หลักสูตรการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในไทย

เมืองไทยกำลังค่อย ๆ ก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมครับ ถึงจะค่อย ๆ ก้าวอย่างเชื่องช้าก็เถอะ และก็อย่างที่ผมเคยบอกเอาไว้ครับว่า อุตสาหกรรมในอนาคตทั้ง 5 อย่าง อันประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์, อุตสาหกรรมอวกาศ, อุตสาหกรรมสมุทรศาสตร์, อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่เมืองไทยเราต้องก้าวเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดกับเขาด้วยเหมือนกัน ไม่เข้าร่วมไม่ได้

ทีนี้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ซึ่งถือเป็น sub-set ของอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ก็เลยจำเป็นต้องร่วมสังฆกรรมไปกับเขาด้วย เฮไหนเฮนั่น

การที่เราจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ ส่วนหนึ่ง เอ๊ะ ไม่ใช่สิ ต้องบอกว่าส่วนใหญ่ต่างหาก ส่วนใหญ่จะพัฒนาได้ต้องมาจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเรา แล้วนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเรามาจากไหนล่ะ อ้อ ก็มาจากการเป็นบัณฑิต ซึ่งถูกผลิตออกมาจากสถาบันการศึกษา ที่เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไง

อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ครับ ว่าเมืองไทยเรานั้นมีการเปิดการเรียนการสอน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ 3 สาขาใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

ผมเคยได้เล่าถึงบทบาทของทั้ง 3 สาขาไว้แล้ว ในบทความ Computer Engineering vs Computer Science และ นักปรุงแต่งข้อมูลข่าวสาร

คราวนี้ผมจะให้ความสนใจในรายวิชาครับ เพราะถึงแม้ทั้ง 3 สาขาวิชาจะมีหลักสูตรการเรียนการสอน ที่โน้มเอียงไปยังพันธกิจของตนเองเป็นสำคัญ แต่ทว่า ทั้ง 3 สาขาวิชากลับมีการเรียนการสอนรายวิชาแกนบังคับที่เหมือนกันในหลาย ๆ วิชา ซึ่งผมจะเอามาแจกแจงให้ดูกัน

สิ่งที่ผมจะแจกแจงก็คือ ผมจะชี้ให้เห็นว่ารายวิชาแกนบังคับที่ทั้ง 3 สาขาเรียนร่วมกันนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการทำตำแหน่งงานอะไรในองค์กรหรือบริษัทบ้าง

หลักสูตรวิชาแกนบังคับของสาขาคอมพิวเตอร์

บางคนอาจจะบอกว่า ไม่จริงอ่ะ ผมทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่ผมก็ต้องใช้วิชา System Analyst And Design เพื่อออกแบบระบบเหมือนกัน … มันก็จริงครับ แต่ถ้าคุณออกแบบระบบจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่คุณมีตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ นั่นก็หมายความว่าคุณกำลังทำงานในส่วนหนึ่งของตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบอยู่ต่างหาก

เหมือนอะไรดีนะ อ้อ เคยเล่นเกมส์ Final Fantasy ไหมครับ เหมือนกับว่าคุณมีอาชีพเป็น “พ่อมดดำ” ไง แต่คุณก็สามารถใช้มนต์ของ “พ่อมดน้ำเงิน” บางอย่างได้อ่ะ แบบนั้นแหล่ะ

เอาล่ะ ขยายความหน่อยดีกว่า ว่าทำไมวันนี้ผมพยายามโน้มน้าวเข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ คือผมจะบอกว่า หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ที่สอนกันในสถาบันการศึกษา มันไม่พอครับ หากเราจะก้าวหน้าให้ทันโลก

ความเจริญมันก้าวหน้าไปเร็วมาก เร็วมาก ๆ ยิ่งมีอินเตอร์เน็ตยิ่งเร็วใหญ่ หลักสูตรการเรียนการสอนเองก็ควรก้าวให้ทันเช่นกัน

ปัจจุบันเราจะพบว่า geek คอมพิวเตอร์ของเมืองไทย ล้วนเรียนจากนอกห้องเรียนทั้งสิ้น!!!

มันจะเป็นการดีมั้ยน้อ ถ้าประเทศไทยเราจะมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ให้ก้าวทันโลกซะหน่อยนึงอ่ะ

[tags]หลักสูตร,คอมพิวเตอร์,วิศวกรรมคอมพิวเตอร์,วิทยาการคอมพิวเตอร์,เทคโนโลยีสารสนเทศ,ตำแหน่ง,หน้าที่[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “หลักสูตรการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในไทย

  1. ก็จริงครับ geek ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนในห้องทั้งนั้น ^^
    geek คอมพิวเตอร์บางคน ไม่ได้จบทางสาขา ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เลยก็มีครับ
    (จริงไหมครับ) เท่าที่ผมดูจากตารางคร่าวๆ แล้ว วิศวะกรซอฟแวร์ รู้สึกเหมือนจะกวาดตารางรวดเลยนะครับ (ผมหมายถึงเรียนเกือบหมด) ^^’
    ทำยังไงถึงจะยกมาตรฐานของประเทศไทยได้ครับ ?

    ผมก็อยากเล่าเรื่องหนึ่งให้ฟังเหมือนกันครับ
    ในโรงเรียนที่สหรัฐส่วนใหญ่ วิชาเรียนไม่ค่อยหนักกันหรอกครับ
    (สงสัยใช่ไหมครับว่าทำไม high school บ้านเค้าไม่ค่อยเรียนหนักเลย)
    ผมก็สงสัยครับ(อ้าว!) อยู่นี้ เค้ามีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “คลิก” (ผมสะกดไม่เป็นครับ)
    คลิก เหมือนกับชุมชนนักเรียนที่สนใจด้านใดด้านหนึ่ง(ด้านเดียวกัน) คลิกมักจะเกิดตอนช่วงรับประทานอาหารกลางวัน ครับ พวกที่ชอบด้านเดียวกันมักจะไปชุมชุมกัน เช่นคลิกดนตรี (ผมอยู่คลิกคอมครับ) ผมพบว่านักเรียนหลายคนที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์ ได้(improve ทักษะด้านคอมพิวเตอร์) ความรู้จาก ชุมชนคลิก มากกว่าอยู่ในห้องเรียน อย่างน้อย 10 เท่า (ไม่ล้อเล่น) เหมือนกับว่า เราสนใจด้านนี้ เราก็ไปคลุกกับเค้า เดี่ยวก็มีพวกขี้อวดมาสอนเรา หรือไม่ก็ geek มาสอนเรา (โม้กันไปโม้กันมา)แต่มันได้ความรู้หนะครับ

    แต่ไม่ได้หมายความว่า ชุมชนคลิกทุกชุมชนจะดีไปซะหมดนะครับ (ขึ้นอยู่กับว่าคุณไปอยู่คลิกไหน)
    ที่ผมอธิบายมาถ้าไม่เข้าใจก็ ถือว่าผมพูดเล่นก็แล้วกันครับ

  2. คงต้องสร้างหลักสูตรใหม่ หรือปรับเปลี่ยนหลักสูตรเดิม ให้ก้าวทันเทคโนโลยใหม่ๆีกันมากขึ้นล่ะครับ

  3. ่น่าจะมีการปรับปรุงหลักสูตรไหม่พอสมควร
    เพราะผมรู้สึกได้ว่ามันค่อนข้างที่จะกว้างมากเกิน จนไม่ได้ทำให้เราถนัดอะไรซักอย่าง
    ควรให้เด็กเลือกได้ว่าจะไปสายไหน แล้วก็เน้นไปเลยครับสอนทั้งคอนเซ็ปและปฏิบัติ(Tool) วิธีแก้ปัญหาน่าจะอยู่ตรงที่แก้หลักสูตรไหม่ในบางส่วนและสนับสนุนทุนไปสร้างอาจารย์ให้ตรงก่ะหลักสูตรไหม่ที่ออกมา อาจารย์ยิ่งเก่งเท่าไหร่ลูกศิษย์ก็จะเก่งตามได้มากขึ้นเท่านั้น คำว่าคุณต้องไปศึกษาเอาเองผมก็ชอบมันน่ะ แต่ผมไ่ม่ชอบเหตุผลของคนที่พูดในบางครั้ง(เพราะเค้าไม่รุ้เค้าเลยให้เราไปหาเอง ไม่ต้องมาถามกู)

  4. เพื่อนผมเคยไปเล่ารุ่นน้องว่าภาคเราสอนเด็กเหมือนสิงโต คือเตะตกหน้าผาไปแล้วให้มันไต่ขึ้นมาเอง 😛

    สมัยเรียนมีวิชาโปรแกรมมิ่ง 2 ภาษาเองครับ คือ ปาสคาลกับซี (ไม่รวม assembly นะ) ตอนนั้นก็สงสัยว่าทำไมจารย์ไม่มีปัญญาสอนจาวาวะ (ตอนนั้น C# ก็เริ่มนิยมแล้ว) มารู้คำตอบตอนหลังๆ ว่าเราสอนคอนเซปต์ สอนวิธีหาความรู้ด้วยตัวเอง เพราะวิชาพวกนี้สอนไปก็ล้าสมัย

    ไม่รู้ว่าเป็นคำตอบที่เท่หรือไม่รับผิดชอบกันแน่

  5. ที่อ่านมาทั้งหมด เข้าใจครับคุณหมี คุณหมีเขียนด้วยไวยากรณ์ภาษาไทยที่ชัดเจนทุกพยางค์ครับ อ่านแล้วเข้าใจง่าย

    น่าจะเป็นอย่างงั้นครับคุณเดย์ หรือไม่ก็ … ให้คนจบคอมพิวเตอร์ เรียนซัก 6 ปีแล้วค่อยจบเหมือนหมอดีมั้ยคุณ memtest ผมว่าไม่เลวนะ ให้เขาให้ความสำคัญกันเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย อย่างสถาปัตย์เขายังต้องเรียนกันตั้ง 5 ปีแน่ะ

    ที่มหาวิทยาลัยเกษตรฯ สอนแบบสิงโตเตะลูกตัวเองตกหน้าผาได้อ่ะครับ เพราะที่นั่นเป็นมหาวิทยาลัย Top ของประเทศ นิสิตที่นั่นถือว่าอยู่สูงกว่าเส้นมาตรฐานแล้ว แต่ที่อื่นคงทำแบบนั้นไม่ได้อ่ะคุณ mk ขืนทำแบบนั้นคงได้อดตายกันก้นเหวหมดแหง ๆ 😛 ท่านอาจารย์เองก็อยากเท่ห์เหมือนกันนะผมว่า 🙂

  6. แอบอ่านบล็อกของคุณพี่ไท้มานานแต่ไม่เคยตอบ ก็ขอออกความเห็นบ้า่งนะครับ

    อันนี้ผมคิดว่า หลักสูตรการเรียนการสอนมันเน้นไปทางการทำงานในลักษณะของงานวิจัยมากกกว่า
    หลักสูตรที่เน้นพวกการวิเคราะห์ออกแบบระบบรึเปล่าครับ อันนี้ผมคิดของผมเองนะเพราะ
    ที่ผมเรียนมา ก็เป็นในลักษณะของการสอนแนวคิดกว้าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ
    สาขาเฉพาะ ก็ไม่ได้เน้นในลักษณะของการนำไปใช้ในการออกแบบระบบมากมายเท่าไหร่

    ซึ่งก็เป็นปัญหารึเปล่าว่าสถาบันต่าง ๆ ต่างก็มี “เป้าหมาย” ในการผลิตบัณฑิตที่แตก
    ต่างกัน ก็เลยทำให้กลายเป็นว่าไม่ได้ตอบโจทย์ของตลาดเท่าไหร่

    ผมไม่ได้มองว่าสอนไม่พอน่ะครับ แต่มองว่า Agenda ในการผลิตบัณฑิตนั้นไม่ตรง
    ตามที่ตลาดต้องการเสียทีเดียวมากกว่าน่ะครับ

    อีกหนึ่งความเห็นครับ

  7. น่าจะเป็นอย่างนั้นอ่ะครับคุณเอกรินทร์ เท่าที่ทราบนะ พอผมโตขึ้นมาเพิ่งจะรู้ ที่รู้มาก็คือ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะมี “วิสัยทัศน์” และ “พันธกิจ” ของตนเองครับ แบบว่าประกาศกันชัดเจนเลย ว่าจะผลิตบัณฑิตออกมาเพื่อรองรับสิ่งใด

    อย่างบางสถาบันเขาก็ประกาศว่าเขาจะผลิตออกมาเพื่อธุรกิจ, บ้างก็บอกว่าจะผลิตออกมาเพื่อเป็นกำลังสำคัญทางการศึกษา ก็คือออกมาเป็นครู และบ้างก็บอกผลิตออกมาเพื่อเน้นทางด้านวิศวกรรมเป็นต้น

    อันนี้ก็คงต้องขึ้นกับ “วิสัยทัศน์” และ “พันธกิจ” ด้วยอ่ะครับ

  8. Pingback: www.kudd.net

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *