โครงสร้างไฟล์ข้อมูล อัลกอริทึมและการจัดการไฟล์ข้อมูล

โครงสร้างไฟล์ข้อมูล อัลกอริทึมและการจัดการไฟล์ข้อมูลโดยปรกติแล้วคนที่เริ่มเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่า ตนเองต้องฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อติดต่อกับหน่วยความจำหลักเป็นหลัก หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่าติดต่อกับ RAM

บทเรียนตั้งมากมายที่เรียนผ่านไป ก็พูดถึงแต่เรื่องของตัวแปรซึ่งเก็บอยู่ใน RAM ก็หัดกันไปครับ ลองผิดลองถูกกันไป

สังเกตุกันมั้ยครับว่า หลักสูตรทางคอมพิวเตอร์จะจัดให้เรียนวิชาโครงสร้างข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลก่อน แล้วจึงให้เรียนวิชาการประมวลผลไฟล์ข้อมูลทีหลัง

แต่บางที่ก็ให้เรียนมันพร้อม ๆ กันทั้งสองวิชานั่นแหล่ะ เอาให้นักศึกษาที่เรียนงงงวย หัวหมุนติ้วไปเลย ยัดให้เรียนกันเข้าไป

ไม่ว่าศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์จะก้าวหน้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วแก่นแท้ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็คือการที่เราต้องมายุ่งวุ่นวายอยู่กับข้อมูลที่อยู่ใน Virtual Memory และก็ File เนี่ยแหล่ะครับ

ผมซื้อหนังสือนี้มาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ครับ หนังสือเล่มนี้เขียนโดยท่านอาจารย์ที่สอนอยู่ใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เป็นหนังสือเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ข้อมูลที่เป็นภาษาไทยและมีอยู่จ้าวเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น

สมัยนั้นนะ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟล์ข้อมูล หยั่งกับความลับทางทหารเลยล่ะ 🙂 เพราะแทบไม่มีหนังสือเรื่องดังกล่าวพิมพ์ออกมาขายเลย ถ้าจะเรียนก็ต้องไปลงเรียนในมหาวิทยาลัย แล้วในมหาวิทยาลัยท่านอาจารย์ก็สอนด้วยเนื้อหาใน Text Book แถม Text Book ที่ท่านอาจารย์ใช้ ก็ไม่รู้จะไปหาซื้อที่ไหน ก็ต้องฟัง ๆ จด ๆ จำ ๆ ความรู้เอาไว้ (สมัยนั้นการสั่งซื้อ Text Book นี่เหมือนกับการจะไปดวงจันทร์เลยล่ะ 😛 โม้จริง ๆ)

บางคนอาจจะคิดว่าการที่ตนเองเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียง คงไม่ต้องไปอ่านหนังสือที่แต่งโดยอาจารย์ที่สอนในโรงเรียนพาณิชย์ แต่ผมไม่คิดงั้นอ่ะ ผมถือว่าแม้แต่เด็กห้าขวบ ถ้ามีความรู้ในบางเรื่องที่มากกว่าผม ผมก็ยอมให้เด็กสอนผมครับ (ยิ่งถ้าเด็กสาว ๆ อายุ 18 อยากสอนผม ผมยิ่งให้สอนใหญ่ อิ อิ เลวซะแล้วมั้ยล่ะ :-P)

[tags]โครงสร้างไฟล์ข้อมูล,อัลกอริทึม,การจัดการไฟล์ข้อมูล[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “โครงสร้างไฟล์ข้อมูล อัลกอริทึมและการจัดการไฟล์ข้อมูล

  1. ตอนนี้มีหนังสือเรื่องนี้เกลื่อนเลยครับ แต่ว่า ยังติดปัญหาที่ว่า คนไทยเขียนหนังสือไม่ค่อยจะรู้จริงเท่าไหร่ ต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมเอาเองอีก

  2. เรื่องหลายๆเรื่อง อยากรู้ก็หาอ่านไม่ได้อ่ะครับ โชคดีที่ปัจจุบันมี Internet ให้ใช้งานกัน ปมปริศนาของหลายๆเรื่องก็สามารถหาอ่านได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องเช่นกันที่ยังคลุมเคลืออยู่

  3. ไม่อยากจะคุยครับคุณ BigNose เล่มนี้ปกยังใหม่ครับ แต่ถ้าข้างในเปิดจนเหลืองไปหมดแล้ว หนังสือสมัยนั้นเพื่อลดต้นทุน เขาก็เลยใช้กระดาษปรุ๊ฟพิมพ์น่ะครับ จับทีงี้กรอบเลย

    คนเก่งคอมพิวเตอร์มักไม่แต่งหนังสือคอมพิวเตอร์ ส่วนคนแต่งหนังสือคอมพิวเตอร์มันกไม่เก่งคอมพิวเตอร์ครับน้องโอ เอ๊ะ หรือผมมั่วอ่ะเนี่ย?

    คุณ SmileSqure พูดถึงปมปริศนาทำให้นึกถึงโคนันเลยนะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *