ถ้าใครเคยเล่นว่าวปักเป้าหรือว่าวจุฬาแล้วล่ะก็ จะพบลักษณะร่วมอย่างนึงนั่นก็คือ ภายหลังจากความเพียรพยายามในการประคองว่าวมาเป็นเวลาหลายสิบนาที ในที่สุดว่าวของเราก็สามารถขึ้นไปติดลมบนอยู่ในระดับสูงได้

พอมันติดลมบนแล้ว เราแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย เอาสายป่านว่าวผูกกับต้นไม้ กลับไปกินข้าวแล้วเข้านอน พรุ่งนี้ตื่นมามันก็ยังติดลมบนอยู่เหมือนเดิม

ฝีมือก็ส่วนหนึ่ง เวลาก็ส่วนหนึ่ง ความยาวของสายป่านก็ส่วนหนึ่ง และลมก็ส่วนหนึ่ง

การทำให้เว๊ปไซต์ดังเป็นพลุแตกติดลมบน ก็คงไม่แตกต่างจากการเล่นว่าวเท่าไหร่นัก ที่ต้องใช้ฝีมือ, เวลา, สายป่าน และกระแสทิศทางเป็นตัวช่วยส่งเสริม

  • SlashDot เองก็ใช้เวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึง พ.ศ. 2542 ก็ติดลมบน
  • Digg เองก็ใช้เวลาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2548 ก็ติดลมบน
  • Youtube ยิ่งแล้วใหญ่ใช้เวลาเพียงแค่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ก็ติดลมบน

การติดลมบนของทั้งสามไซต์มีลักษณะร่วมเหมือนกัน คือให้ใคร ๆ เข้ามาช่วยกันทำให้มันเติบโต ซึ่งดูเหมือนว่าใครคิดก่อน, เริ่มก่อนจะได้เปรียบกว่า เพราะถึงแม้จะมีผู้ลอกเลียนแบบ แต่ยังไงก็สู้กับต้นฉบับไม่ได้ เพราะต้นฉบับมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งกว่ามาก

ตอนเด็ก ๆ ซักประมาณประถมศึกษาปีที่สาม ผมกับเพื่อนสองคนเคยเล่นต่อแถวเป่ายิ้งฉุบตอนพักกลางวัน ตอนแรกเราก็เป่ายิ้งฉุบแย่งที่นั่งกันอยู่แค่สองคน จากนั้นก็มีเด็กคนอื่นมาขอเล่นด้วย เผลอแป๊ปเดียวแถวเป่ายิ้งฉุบก็ยาวหลายสิบคน

เราสองคนปลีกตัวกันออกไปเล่นที่อื่น เป่ายิ้งฉุบแย่งที่นั่งกันได้แป๊ปเดียว ก็มีเด็กคนอื่นมาขอเล่นด้วยอีก พอหมดพักกลางวัน เราสามารถสร้างแถวเป่ายิ้งฉุบได้สามแถวแน่ะ!!!

จากประสบการณ์ตอนเด็กทำให้ผมรู้ว่า ถ้าจะทำให้เว๊ปไซต์แบบ Social Networking แบบ SlashDot, Digg หรือ YouTube ติดลมบนได้ มีอยู่วิธีเดียวนั่นก็คือ มันต้องเริ่มต้นก่อตั้งด้วยคนหลาย ๆ คนขึ้นไป ทุกคนช่วยกันละเลงข้อมูลเข้าไปในนั้น ทำทุกวันวันล่ะหลาย ๆ ครั้ง ถึก ๆ ทำไปเรื่อย ๆ และก็ทำไปเรื่อย ๆ

ทำคนเดียวไม่ได้ เพราะมันจะไม่ติดลมบน มันเหมือนกับเรานั่งเป่ายิ้งฉุบกับตัวเอง ยากนักที่จะมีคนสนใจมาขอต่อแถวเล่นเป่ายิ้งฉุบกับเราด้วย

สุดท้ายจะเริ่มมีคนเข้ามาช่วยกันละเลง คนจะเข้ามามากขึ้น มากขึ้น จนสุดท้ายผู้ก่อตั้งหลาย ๆ คนนั้น ไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีกแล้ว ทำหน้าที่แค่ปรับปรุงระบบพื้นฐานก็พอ

มันไม่ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอะไรเลยจริง ๆ ใช้แรงคนล้วน ๆ กลไกของระบบอีเมล์ยังยากกว่าอีก

บล็อกของผมก็เป็น Social Networking ไม่ได้เหมือนกัน เพราะผมละเลงอยู่คนเดียว ชาตินี้ก็ไม่มีทางติดลมบนได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม มันเสียบ SaaS เข้ามาในบล็อก แล้วเป็น SaaS ที่สนับสนุน Social Networking ได้ ก็ไม่แน่ว่าเมื่อถึงตอนนั้น บล็อกนี้ก็อาจจะมีโอกาสติดลมบนได้เหมือนกัน โม้จริง ๆ

[tags]ว่าว,ว่าวจุฬา,ว่าวปักเป้า,ติดลมบน,slashdot,digg,youtube,social networking[/tags]

Related Posts

12 thoughts on “ติดลมบน

  1. ผมเพิ่งจะเห็นความสำคัญของ Social Networking ก็จากบทความนี้แหละ ผมจะทำเวบของผมให้ติดลมบนกะเขาบ้าง

  2. อืม บล๊อกนันนี่คงติดลมบนในไทยไปแล้วหละ
    ว่าแต่พี่ไท้จะทำ SaaS ไรไปติดลมบนหนอ

  3. สู้ ๆ ครับคุณ w@i.pot อิ อิ ^o^ เชียร์ไปเรื่อย

    คิดว่าบล็อกนันยังไม่สามารถติดลมบนตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งได้อ่ะครับคุณ Crucifier คุณ nat3 อันนี้เป็นการโม้ของผมนะ อย่าเชื่อล่ะ เพราะถึงแม้คุณ mk จะแจ้งว่ามีคนเข้าบล็อกเป็นพัน ๆ UIP ต่อวันแล้วก็ตาม แต่เราก็จะพบว่า คนที่โพสต์ข่าวเป็นหลัก ก็ยังมีแต่คุณ mk กับคุณ lew อยู่ดี

    สามารถสื่อสารกับผมผ่านบล็อกได้ครับคุณ petezzz การสื่อสารของเราจะให้วิทยาทานกับทุก ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านครับ

    ผมยังนึกไม่ออกเลยครับคุณ nat3 ว่าจะทำ SaaS อะไร ^o^ ก็บอกแล้วไงว่าบล็อกนี้เป็นบล็อกที่โม้แต่เรื่อง SaaS ไม่ใช่บล็อกที่ทำ SaaS ซะหน่อย อิ อิ

  4. ขอบคุณครับ ตอนนี้ผมศึกษาในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

    ผมคิดว่า เดี๋ยวนี้ครับ ไม่มากก็น้อย ว่าเด็กที่เอนท์เข้ามาใน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ไม่ทราบว่าศึกษาเกี่ยวกับอะไรครับ มีวิชาอะไรบ้าง โดยส่วนมากก็คือจะรู้ว่าเรียนเกี่ยวกับคอมแค่นั้น

    ผมก็เลยเสนอไปว่าเราน่าจะมีค่ายของมหาลัยเรานะ แนะแนวน้องเบื้องต้นว่า เราเรียนแบบนี้ สอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้

    สรุป โครงการผ่านครับ ผมได้รับตำแหน่งหัวหน้าทีมวิชาการ ปัญหาคือผมไม่รู้จะวางตารางยังไงว่า เราควรพูดเรื่องอะไรบ้างครับ แหะๆ

    ปล. ผมมีอีกคำถามผมอยากทำเกมจำพวก text based game ครับ ช่วยแนะนำในเบื้องต้นได้ไหมครับ ?

  5. ถ้าจะทำแบบติดลมบนนั้น จะต้องหาคนที่เขียนแนวเดียวกัน และต้องเสียสละ ช่วยกันเขียนขึ้นมา โดยอาจจะไม่หวังผลตอบแทน (หรือแบ่งส่วนที่ได้อย่างยุติธรรม)

    แต่ก็ต้องบอกแนวทางและอนาคตที่เห็นถึงความสำเร็จจริงๆก่อน ถึงจะชวนคนเขียนได้ง่ายๆ

    เพราะทุกวันนี้ผมเห็นนอกจาก blognone ที่แชร์กันอย่างจริงจังแล้ว
    Zickr-บางทีจะลิงค์ให้เข้าเวบของสมาชิกเอง
    Kudd – สมาชิกยังน้อยอยู่ ส่วนใหญ่เจ้าของเวบ feed เอา

  6. คุณ petezzz ได้เป็นหัวหน้าทีมวิชาการ!!! ^o^ คุณ petezzz เป็นเสือซ่อนเล็บครับ จริง ๆ มาถึงระดับนี้ได้ย่อมมีจินตนาการสูงกว่าคนรุ่นเดียวกันอยู่แล้ว แต่ถ้าให้ผมแนะ ผมก็จะแนะว่าตารางสัมมนาดังกล่าว ควรจะอธิบายให้น้อง ๆ เข้าใจถึงเหตุและผลของการเรียนคอมพิวเตอร์ รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว ที่สำคัญต้องย้ำผลประโยชน์ครับ ย้ำให้หนัก ๆ เลย มนุษย์เราเมื่อมีผลประโยชน์แล้วจะเคลื่อนไหวได้ดีครับ

    ส่วนเรื่องเกมส์ text based คงต้องรอคุณ xinexo มาตอบกระมัง รายนั้นเป็นเซียนด้านนี้ ผมเองยังนั่งเล่น Travian เพราะได้รับการแนะจากคุณ xinexo เหมือนกัน

    บล็อกคุณ chakrit ไม่มี feed อ่ะ งี้เอาเปรียบนี่นา ผมก็อ่านผ่าน Feed Reader บ้างไม่ได้อ่ะดิ T-T

    ไม่รู้ http://www.seedang.com/ จะใช่แบบ Digg หรือเปล่านะคุณ Catkun เห็นอันนี้เน้น Digg พวกคลิปวีดีโออย่างเดียวเลยอ่ะ

  7. ถ้าในแง่ของ Social Network แล้ว BN คงอยู่แค่ช่วงเริ่มต้นเท่านั้นล่ะครับ บ้านเรายังไม่ชินกับแนวทางที่ว่า “ถ้าเห็นว่าไม่ดี ก็ลงมือแก้”

    หลังๆ มานี้อัตราส่วนบทความของผมและ mk ก็ลดลงเรื่อยๆ จนหน้าแรกจะเหลือที่ประมาณ 50-70% แล้วแต่ช่วง วันหนึ่งถ้าเราเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมกันมากขึ้นเรื่อยๆ

    ผมว่าสังคมไทยกำลังเรียนรู้นะครับ ช่วงนี้เราเหมือนอยู่ในยุคสามสี่ปีที่แล้วของเมืองนอก ที่เหล่า Social Network เพิ่งเริมเกิด

  8. สวัสดีค่ะ
    หนูอยู่ชั้น ม.1 หนูต้องประดิษฐ์ว่าวเตตระฮีดรอน ส่งครู พร้อมทั้งอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการขึ้นของว่าวนี้ว่าขึ้นได้อย่างไร หนูก็พอจะเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงดันลมและความกดอากาศแต่ไม่ทราบจริงๆ ค่ะว่า แรงดันตรงด้านไหน แรงต้านตรงด้านไหน กดอากาศอย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์หรือรุ่นพี่ที่เข้าใจกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะตอบทางเมล์ก็ได้นะคะ yuwan.wani@hotmail.com
    หนูขอขอบคุณมากค่ะ
    เจินจู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *