การจะให้บริการ SaaS นั้นต้องคำนึงถึงโฮสติ้งเป็นอันดับแรก ๆ ครับ สิ่งที่ผมคำนึงถึงก็คือ ความเร็ว, ความจุ และความกว้าง

  • ความเร็วคือต้องส่งบริการถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราให้เร็วที่สุด
  • ความจุคือต้องมีพื้นที่มาก ๆ เพื่อเอาไว้วางฐานข้อมูล, สคริปต์ และไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ความกว้างคือต้องมี BandWidth ต่อเดือนเยอะ ๆ ที่มากพอ จะได้ไม่อึดอัดกังวลว่ามันจะเต็ม

ทีนี้โดยความเป็นจริงมันเป็นยังไง

  • โฮสติ้งเมืองไทย ความเร็วสูง, ความจุน้อย และความกว้างน้อย
  • โฮสติ้งเมืองนอก ความเร็วปานกลาง-ต่ำ, ความจุมาก และความกว้างมาก

ปัจเจกบุคคลอย่างผมคิดทำ SaaS เป็นงานอดิเรกครับ ดังนั้นถ้าต้องไปทำความตกลงกับบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตใหญ่ ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งโฮสติ้งความเร็วสูง, ความจุมาก และความกว้างมาก มันก็กระไรอยู่ รอไว้ทำเป็นงานอาชีพหลักเพื่อการยังชีพก่อนค่อยว่ากันอีกทีนึง

งั้นผมก็ต้องมาแก้โจทย์เอง ซึ่งโจทย์ที่แก้ได้คือผมควรใช้โฮสติ้งเมืองนอก เพราะมีคุณสมบัติเด่นที่ผมต้องการสองอย่าง คือความจุมากและความกว้างมาก แล้วแก้ปัญหาเรื่องความเร็ว โดยการค้นหาโฮสติ้งที่อยู่ใกล้กลุ่มเป้าหมายของผมให้มากที่สุด ซึ่งถ้ากำหนดกันอย่างนี้กลุ่มเป้าหมายก็ควรจะเป็นประชากรอินเตอร์เน็ต ที่อยู่ในย่านเอเชียแปซิฟิก พาดจากฟากเอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสเตรเลีย จรดอเมริกา (แต่จริง ๆ ก็สนใจคนไทยเป็นพิเศษนั่นแหล่ะ)

ผมใช้คำสั่ง tracert ในวินโดว์ หรือคำสั่ง traceroute ใน unix เพื่อตรวจสอบระยะทางจากเครื่องผม ไปยังเว๊ปไซต์ปลายทางที่ผมอยากตรวจสอบครับ เพื่อดูว่าคอมพิวเตอร์ผมต้องกระโดดกี่ก้าว ถึงจะไปถึงเว๊ปไซต์ปลายทางที่หมายตาเอาไว้ได้ ซึ่งก็จะเป็นตามภาพข้างล่างเนี่ยอ่ะครับ

HOPS

จะเห็นว่าถ้าเป็นเว๊ปเมืองไทยนั้น ผมจะใช้ระยะก้าวกระโดดเพียงแค่ 6-9 ก้าวก็ถึงแล้ว เพราะเว๊ปเมืองไทยส่วนใหญ่ก็ตั้งอยู่เมืองไทย ส่วนเว๊ปเมืองนอกดัง ๆ จะใช้ระยะก้าวกระโดดตั้งแต่ 15-22 ก้าว

สำหรับเว๊ปที่ผมระบุว่า “ไม่ชัดเจน” นั้น ผมเข้าใจว่าเขามีการทำอะไรบางอย่าง จึงทำให้ไม่ตอบสนองต่อ ICMP ครับ

โดยสรุปแล้ววิธีแก้โจทย์ที่ผมตั้งก็คือ ผมต้องหาโฮสติ้งเมืองนอกที่มีระยะก้าวกระโดดระหว่าง 9-14 ก้าวนั่นเอง

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,tracert,traceroute[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “TraceRoute

  1. อืมเว็บ Pantip นี้แรงจริงๆ ผมเองก็กำลังมองหา Hosting ใหม่อยู่เหมือนกัน เอาแบบแรงๆหน่อย สงสัยต้องพึ่งพี่ไท้แล้วมั้งครับ เจอ Hosting ดีๆ บอกต่อหน่อยเด้อ

  2. ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผมหาโฮสเหมือนกันเลยครับ
    แต่ไม่ใช่เพื่อ SaaS อย่างพี่ไท้ครับ แต่เป็นงานอดิเรกเช่นกัน (gallery รูปและเว็บที่อยู่ในความดูและอีกสองสามที่ครับ)
    ปัญหาของผมคือ ถูกๆ ความเร็วธรรมดา กว้างๆ ที่เยอะๆ รองรับได้หลาย โดเมนในหนึ่ง account

    เป็นไปได้มั๊ยว่า เราจะรวมตัวกันแล้วตั้ง Server เองซะเลย ไม่ต้องไปเ่ช่าใคร เช่าแต่ที่วาง เป็น Server เพื่อคนที่มีงานอดิเรกเป็นเว็บ และหาที่ถูกใจไม่ได้มาลงขันกัน ทำให้งานอดิเรกเราราคาไม่แพงจนเกินไป

    พี่ว่าน่าจะเป็นไปได้มั๊ยครับ?? ว่าแล้วผมก็ลองไปคิดต้นทุนคร่าวๆก่อนดีกว่า

  3. พี่ไท้ครับ, อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเท่าไหร่ แต่คำว่า web สะกดในภาษาไทยมันควรจะเป็น “เว็บ” มากกว่า “เว๊ป” รึเปล่าครับ o__O
    (ผมตามอ่านเรื่อยๆนะครับ แต่ไม่ค่อยได้คอมเม็นต์ แหะๆ)

  4. ทุกท่าน – หลังจากหาไปหามา ก็เจอตัวนี้ครับ http://www.siteground.com ราคาพอเหมาะ ความจุมาก ความกว้างมาก อยู่ห่างจากไทยประมาณ 14 ก้าว

    สะกด “เว็บ”, “เว็ป”, “เว๊บ” หรือ “เว๊ป” ก็ได้ทั้งนั้นมั๊งครับคุณ m3rLinEz ไม่รู้ดิ เพราะหาความชัดเจนไม่ได้เหมือนกัน ดูจาก Google แล้ว พี่ไทยเราก็ทับศัพท์กันได้หลากหลายซะจริง ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *