Hardware Sizing = ต้นทุนที่แท้จริงของ Software

ผมเคยคิดอยู่เสมอว่าอะไรคือต้นทุนของการทำ Software as a Service แต่เดี๋ยวนี้เลิกคิดแล้ว … เพราะรู้แล้ว!!!

ต้นทุนที่แท้จริงของ Software as a Service กระจุกตัวอยู่ที่ Hardware อ่ะ T-T ไม่น่าเชื่อเลยว่าเบื้องหน้า .. ซึ่งเป็นเรื่องของการให้บริการตามหลักการของ Software as a Service นั้น กลับมีต้นทุนเกี่ยวกับ Hardware หยุมหยิม จุกจิก เยอะแยะ มากมายมหาศาล ตั้งตระหง่านรอเราอยู่ ณ เบื้องหลัง!!!

เราสามารถสร้างซอฟต์แวร์ออกมาได้ด้วยเวลาไม่นานนัก แถมซอฟต์แวร์ของเราก็เก่งโคตร ๆ อีกต่างหาก … แต่เรากลับพบว่าหากจะเปิดให้ใคร ๆ เข้ามาใช้งานมันได้อย่างเต็ม stream, เต็ม max หรือ เต็มตีน เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี Hardware จำนวนที่พอเหมาะ เพื่อผ่องถ่ายภาระงานให้กระจัดกระจายอย่างสม่ำเสมอ จนผู้บริโภคไม่รู้สึกว่า Software as a Service ของเราเชื่องช้าแต่อย่างใด

ถ้าเรามีตังค์เป็นกระตั๊ก ๆ เราก็คงจะซื้อ Hardware มาให้มันเยอะเว่อร์ ๆ เพื่อให้มันรองรับงานได้อย่างไม่ยั้ง!!!

แต่เรื่องจริงก็คือใคร ๆ ก็ล้วนมีตังค์หรืองบประมาณที่จำกัด ดังนั้นการคำนวณ Hardware Sizing จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจะทำให้ใช้ของได้คุ้มค่า แต่ราคาไม่ทำให้กระเป๋าฉีกจนกินงบฯไปถึงปีหน้า!!!

แย่หน่อยที่ตอนเรียนหนังสือก็ไม่มีวิชาไหนสอนเรื่องคำนวณ Hardware Sizing!

พอออกมาทำงานก็พบว่าการคำนวณ Hardware Sizing เป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล ที่ต้องเก็บสะสม เคี่ยวกรำ สร้างความชำนาญการโดยบุคคลคนเดียว ดังนั้นไอ้เรื่องที่จะมาถ่ายทอดให้กันมันเลยยากกกกกส์

ผมเองก็ไม่เก่งเรื่อง Hardware Sizing เหมือนกัน ไม่งั้นคงจะบอกพวกเราได้ว่า ถ้าเราจะทำเว็บที่เหมือนกับ Youtube, Google, Facebook, Hi5, Wikipedia และสามารถรองรับผู้เข้าใช้ได้ทัดเทียมกับเว็บต้นตำรับ เราควรจะมี Hardware Sizing บิ๊กบึ้มขนาดเท่าไหร่ดี?

[tags]hardware, sizing, ต้นทุน, แท้จริง, software[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “Hardware Sizing = ต้นทุนที่แท้จริงของ Software

  1. ผมกลับไม่ห่วงนะครับ เพราะมี Amazon EC2

    และรอใช้ Cloud ของ Google อยู่ครับ แต่ยังไม่มีโอกาสลองงานจริง

    ต้นทุนการทำเนื้อหา ผมว่าแพงกว่านะ

  2. เสียตังค์อยู่ดีอ่ะคุณ AMp T-T

    อื้อ มันก็เลยกลายเป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนักอ่ะเน้อะคุณ Audy ว่าเราควรจะใช้ Dedicated Server หรือ Co-location หรือ Virtual Private Server หรือ Cloud Computing ดี เพราะทั้งหลายทั้งปวง นอกจากเราจะต้องคิดเรื่องประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องดูงบประมาณด้วยอ่ะเน้อะ

  3. ค่อยๆใช้ไปครับ

    พอไม่ไหวก็ค่อยอัพเกรด

    ทุนไม่หดดี มีแต่ กำไรๆ

    ค่อยๆลงทุน แล้วค่อยๆกำไร

    ไม่เสี่ยงครับผม

    ^^

  4. ก็ไม่เชิงนะพี่ไท้ เพราะว่าปัญหาอยู่ที่ว่า เราไม่สามารถคำนวณ sizing ได้ ฉะนั้น การใช้ blade server มันก็เป็นเหมือนการ play safe อะคับ

    ทีแรก อาจจะมี blade น้อยๆ (เบี้ยน้อย หอยน้อย ห..น้อย) แต่ต่อไปพอโตขึ้น ก็เพิ่ม blade ได้

    เห็นเค้าว่า มันประหยัดกว่าซื้อ server แยกเป็นตัวๆ อะคับ 😀

  5. ยังไงก็เสียเงินอยู่ดี เพราะมันเป็นต้นทุนหน่ะนะ แต่เพราะยังงี้ไง ถึงได้มี Cloud
    จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินค่า HW ไปเปล่าๆตอนไม่มีคน แล้วก็ไม่ต้องล่มถ้าคนเข้าเยอะ

  6. กำลังประสบปัญหานี้เช่นกันครับ รับมาแต่ software แต่ทางลูกค้าให้ทำ hardware sizing ให้ด้วยเขาจะจัดซื้อเอง ตอนนี้เลยมึนตึ้บ เพราะไม่เคยทำ hardware sizing มาก่อน ปกติก็จะนั่งเทียนขายเครื่องเวอร์ไปกับ S/W เน่าๆของเรา เพราะไม่ให้มันส่งกลิ่นแรงมาก อิอิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *