การแบ่งงานกันทำ

วันนี้ผมถูกเรียกเข้าประชุมเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลของซอฟต์แวร์ระดับ enterprise หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันครับ เป็นเรื่องที่จริงจังและค่อนข้างต้องทำความเข้าใจกันมากเลยทีเดียว

ในห้องประชุมก็จะมีระดับผู้จัดการ, Team Lead แล้วก็นักวิเคราะห์ระบบครับ ทั้งขององค์กรที่ผมทำงานอยู่แล้วก็ของบริษัทเอกชนที่เราจ้างให้เขาเข้ามาช่วยทำงานให้เรา วิศวกรซอฟต์แวร์กับโปรแกรมเมอร์ไม่ได้ถูกเรียกเข้าด้วยครับ ปล่อยให้ทำงานตามกำหนดการปรกติต่อไป

พอดีองค์กรที่ผมทำงานอยู่ซื้อซอฟต์แวร์และจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำระบบการบริการลูกค้า, ระบบการเงิน และระบบพัสดุให้เรา โดยองค์กรใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาทครับเพื่อการจัดสร้างระบบดังกล่าว ดังนั้นเราจำเป็นต้องเอาระบบใหญ่ระดับยักษ์ของเราที่เดิมมีอยู่แล้วเข้าไปเชื่อมกับของเค้า งานยักษ์ครับ

จุดที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้ก็คือเรื่องของการแบ่งงานกันทำครับ เพราะการที่เราจะเอาระบบขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่เดิมอยู่แล้ว ไปเชื่อมโยงกับระบบขนาดใหญ่ที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่ มันต้องมีงานเกิดขึ้นมากมายครับ เนื่องจากมีจุดต่อเชื่อมอยู่เพียบ เหมือนกับการตัดมือออกแล้วต่อมือใหม่ เราต้องต่อเส้นเลือด, เส้นประสาท, กล้ามเนื้อ, ชั้นผิวหนัง ให้เนียนที่สุดเพื่อจะได้ทำงานได้ต่อไป

ทีนี้งานมันเยอะและเหลื่อมล้ำกัน ดังนั้นก็เลยต้องมาวางแผนและก็กำหนดขอบเขตการรับผิดชอบของตนเองครับ ว่าเราทำเท่าไหร่แล้วกำลังพลของอีกโครงการนึงจะทำเท่าไหร่

โครงการหลายร้อยล้านบาทที่ว่า ได้บริษัทที่มาจากบังกาลอร์เป็นผู้พัฒนาให้ครับ มาจากอินเดียยกชุดเลย ทางเราก็เลยต้องทำการบ้านกันเยอะ เพราะต้องอ่านเอกสารภาษาอังกฤษที่อินเดียทำมาให้ แล้วทางเราก็ต้องทำเอกสารชี้แจงระบบของเราเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน เวลาประชุมก็โชะ ๆ ภาษาอังกฤษตลอด สำเนียงก็โอ้โห ฟังยากชิบเป๋งเลย แต่ก็ฟังรู้เรื่องแล้วเดี๋ยวนี้

จุดสำคัญในการคุยกับแขกอินเดียนะครับแนะนำไว้เลยก็คือ อย่าไปเถียงกับเขาเรื่องการแบ่งงานกันทำในวงประชุมโดยที่เราไม่มี flow เพราะบางครั้งถ้าเราฟังเค้าไม่รู้เรื่อง เราจะเสียทีเค้าได้ ดังนั้นต้องใช้วิธีร่าง context diagram และ work flow เอามาใส่ไว้ใน powerpoint แล้วนำเสนอเป็นภาพ ๆ ไป เพื่อจะทำความตกลงกับเขาโดยการมีภาพประกอบ

ห้ามตกลงกับแขกอินเดียโดยไม่มี work flow หรือ context diagram โดยเด็ดขาดครับ เพราะสองอย่างนี้ถือเป็นอาวุธของนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างเราเลย และที่สำคัญก่อนการประชุมกับแขกอินเดียทุกครั้ง ต้องทำตัวเป็น lobbyist ครับ ต้องหาข่าวก่อนว่าแขกอินเดียคิดจะนำเสนออะไร เพื่อเราจะได้เตรียม work flow หรือ context diagram ไปนำเสนอเพื่อให้สอดคล้องหรือคัดค้านได้ทัน

[tags]แบ่งงาน,แขกอินเดีย,บังกาลอร์[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “การแบ่งงานกันทำ

  1. อืม ผมพึ่งรู้หละครับ ว่าการวางแผนสำคัญมาก ^_^’ จริงไหมครับ
    พอพูดถึงบังการอร์ ผมก็อยากถามพี่ไท้หน่อยหนึ่ง ว่ามหาลัยที่บังกาลอร์ ดีไหมครับ ถ้าเทียบกับประเทศไทย ผมได้ยินว่า เป็นมหาลัยที่ผลิตโปรแกรมเมอร์ดีๆ หลายคน
    อยากถามว่า ถ้าเทียบกับไทย ที่ไหนดีกว่ากัน ครับ

  2. ได้ความรู้อีกแล้วครับ ที่นี่ไม่ใช่แค่การกล่าวถึงเพียงเรื่องของ ซอฟแวร์เท่านั้น แต่มักกล่าวถึงหลักการบริหารจัดการ และ การวางแผนงานต่าง ๆ มากมายซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเรื่องธุรกิจอะไรล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยหลักการเหล่านี้ทั้งสิ้น ตรงนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับ นักบริหาร blog อย่างเรา ๆ ครับ ขอบคุณพี่ไท้อย่างสูง เพราะนี่จะทำให้เรามีวินัยในการนำเสนอ งาน หรือ แผนงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

  3. พยายามทำอยู่เหมือนกันครับ แต่ของผมไม่ถึงระดับนั้น แึึค่ใช้ diagram เวลาจะพรีเซนต์การทำงานของซอฟต์แวร์ มันช่วยให้เห็นภาพรวม และลำดับขั้นตอนการทำงานได้ดีกว่าเขียนบรรยายเยอะ ^^

  4. ผมว่า ก็เหมือนคนไทย พูดภาษาอังกฤษละครับ เพื่อนแขกผมมันบอกว่าฟังยาก ตูกะฟังของตัวเองก็ไม่ออกเหมือนกัน 😛

    รู้จักกันไปนานๆเดี๋ยวก็ชินหูเอง

  5. ผมว่าสำเนียงของเขาทุ้ม ๆ ไงชอบกล รัว ๆ ด้วยครับคุณ panu แต่ที่แน่ ๆ พอคุยด้วยนาน ๆ เข้า สำเนียงผมก็เลยเหมือนแขกไปด้วยเลย แย่ ๆ

    ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาของบังกาลอร์เลยครับคุณหมี รู้แต่ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ของเค้าเก่งชิบเป๋งเลย แค่นั้นเอง

    ผมลอยออกไปในวงโคจรแล้วครับคุณสิทธิศักดิ์ เหอ ๆ ถ้าเป็นผู้หญิงชมนะ จะปลาบปลื้มเป็นเท่าทวีคูณเลยทีเดียว

    สู้ ๆ ครับคุณ kong

    มันไม่ใช่แค่ชินหูน่ะสิครับคุณ rhino มันเล่นซะเราพูดภาษาอังกฤษสำเนียงแขกไปด้วยเลย

  6. คนอินเดียไม่ได้เก่งอย่างที่เราเข้าใจหรอก แต่อาศัยว่าเค้าได้เปรียบหลายเรื่อง อาทิ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทำให้มีแหล่งข้อมูลมหาศาล และยังสามารถใช้สื่อสารกับชาวตะวันตกได้ดีกว่า ส่วนเรื่อง programing เท่าที่เคยได้ฟังจากผู้รู้ท่านหนึ่ง ฝีมือไม่ได้หนี คนไทยเท่าไหร่

  7. เคยมีประสบการณ์ก่ะคนอินเดียมาเหมือนกันครับ
    อาจารย์ผมเองแหละ พูดฟังยากมาก คำ่ว่า”Code” ฟังเป็น”Ghost” จะสอบมิดเทมออยุ่แล้วเพิ่งฟังออก
    อีกอย่างนึงที่อินเดียมีอย่างงี้ครับ หนังสือดีๆๆดังๆๆจะนำออกมาพิมพ์ไหม่
    มีลิขสิทธ์น่ะแต่รุปเล่มจะดูง่ายๆๆใ้ห้กระดาษธรรมดาในการพิมพ์ เพื่อที่จะนำมาขายในราคาที่ถูกลง
    ผมคิดว่าเป็นวิธีน่าสนใจน่ะครับ เพราะหนังสือบางเล่มซื้อมาเพื่อใช้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องการความสวยงาม บ้านเราน่าจะเอาอย่างเค้าบ้าง

    “ถ้าเด็กบ้านเราคลั้ง บิล เกต ,ไลนุส มากกว่าคลั้ง ก๊อฟ ไมค์ ก็คงดี”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *