การประกวดราคาเพื่อว่าจ้าง “ผู้สร้างระบบซอฟต์แวร์” หรือ “ผู้ดูแลระบบซอฟต์แวร์”

เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจไม่ดี เอกชนย่อมไม่สามารถที่จะมีอำนาจซื้อได้ ดังนั้น ภาระของการสร้างอำนาจซื้อจึงอยู่ที่ภาครัฐ ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำก็คือ การกระตุ้นการเบิกจ่ายงบฯเพื่อนำไปใช้จ่ายตามหน่วยงานรัฐต่าง ๆ โดยหวังว่าการที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้มีอำนาจซื้อซะเอง จะทำให้กลไกเศรษฐกิจของประเทศสามารถจะขับเคลื่อนไปได้!!!

แต่เนื่องจากการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานรัฐ จำเป็นที่จะต้องทำตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เพราะเงินที่เอามาใช้จ่ายล้วนเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น ดังนั้น เอกชนทั้งหลายที่เป็นผู้ถูกว่าจ้างโดยหน่วยงานรัฐ จึงจำเป็นจะต้องทำตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งก็เป็นเหมือน ๆ กันทุกหน่วยงาน นั่นก็คือ ถ้าไม่ใช้วิธี “ประกวดราคา” ก็ต้องใช้วิธี “ประมูลราคา”!!!

สิ่งที่เอกชนจำเป็นจะต้องรู้ หากอยากจะหากินกับภาครัฐก็คือ ต้องรู้ว่ามันมีขั้นตอนยังไงบ้างในการ “ประกวดราคา” หรือ “ประมูลราคา”!!!

บังเอิญว่า หากภาครัฐจะว่าจ้างเอกชนเพื่อ “สร้างระบบซอฟต์แวร์” หรือ “ดูแลระบบซอฟต์แวร์” ส่วนใหญ่เขาจะใช้วิธี “ประกวดราคา” งั้นผมขอโม้เกี่ยวกับขั้นตอนการ “ประกวดราคา” เพื่อว่าจ้างงานซอฟต์แวร์แล้วกัน …

TOR ย่อมาจาก Term of Referece แปลเป็นไทยว่า ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะเป็นรายการละเอียดที่ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะให้ผู้รับจ้างทำอะไรบ้าง โดยการบอกขอบเขตของงานให้ชัดเจน ระยะเวลาที่ต้องการ คุณสมบัติของผู้รับจ้างที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ทำงานตามขอบเขตดังกล่าว สิ่งที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดำเนินการ จะมีกี่ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยอะไรบ้าง ปฎิบัติงานตามสัญญาจะได้อะไร ผิดสัญญาจะถูกปรับอย่างไร ตลอดจนวิธีการดูแลงานของผู้ว่าจ้าง ว่าเขาจะดูแลงานคุณแบบไหน เขาจะมีที่ปรึกษาดูแลแทนหรือไม่ สิ่งต่างๆเหล่านี้ผู้ว่าจ้างจะจัดให้อยู่ใน TOR ทั้งหมด เพื่อประกาศหาผู้รับจ้างตามกรรมวิธีต่อไป ซึ่งผู้ที่อยากจะเป็นผู้รับจ้างได้ศึกษาดูก่อนว่างานตามประกาศเราทำได้หรือไม่ เราถนัดหรือไม่ เรามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับพิจารณาครับ (อ้างอิงจาก ThaiEngineering.com)

  1. หน่วยงานรัฐร่างเอกสาร TOR ซึ่งบางครั้งก็โคตรกว้าง หรือบางครั้งก็แคบซะจนดูเหมือนมีเลศนัย และบางครั้งหน่วยงานรัฐก็ขี้เกียจร่างเอง แต่ให้ผู้ถูกว่างจ้างร่างให้ซะดื้อ ๆ
  2. หน่วยงานรัฐป่าวประกาศออกไปด้วยวิธีทางพัสดุ เพื่อให้เอกชนรู้ว่าจะมีการประกวดราคาว่าจ้าง ซึ่งเอกชนก็จะ..หูผีั..จมูกมด..ไวยังกับปรอท เพราะขนาดแปะประกาศเอาไว้ที่บอร์ดลับตาคน ก็ยังอุตส่าห์รู้ได้ว่ามีการประกาศเพื่อว่าจ้างเกิดขึ้นแล้ว
  3. เอกชนจะโผล่กันเข้ามาขอฟัง TOR กันโดยฉับพลันทันที สภาพอาการเหมือนกับมดได้กลิ่นน้ำตาล แห่กันมาเยอะแยะจนห้องประชุมเล็กไปถนัดตา
  4. หน่วยงานรัฐต้องทำเอกสาร TOR, ชี้แจง และตอบคำถามผู้เข้าร่วมประกวดราคากันหลายรอบ เพราะเอกสาร TOR ไม่เคยนิ่งง่าย ๆ อย่างน้อยต้องเปลี่ยนซัก 3 รอบถึงค่อยยุติ
  5. เนื่องจาก “ระบบซอฟต์แวร์” เป็นอะไรที่นามธรรมมาก ๆ ดังนั้น จึงมีตัวชี้วัดที่ไม่เหมือนกับพวก “ระบบฮาร์ดแวร์” ที่ชี้ความแตกต่างกันได้เห็นเป้ง ๆ กันไปเลย ซึ่งก็กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ผู้ถูกว่าจ้างที่มีเพดานบินสูง มั่วนิ่มขอเปลี่ยนรายละเอียดของ TOR ซะดื้อ ๆ เพื่อให้ตัวเองได้เปรียบ
  6. แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานรัฐเขาก็มีคนเก่งของเขาเหมือนกัน โอกาสมั่วนิ่มก็เลยมีน้อยหน่อย
  7. เมื่อเอกชนทั้งหลายได้ฟัง TOR จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ก็ต้องรีบกลับไปทำ Proposal เพื่อตอบโจทย์ว่าตัวเองจะทำอะไรได้บ้างหรือไม่ได้บ้างตาม TOR ที่ถูกกำหนดเอาไว้ และที่สำคัญที่สุด ต้องใส่ “ราคา” มาด้วยว่าจะคิดเท่าไหร่ … ซึ่งสำคัญมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก
  8. หน่วยงานรัฐจะให้เวลาเอกชนไปทำ Proposal อย่างน้อยก็ครึ่งเดือน อย่างมากก็เดือนนึง ปล่อยให้ทำซะให้พอ จากนั้นก็จะเรียกแต่ล่ะรายมานำเสนอ Proposal ของตัวเอง ซึ่งขั้นตอนนี้ขอบอกว่าคนที่เข้าฟังสมองจะน่วมมาก เพราะถ้า 1 วันฟังได้ 2 เจ้า แล้วมากัน 20 เจ้าก็ต้องฟังกัน 10 วันจนเซ็งเป็ดไปเลย
  9. ในช่วงที่มีการฟังการนำเสนอ Proposal ทางคณะกรรมการของหน่วยงานรัฐก็จะให้คะแนนทางเทคนิค คะแนนเต็มจะเท่าไหร่ก็สุดแล้วแต่จะกำหนด ซึ่งเมื่อเอกชนบรรยาย Proposal จนเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอกสาร Proposal ซึ่งใส่ซองปิดผนึกอย่างดี ส่งให้กับคณะกรรมการเก็บเอาไว้ โดยหวังลึก ๆ ว่า (กู) ต้องได้งานนี้แน่ ๆ!!!
  10. หลังจากฟัง Proposal ของทุกเจ้าเสร็จสิ้นลง (ซึ่งสมองเมื่อยมาก ๆ) คณะกรรมการก็จะรวมคะแนนแล้วประกาศว่าใครได้คะแนนเป็นที่ 1 และที่ 2 (ซึ่งหมายความว่าที่เหลือตกกระป๋อง)
  11. จากนั้นก็จะนัดเอกชนทุกเจ้าให้มาฟังคำตัดสิน (อย่างกับศาลแน่ะ) ว่าใครจะได้หรือใครจะไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทิ้งระยะซัก 5 วันพอเป็นพิธี
  12. ช่วงที่รอการตัดสิน คณะกรรมการจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะเอกชนจะแวะเวียนมาหาบ่อยมาก บ้างก็อ้างว่ามาทำธุึระ บ้างก็อ้างว่าผ่านมาเลยแวะมาทัก บ้างก็อ้างว่าบังเอิญ ฯลฯ โดยสิ่งที่ต้องการลึก ๆ ก็คือ … ตกลงบอก (กู) ก่อนได้มั้ยว่าใครชนะฟระ?
  13. เมื่อวันตัดสินมาถึง บางเจ้าซึ่งพอจะเดาได้ก็จะส่งตัวแทนมาเพียงคนเดียว แต่บางเจ้าซึ่งคิดว่างานนี้เข้าเป็นที่หนึ่งแน่ ๆ ก็จะยกโขยงกันมาเป็นทีม (ไม่รู้ว่ามาทำไมกันเยอะ ๆ)
  14. คณะกรรมการจะส่งซอง Proposal ซึ่งยังไม่ถูกเปิด คืนให้กับผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก พร้อมทั้งแจ้งด้วยความสุภาพว่า … คะแนนเทคนิคเอ็งไม่ถึงว่ะ เสียใจด้วย T-T ซึ่งในใจเอกชนก็คงคิดเหมือนกันว่า เอาอะไรมาตัดสินกูวะเนี่ย?
  15. จากนั้นคณะกรรมการจะเลือกผู้ที่มีคะแนนสูงสุดเพียง 2 เจ้าเอาไว้ โดยเรียกเข้ามาทีล่ะเจ้าเพื่อมาต่อรองราคา ตรงนี้ค่อนข้างมีผล เพราะถ้าหากคะแนนระหว่างที่ 1 กับที่ 2 ชนะกันแบบสูสี งั้นสิ่งที่จะต้องวัดกันตอนสุดท้ายก็เป็นเรื่องของ “ราคา”
  16. แต่ล่ะเจ้าจะถูกเรียกเข้ามาเพื่อต่อรองราคาเพียงแค่รอบเดียวเท่านั้น และก็ถูกเรียกเข้ามาในวันเดียวกัน เพื่อจะได้ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
  17. สุดท้าย หลังจากได้รู้ “ราคา” ที่แน่นอนของทั้ง 2 เจ้าแล้ว คณะกรรมการจะเรียกตัวแทนของทั้ง 2 เจ้าเข้ามาฟังคำตัดสินพร้อม ๆ กัน ซึ่งสถานการณ์จะเหมือนการประกาศคะแนนการชกมวยอะไรประมาณนั้นแหล่ะ!!!
  18. ถ้าเป็นการชกมวย ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าคือผู้ชนะ แต่สำหรับการประกวดราคา ในนาทีนี้ ผู้ที่ให้ “ราคา” น้อยกว่าคือ “ผู้ชนะ”
  19. คณะกรรมการจะบอกแค่ว่าใครชนะ และบอกว่าชนะกันเพราะราคาต่างกันเท่าไหร่ บอกแค่นั้น ซึ่งทั้ง 2 เจ้าก็จะรู้กันเองโดยอัตโนมัติ ว่าใครเสนอราคาเท่าไหร่ ถือเป็นการ Implied ที่ Classic เจง ๆ

เอาเป็นว่า .. ถึงการหากินกับภาครัฐมันจะยุ่งยาก งุ๊งงิ๊ง และมีขั้นตอนที่น่ารำคาญเยอะแยะก็ตาม แต่ใครหลาย ๆ คนก็ยังคงอยากหากินกับหน่วยงานรัฐอยู่เช่นเดิม ซึ่งคงเป็นเพราะว่า … ผลตอบแทนที่ได้มันคุ้มค่านั่นเอง

[tags]ประกวดราคา, ประมูลราคา, โครงการซอฟต์แวร์, สร้างซอฟต์แวร์, ดูแลซอฟต์แวร์, TOR[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “การประกวดราคาเพื่อว่าจ้าง “ผู้สร้างระบบซอฟต์แวร์” หรือ “ผู้ดูแลระบบซอฟต์แวร์”

  1. แสดงว่าช่วงนี้พี่ไท้ต้องยื่นซองของที่ไหนซักที่อยู่แน่ๆ

    ผมจะเกลี่ยด TOR ข้อนี้มาก

    ให้ระบบงานสามารถทำงานได้ตามที่หน่วยงาน xxxx กำหนด

    จะรู้มั้ยเนี่ยเองจะกำหนดอะไรบ้าง

  2. หุ ๆ แอบขำคุณ figaro คิดเหมือนกันเลยครับ …………..ยังดีที่ผมเจอในข้อสอบ ถ้าเจอจริง ๆ คงขำไม่ออก

  3. ผมก็อยากเหมือนกันอ่ะคุณ figaro แต่กรณีนี้เปล่าง่ะ

    เฮ้ย มีข้อสอบแบบนี้ด้วยเหรอเนี่ยคุณ Shoot ??? โฮ่ เดี๋ยวนี้หลักสูตรไทยก้าวไกลจริง ๆ

    การให้เอกชนเขียน TOR ให้ แสดงว่าหน่วยงานดังกล่าว ถ้าไม่ขี้เกียจ ก็ไม่รู้อะไรจริง ๆ ครับคุณ xinexo T-T

    อ๊ะคุณ AMp รู้จริง อิ อิ 😛

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *