จังกอบ อากร ส่วย ฤชา ภาษี

อ่านที่ท่านสุมาอี้เขียนไว้เรื่อง บังคับใช้กฎหมายดี ชาติเจริญ แล้วรู้สึกสะท้อนใจยิ่งนัก เพราะมันเป็นเรื่องจริงที่ว่า รัฐประชาชาติใด ๆ ก็ตาม หากก่อตั้งขึ้นมาแล้วไม่สามารถมีอธิปไตยในการ …

  1. ออกและใช้เงินตราประจำชาติเพื่อให้ประชาชนใช้สอย …และ…
  2. เรียกเก็บเงินตราประจำชาติที่ออกใช้ เพื่อนำกลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ในลักษณะของปฏิกิริยาลูกโซ่

…ก็แสดงว่ารัฐประชาชาตินั้น ๆ เตรียมถดถอยหรือไม่ก็ล้มละลายได้เลย!!!

แต่ก่อนจะโม้ในประเด็น ผมขออธิบายก่อนว่าทุกวันนี้ เรามีระบบในการเรียกเก็บส่วย ในแบบไหนกันบ้าง …

1. ลูกหนี้จ่ายให้เจ้าหนี้ และต้องจ่ายส่วยให้กับผู้เรียกเก็บด้วย

ภาษีแบบที่หนึ่ง

2. ลูกหนี้จ่ายให้เจ้าหนี้ แล้วเจ้าหนี้ต้องเป็นคนจ่ายส่วยให้กับผู้เรียกเก็บแทน

ภาษีแบบที่สอง

3. ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ ต้องจ่ายส่วยให้กับผู้เรียกเก็บทั้งคู่

ภาษีแบบที่สาม

4. ผู้เรียกเก็บนั่งหัวโด่ คั่นกลางระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เลย

ภาษีแบบที่สี่

จะเห็นว่าถ้าเลือกได้ ผู้เรียกเก็บส่วยจะชอบที่สุด หากสามารถทำได้ในแบบที่ 4 นั่นคือ นั่งขวางมันทุกช่องทางที่เงินเดินทางผ่าน!!!

แต่ประเด็นก็คือ ช่องทางที่ว่ามันมีหลายช่องทางซะเหลือเกิน ซึ่งถ้าผู้เรียกเก็บเป็นมนุษย์ ก็ไม่แน่ว่าจะเก็บได้ครบได้ทุกช่องทาง ดังนั้น หนทางที่จะแก้ไขเรื่องนี้ได้นั่นก็คือ ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียกเก็บส่วยแทน!!!

และเพื่อให้การปฏิรูปเป็นไปอย่างถอนรากถอนโคน เงินตราจะต้องเปลี่ยนจากธนบัตรกระดาษหรือเหรียญโลหะ ไปเป็นเงินตัวเลขในรูปของบัตรเดบิต หรือจะอะไรซักอย่างหนึ่งที่มันคล้าย ๆ กัน เพื่อให้ระบบเงินตราสอดรับกับระบบการเรียกเก็บส่วยแบบอัตโนมัติได้!!!

เมื่อถึงตอนนั้น รัฐประชาชาติคงจะมั่งคั่งมากขึ้น แต่พวกเราคงจะร้องกันโอดโอยมากกว่านี้แหงม ๆ เลย T-T

[tags]จังกอบ, อากร, ส่วย, ฤชา, ภาษี[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “จังกอบ อากร ส่วย ฤชา ภาษี

  1. แวะเข้ามาอ่าน แบบงง ๆ นิดหน่อย ช่วงนี้ไม่ค่อยได้พักผ่อน อิอิ ………..นอกประเด็นหน่อย สุขสันต์ปีใหม่ครับพี่ไท้ ปีหน้าจะตามอ่านต่อนะครับ ^^

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *