ระดับของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็มีหลายระดับเหมือนกันนะครับ ผมว่านะ ทุกคนมัวแต่เรียนหนังสือหรือทำงานหรือเอาแต่ให้ความสนใจกับวิชาความรู้ทางคอมพิวเตอร์กัน เลยไม่ค่อยได้สังเกตุที่จะจัดระดับของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ซักเท่าไหร่ ผมเลยว่าวันนี้จะจัดให้ดู

>

จากภาพนะ จะเห็นว่าผมจัดระดับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกเป็น 5 ระดับ โดยการแทนด้วยศักดินาของเจ้าและขุนนางของพวกยุโรป โดยผมแบ่งเป็นดังนี้

  1. Emperor คนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มเล็กที่สุดของสังคมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ พวกเขามีบทบาทในการชี้นำทิศทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ พวกเขาไม่ใช่นายทุนนะอย่าเข้าใจผิด จริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ออกมา ตัวอย่างของสิ่งที่คนพวกนี้คิดค้นก็ได้แก่ ไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ, กลไกการเข้ารหัสถอดรหัส, กลไกการรับส่งข้อมูล, มาตรฐานที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร RFC เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้เขียนพิมพ์เขียวทางซอฟต์แวร์ ซึ่งพิมพ์เขียวดังกล่าว ไม่เคยเกิดขึ้นในโลกมาก่อน
  2. King กลุ่มคนระดับนี้มีบทบาทหลักในการสร้าง Prototype เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ที่คนระดับ Emperor คิดค้นออกแบบขึ้นมา เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่คิดค้นขึ้นนั้นสามารถทำได้จริง สามารถทำซ้ำได้ และได้ผลลัพท์ที่เหมือน ๆ กันทุก ๆ ครั้ง คนเหล่านี้ก็ได้แก่บรรดาคนที่สร้างคอมไพเลอร์ต้นแบบ, สร้างซอฟต์แวร์ต้นแบบต่าง ๆ เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้ทำให้ทฤษฎีทางซอฟต์แวร์กลายเป็นของที่ใช้ได้จริงขึ้นมา
  3. Prince ส่วนใหญ่แล้วคนระดับนี้จะเป็นบริษัทเอกชน หรือไม่ก็บรรดากลุ่มคน open source ที่เห็น Prototype ต่าง ๆ ซึ่งพิสูจน์โดยคนระดับ King แล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้จริง คนเหล่านี้จะเลือกเอา Prototype ต่าง ๆ มาประกอบกันแล้วสร้างเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปขึ้นมา เพื่อนำมาแจกจ่ายหรือขายต่อไป ผลงานของคนเหล่านี้ก็มีเยอะแยะเช่น WordPress, JoomLa, FileZilla, .NET Framework, Apache, DirectX, Linux เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้สร้างซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน และได้รับการยอมรับโดยคนทั่วไป
  4. Duke กลุ่มคนระดับนี้เรียกได้อีกอย่างนึงว่าเป็นนัก Customize ครับ พวกนี้ก็คือคนอย่างพวกเราเนี่ยแหล่ะครับ ไม่ต้องมองไปไกลเลย คนเหล่านี้จะมีทักษะในการปรับแต่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน ที่ถูกสร้างเอาไว้แล้วโดยคนระดับ Prince สิ่งที่คนกลุ่มนี้จะทำก็คือเรียนรู้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปแล้วก็ปรับแต่งให้เหมาะสมตามแต่กรณี เช่น กลุ่มผู้พัฒนา Thai Linux ที่ปรับแต่ง Linux ให้เหมาะกับภาษาไทย, กลุ่มผู้พัฒนา Thai CMS ที่ปรับแต่งซอฟต์แวร์ประเภท CMS แบบไทย ๆ, กลุ่มผู้พัฒนา Plugins สำหรับใช้กับ WordPress เป็นต้น จริง ๆ จะบอกว่าโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย ที่เขียนซอฟต์แวร์โดยใช้ IDE หรือ คอมไพเลอร์ต่าง ๆ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มคนระดับนี้เหมือนกัน ดังนั้นคนระดับนี้เลยเป็น ผู้ปรับแต่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน ให้ได้ผลลัพท์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
  5. Knight ผมไม่รู้จะบอกไงดี แต่คนพวกนี้ก็คือ Power User ทั่วไปนั่นแหล่ะ ที่อาจจะเรียนจบคอมพิวเตอร์ หรือไม่ได้เรียนจบคอมพิวเตอร์มา พวกเขาใฝ่ดี, มุ่งมั่น, ขยัน และพยายาม ที่จะเรียนรู้ใช้งานซอฟต์แวร์ที่สร้างโดยคนระดับ Prince หรือเรียนรู้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งโดยคนระดับ Duke ซึ่งถ้าแปลความหมายแบบนี้ คนเหล่านี้ก็คือ คนทั่วไปที่ได้มีโอกาสใช้ซอฟต์แวร์นั่นเอง

เมื่อแบ่งแบบนี้แล้ว ก็จะเห็นภาพระดับนึงแล้วเน้อะ ว่าคนที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เขามีกันกี่ระดับกัน ทีนี้ดูตารางข้างล่างดีกว่า ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเรา ส่วนใหญ่อยู่ระดับไหนกัน เทียบกับระดับโลกนะ

ก็อย่างที่เห็นอ่ะครับ อันนี้เป็นความจริง พวกเราอยู่กันระดับล่าง ๆ อ่ะ ก็คงต้องยกระดับตัวเองกันต่อไป 😛 ผมหวังนะว่าซักวันนึง คนไทยอย่างพวกเรา คงจะมีใครซักคนที่เก่งมาก ๆ จนเป็นระดับ Emperor ผู้ซึ่งมีบทบาทในการคิดค้นทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ในอนาคตครับ 🙂 สู้ ๆ ครับ

[tags]emperor,king,prince,duke,knight,ระดับ,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,คนไทย,ระดับโลก[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “ระดับของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

  1. ประเมินตัวเองออกมาได้ อยู่ระหว่าง Knight กับ Duke ครับ (ลูกครึ่ง) เส้นทางนี้ต้องพัฒนาตัวเองอีกเยอะ ก็ได้แหล่งความรู้จากพี่ไท้นี่แหละครับ ประเทืองปัญญา

  2. ตอนนี้ผมน่าจะอยู่แค่ Knight เองครับ แต่ก็ฝันที่จะเป็น Emperor เพื่อประโยชน์แห่งโลก
    ถ้าผมจะเรียกระดับ Emperor ของพี่ไท้ว่า Hacker (ความหมายตอนยุคแรกๆนะ ไม่ใช่รวมกับ Cracker เหมือนปัจจุบัน) คงจะไม่ผิดใช่ไหม

  3. ผมเองประเมินตัวเองแล้ว ก็คาดว่าคงอยู่ประมาณ Duke มือใหม่

    ผมเคยฝันอยากจะอยู่ระดับ Emperor นะครับ ตอนสมัยเรียน พอทำงานๆนานๆ
    เข้าก็รู้เรื่อยๆว่าเป็นไปได้ยาก . . คือไม่ใช่เป็นไปได้ยาก แต่เป็นไปได้ยาก

    เหมือนกับ Blog ก่อนๆ ของ Peetai เกี่ยวกับของความลับ ว่ามีหลายระดับ
    ระดับที่เรามีโอกาสได้ศึกษานี่ ผมมองว่าเป็นความลับในระดับสร้างชื่อเสียง
    สำหรับคนที่คิดค้นครับ ไอ่ที่ลึกซึ้งจริงๆนี่ผมคิดว่าเค้าไม่ปล่อยให้เรารู้จริงๆ
    แต่ผมก็เข้าใจนะ ก็เค้าใช้เวลานาน ทดสอบนาน กว่าจะได้ผลลัพธ์ แล้วอยู่ดีดี
    ให้เอาสรุปทั้งหมดมาให้เรา Get โดยไม่มีต้นทุนแบบนี้ มันก็ทำใจลำบากอยู่

    สำคัญที่สุดก็ไม่พ้นเรื่องกำแพงภาษาครับ หลายต่อหลายคนมีปัญหาเรื่องภาษา
    ก็เลยเป็นได้แค่ Duke ไปไม่ถึง Emperor เพราะเราอ่านรู้เรื่อง แต่อ่านไม่เข้าใจ
    จะพูดยังไงดี ก็จับใจความได้ แต่ไม่สัมผัสถึงความลึกซึ้งของถ้อยคำ . . .

    พร่ามซะยาวเลยนะผมเนี่ย . . .

  4. ช่วงนี้ผมไม่ค่อยมีไอเดียอะไรเท่าไหร่เลยครับ คงต้องหาความรู้จากที่อื่น ๆ มาประกอบ ๆ หน่อยเหมือนกันอ่ะครับคุณเดย์

    จริง ๆ เรียกอะไรก็ได้อ่ะครับคุณโอ ตอนแรกนะ ผมกะว่าจะใช้บรรดาศักดิ์ของไทยซะหน่อย แต่กลัวจะถูกตำหนิเอา เลยเปลี่ยนไปจัดลำดับด้วยยศศักดิ์ของยุโรปโบราณดีกว่า

    ถ้านี่เป็นเกมส์นะคุณ kong ระดับ knight น่ะไม่เท่าไหร่หรอก ต้อง paladin ครับ ถือ item ได้เยอะกว่า ฮิ ฮิ ^o^

    ยินดีต้อนรับครับ Mr. Stamp คุยยาว ๆ ได้ครับไม่มีปัญหาอะไร ผมอ่ะรู้มาตลอดแหล่ะ ว่าคนไทยเราเก่ง ๆ เยอะ จะติดขัดนิดหน่อยก็การลำดับการถ่ายทอดเท่านั้นเอง ดังนั้นยิ่งเยอะยิ่งดีครับ เขียนแล้วนึกถึงคุณ memtest แฮะ รายนั้นก็เขียนยาวเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้

  5. ว้าว…เห็นภาพอย่างชัดเจนเลยครับงานนี้ ผมว่าพี่ไท้ นำเสนอได้อย่างเหมาะสมเลยทีเดียว เพราะเรื่องซอฟแวร์นี่ต้องบอกว่าไม่มีจุดสิ้นสุดดูอย่าง Microsoft ซิครับไม่จบซักทีไปได้เรื่อย ๆ แถมยังพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยหนะครับ นั่นแสดงให้เห็นว่าเขามีตั้งแต่ Emperor,King,Prince,Duke ตามลำดับไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าหนะครับ.

  6. รู้สึกว่าตัวเองเล็กลงยังไง ยังงั้นเลยครับ
    อยากมี king และ Emperor ที่เป้นคนไทยบ้างครับ
    ก็ยังดีครับ
    แต่ก็ทำให้รู้ว่า เราต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้มีบทบาท
    ในการปกครอบ(หรือครอบครอง หรือควบคุม) ภาษาคอมพิวเตอร์ มากขึ้นครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *