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต เลยทำให้มีเว๊ปไซต์มากขึ้น มีการให้บริการพื้นที่สาธารณะเพื่อทำบล็อกมากขึ้น มันก็เลยแพร่หลายมากขึ้น

เท่าที่ผมดูนะ เทคนิคการปล่อย “ปรสิต” ให้ทำงานแบบนี้ มันต้องใช้ Javascript เป็นกลไกหลักในการทำงาน โดยส่วนตัวแล้ว ผมเองไม่เคยชายตาแล Javascript เลย เพราะเห็นว่ามันเป็นเพียงกลไกเสริม ไม่ใช่กลไกหลักเหมือนกับที่ Server-Side Script เป็น ถึงผมจะเขียน Javascript เป็น แต่ก็ไม่ลึกซึ้งมากนัก

ผมเองได้มีโอกาสพบปะกับเซียนเขียนซอฟต์แวร์มามากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นเซียน ANSI C, เซียน GNU C/C++, เซียน Microsoft C++, เซียน Java, เซียน ABAP เป็นต้น แต่ก็ยังไม่เคยเจอเซียน Javascript เลย ทำให้นึก ๆ ไปเองว่าจริง ๆ แล้วโปรแกรมเมอร์ไทยคงมีไม่กี่สิบคนกระมัง ที่นับได้ว่าเป็นเซียน Javascript ตัวจริง

สำหรับผมแล้ว การที่เราสร้าง SaaS ของเราให้อยู่ในรูปแบบของ “ปรสิต” ด้วย Javascript เพื่อให้เหล่าสมาชิกนำไปฝังเอาไว้ในเว๊ปของตนนั้น เป็นรูปแบบการให้บริการที่ดีนะ มันเหมือนเป็นการบอกต่ออีกแบบหนึ่ง ซึ่งดูแล้วดีกว่า hyperlink ข้อความ หรือ link ที่เป็นรูปภาพจมเลย

ตอนนี้ผู้ให้บริการ SaaS ส่วนใหญ่ยังเจี๋ยมเจี้ยมครับ สร้างแต่ “ปรสิต” ตัวเล็ก ๆ ระดับ Widget หรือระดับ Tower Block เท่านั้น แต่ต่อไปผมว่าขนาดของ “ปรสิต” เหล่านี้จะใหญ่ขึ้น อาจจะกินพื้นที่ถึง 800×600 เลยก็ได้ รวมถึงจะมีความซับซ้อนสูงขึ้น จนกระทั่งเนื้อหาหลักของเว๊ปไซต์ด้อยไปเลย

ถึงตอนนั้น “ปรสิต” เหล่านี้ อาจจะทำตัวเหมือนเป็นบริการหลักของเว๊ปไซต์นั้น ๆ ไปเลยอ่ะ!!!

ดู ๆ ไปแล้ว ตอนนี้ Javascript จะไม่ใช่ตัวประกอบแล้วครับ มันได้ถูกยกระดับขึ้นมาเป็นพระรองแล้วล่ะ แต่มีเรื่องนึง ที่ผมสงสัยอยู่ตลอดเลย สงสัยมาจะสิบปีแล้ว แต่ไม่มีเวลาไปค้นหาซะทีก็คือ ถ้าเราไม่ได้ใช้เทคโนโลยี AJAX แล้วเราจะให้ Javascript มันต่อเชื่อมกับฐานข้อมูลยังไงล่ะเนี่ย ไม่รู้จริง ๆ!!!

ป.ล. ผมจำได้ว่าผมเคยแจก e-book Javascript Bible Gold Edition เอาไปอ่านกันหรือยังล่ะ? จะได้เก่ง ๆ

[tags]JavaScript,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ปรสิต,MyBlogLog,Technorati,Google Analytics[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “ปรสิต

  1. เห็นด้วยครับพี่

    จิงๆแล้ว javascript ยังสร้างอะไรใหม่ๆให้วงการได้อีกเยอะ
    อยากเห็นเด็กไทยนักพัฒนารุ่นใหม่ทำอะไรสร้างสรรค์ออกมาครับ

  2. จนถึงป่านนนี้ ยังไม่ได้ศึกษา AJAX เลยอะ รู้ว่ามันเกิดขึ้นมาช่วย JS แต่มันเขียนยังไง ก็ยังไม่เคยลองสักที

  3. จริงๆ แล้ว หลักๆ ของ AJAX คือ asynchronous ครับ เพราะฉะนั้น จะใช้ vbscript แทน javascript หรือจะไม่ใช้ xml ไปใช้ plain text หรือ json ก็ยังถือเป็น AJAX อยู่ครับ (ไม่เห็นมีใครเรียก AVAJ — Asynchronous VBScript And JSON เหอๆ) อ้อ แล้วมันก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน XHR (xmlHttpRequest) ด้วยนะครับ จะใช้ script tag หรือ iframe ก็ไม่ว่ากัน หลากหลายเทคนิคมาก แล้วแต่ความเหมาะสม และความขี้เกียจของคนอิมพลีเมนท์

    ส่วน ANSI C ขอตอบคุณ pete ว่า มันคือภาษา C ธรรมดานั่นแหละครับ แต่ว่าถูกกำหนดเป็นมาตรฐานโดย ANSI ก็เลยถูกเรียกว่า ANSI C

    ปล. คือแต่ก่อน C ของแต่ละค่าย (microsoft, borland,…) มันจะต่างกันนิดหน่อยครับ เพิ่มเติมส่วนพิเศษเข้าไป ทาง ANSI เลยจัดการทำมาตรฐานขึ้นมา คล้ายๆ กับ W3C HTML นั่นหล่ะ

  4. คุณ iPAtS มาตอบให้แล้วครับคุณ pete ^o^

    ผมก็ยังไม่เป็นโล้เป็นพายเหมือนกันเลยครับคุณ PatSonic กับเรื่อง AJAX เนี่ย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *