รายรับตามโมเดล Software as a Service

ภาคการบริการกลายเป็นส่วนสำคัญในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่การขับเคลื่อนในทุก ๆ อย่างเน้นการทำงานซึ่งเฉพาะอย่างมากขึ้น (จนเราไม่มีปัญญาทำเอง เลยต้องให้ผู้อื่นทำให้) ดังนั้นเท่าที่มองแล้ว Software as a Service เองก็คงจะหารายรับให้กับตัวเองได้เพียง 4 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 : ห้างขายยา ฉายหนังกลางแปลง

ผมเกิดไม่ทันยุคนี้หรอกนะ (เดี๋ยวจะหาว่าแก่) แต่เคยได้ยินมาว่าสมัยนั้น ห้างขายยาจะเอาหนังกลางแปลงมาฉายให้ดูฟรี ๆ จากนั้นก็จะหยุดฉายเป็นระยะ เพื่อโฆษณาขายยาของตัวเอง … ไม่ได้แตกต่างจากที่ทุกวันนี้ Web Application เปิดให้ใช้กันฟรี ๆ แล้วก็แปะโฆษณากันให้เปรอะไปหมด รู้สึกว่ารูปแบบนี้จะเป็นที่นิยมที่สุด เห็นได้จากการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางไอทีของโลก ล้วนเล่นมุขนี้กันทั้งนั้น

รูปแบบที่ 2 : เงินมา ผ้าหลุด

ผมเคยได้ยินสำนวน “เงินมา ผ้าหลุด” ไม่รู้ว่าผ้าอะไรหรือผ้าชิ้นไหนหลุด รู้แต่ว่าถ้าจ่ายเงินมาผ้าหลุดแน่ ๆ ซึ่งโมเดลนี้ก็ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาดี นั่นคือจ่ายตังค์มาซะ แล้ว Software as a Service ก็จะส่งถึงท่านเอง โดยตัวอย่างที่เห็นอย่างกว้างก็เช่น การเช่า Web Hosting, การจ่ายค่าธรรมเนียม eBay, การจ่ายค่าธรรมเนียม PayPal เป็นต้น

รูปแบบที่ 3 : ฝากไว้ก่อน ไว้คิดบัญชีทีหลัง

การให้ใคร ๆ เอาซอฟต์แวร์ไปใช้ฟรี ๆ ไม่ว่าจะด้วยลักษณะของ Freeware หรือ Open Source Software ก็ดูจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ตรงนี้ผมเคยได้พบกับประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง จากการที่องค์กรนำ Open Source Software มาใช้ แล้วมาภายหลังเราพบว่า เราเอามาใช้ฟรี ๆ ได้ก็จริง แต่เวลาจะเพิ่มเติมเรากลับทำเองไม่ได้ ต้องจ่ายเงินจ้างเขา เพราะ Open Source Software ดังกล่าว มีความซับซ้อนในตัวโค้ดและฐานข้อมูลมากมายซะเหลือเกิน จนถึงแม้มันจะถูกเปิดเผยอ้าซ่า ก็ไม่ใช่ว่าเราจะเข้าอกเข้าใจมันได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

รูปแบบที่ 4 : ขอทาน เปิดหมวก

เพื่อนผมเคยเล่าให้ฟังว่า ขอทานเมืองนอกจะไม่ไหว้ผงก ๆ เพื่อขอตังค์อย่างเดียว แต่ต้องทำอะไรเพื่อแลกกับเงินด้วย เช่น เต้น, ร้อง, เล่นดนตรี หรือ แสดงอะไรบางอย่าง เพื่อแลกให้ได้เงินมา (ดูแล้วขอทานไทยสบายกว่าเยอะ) ซึ่งโมเดล Software as a Service แบบขอทานนั้น ผมยังไม่มีตัวเลขอ้างอิงที่แน่ชัดถึงรายรับ ว่ามีใครทำแล้วประสบความสำเร็จบ้าง (คิดว่ามี แต่คงน้อยรายเหลือเกิน)

เอาเป็นว่าจะรูปแบบไหนก็ได้ ขอแค่คนจ่ายรายรับให้กับ Software as a Service ไม่ชักดาบก็พอครับ 😛

[tags]รายรับ,โมเดล,Software as a Service[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “รายรับตามโมเดล Software as a Service

  1. พัฒนา software ให้ขายได้ที่นึงว่ายากแล้ว

    แต่ต้องพัฒนาให้ขายได้กับหลายๆที่พร้อมกันนี่สิ T__T

  2. ชอบตรงชื่อรูปแบบเนี่ยแหละ คิดได้ไงครับเนี่ย ห้างขายยา, เงินมาผ้าหลุด 😀

  3. รูปแบบที่ 5 : ต่อยกะพี่กุมั้ย?

    รูปแบบนี้จะก้ำกึ่ง ระหว่างรูปแบบที่ 1 และ 2 โดยตัว SaaS เองถึงแม้จะเปิดให้ใช้บริการฟรี แต่ก็ยังมีบริการเสริมสำหรับผู้ใช้งานที่ใคร่กระสันอยากจะเสียตัง เพื่อสิ่งที่ดีกว่า 😀

    ตัวอย่างก็ เช่น remember the milk ซึ่งผมลองใช้แล้วอยากจะใช้เวอร์ชั่นที่เป็น iphone ซะจริงๆ

    แต่ผมไม่มี iphone นี่สิ 😀

  4. นั่นเป็นปัญหาของพวก software house เลยครับคุณ figaro T-T

    อิ อิ ถ้าคิดตอนเมานะ จะได้จ๊าบกว่านี้อีกคุณ tomoomoo ^-^

    55555 ของคุณ AMp เด็ดว่ะ ^o^

  5. เหมือน SaaS จะดังนะครับ

    เพราะอ่านหนังสือก็เจอๆ

    แต่ไหง ไม่เห็นได้ใช้งานเลย

    รึว่าเขาใช้งานในองค์กรใหญ่ๆ

    เด็กมหาลัย เลยอดใช้ T.T

  6. พี่ไท้ พอรู้จัก และ แนะนำบริษัท ที่ ชอบรับฟังไอเดียใหม่ๆ ให้หน่อยได้ไหมครับ
    เผื่อเกิดไอเดียอะไรดีๆแล้ว อยากนำเสนอและร่วมทำงานกันในลักษณะเป็น โครงการๆ

    แค่ถามเอาเป็นข้อมูลก่อนนะครับ ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเแหล่มๆ

  7. “นั่นเป็นปัญหาของพวก software house เลยครับคุณ figaro T-T”

    ไม่ใช่เป็นปัญหาของการละเมิดลิขสิทธิ์ software เหรอ?
    เนื่องจาก software ต่างชาติดีๆ ราคาแพงๆ กลับหาซื้อได้ในราคาไม่กี่ร้อยบาท, software SME ระดับกลาง จะไปสู้ราคาได้ยังไงไหว?

    แบบที่ 3 ที่เป็น free/opensource software นั้น, ก็ใช่ว่าผู้ผลิตจะสามารถผูกขาด service ได้, เพราะ ผู้พัฒนารายอื่นๆ ที่เก่งๆ เขาก็สามารถเข้าใจ source code และ มาแข่งขันในการ ปรับแต่งเพิ่มเติม ได้ เช่นเดียวกัน.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *