การประยุกต์ชวเลขในทางคอมพิวเตอร์

ครั้งแรกที่ผมได้ยินชื่อ “ชวเลข” ผมเข้าใจว่ามันเป็นวิชานึงในแขนงคณิตศาสตร์ครับ เพราะเห็นว่ามันมีคำว่าเลขบรรจุอยู่ในชื่อวิชา แต่ภายหลังจากที่ต้องลงทะเบียนเรียนวิชานี้ ผมถึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่คณิตศาสตร์ว่ะ (3 หน่วยกิตแน่ะวิชานี้)

ชวเลขเป็นวิชาหายากซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับยุคสมัยนี้ซักเท่าไหร่ มันถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางพาณิชยกรรม และเป็นวิชาเลือกในคณะนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์

ที่บอกว่ามันไม่เหมาะกับยุคสมัยนี้ก็เพราะว่า ชวเลขเป็นวิชาที่ออกแบบมาสำหรับจดเร็ว ๆ ครับ เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องบันทึกเสียงแบบ mp3 ดังนั้นวิชานี้จึงเป็นวิชาเขียนสัญลักษณ์ ต้องอาศัยทักษะในการปฏิบัติพอสมควร เหมือนกับการฝึกหัดพิมพ์ดีดบนแป้นพิมพ์ยังไงอย่างนั้นเลย

ออกตัวไว้ก่อนเลยว่าผมเคยเรียนมาก็จริง แต่ก็คืนวิชาให้อาจารย์ไปแล้วเหมือนกัน เพราะไม่เคยเอามาใช้จริงเลย แต่ก็พอจะอธิบายได้จากความทรงจำว่ามันมีกฎง่าย ๆ อยู่ 3 ข้อครับ

  1. พยัญชนะไทยจะถูกแทนที่ด้วยการขีดแบบง่าย ๆ จะขีดนอน, ขีดตั้ง, ขีดเฉียง หรือขีดโค้งอะไรก็สุดแล้วแต่
  2. สระจะถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งของการขีด เช่นขีดเหนือบรรทัดก็สระชุดนึง, ขีดคร่อมบรรทัดก็สระอีกแบบนึง และขีดใต้บรรทัดก็อีกสระนึง
  3. วรรณยุกต์ไม่มีครับ ออกแนวภาษาอังกฤษเลย คือพอเขียนแล้วก็ไม่ต้องสนเรื่องวรรณยุกต์ แต่ตอนอ่านต้องใช้ทักษะเดาเอาเอง ว่าไอ้ขีดแบบเนี้ยแล้วอยู่ตำแหน่งตรงเนี้ย เทียบแล้วมันน่าจะเป็นคำว่าอะไรมีวรรณยุกต์ยังไง แบบนั้น!!!

ผมไม่เขียนตัวอย่างให้ดูนะ … เพราะผมลืมไปแล้ว อิ อิ ^-^

ประเด็นที่จะโม้ก็คือมันเป็นวิชาที่เสื่อมไปมาก มีน้อยคนที่จะได้เรียนมัน และถึงแม้จะได้เรียนมันแล้วก็ใช่ว่าจะได้ใช้มันซะเมื่อไหร่ ของหายากแบบนี้ก็เลยน่าจะเอามาทำเป็นหัวข้อทางคอมพิวเตอร์ได้ไม่ว่าจะเป็น … การแปลงชวเลขให้กลายเป็นข้อความ, การแปลงข้อความให้กลายเป็นชวเลข และการบีบอัดข้อความโดยชวเลข

โดยเฉพาะการบีบอัดข้อความโดยชวเลขนั้นน่าสนใจมาก เพราะอย่างที่พวกเรารู้ ๆ กันอยู่ ว่าโดยปรกติแล้วการบีบอัดข้อมูลนั้น เมื่อบีบอัดแล้วมันแทบไม่เหลือสภาพเดิมเลย ใช้การอะไรก็ไม่ได้ ต้องเอามาคลายก่อนถึงจะใช้งานได้

ผมเห็นเทคโนโลยีเพื่อการบีบอัดรูปภาพ เพื่อการบีบอัดวีดีโอก็เยอะนะ พวกนั้นบีบอัดแล้วก็ยังคงสภาพให้ใช้งานได้ แถมใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บก็ไม่มากด้วย แต่การบีบอัดข้อความแล้วยังคงสภาพให้ใช้งานได้ (อ่านออก) นี่แทบไม่มีคนทำเลยแฮะ

แต่โดยสรุปแล้ว ชวเลขนี่มันเขียนยาก แล้วก็อ่านโคตรยากจริง ๆ นะ สิบอกให้ ^-^

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,สมมติฐาน,ชวเลข[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “การประยุกต์ชวเลขในทางคอมพิวเตอร์

  1. คนที่อ่านได้ก็เหมือนได้ burn ตัว decode เข้าไปในสมองแล้วครับ อย่างผมอ่านไม่ได้คงต้อง burn software สำหรับ decode ลงหัวครับ

  2. พวกภาษาวิบัติของเด็กสมัยนี้นับมะพี่ไท้

    แปลงภาษาวิบัติเป็นภาษาไทย
    แปลงภาษาไทยเป็นภาษาวิบัติ

    อิอิ

  3. ถ้าพูดในแง่ของการย่ออินพุต (อทำให้ใส่ข้อมูลได้สะดวกขึ้น สั้นขึ้น)
    พอจะทำให้นึกถึงพวก Graffiti ของ Palm อ่ะครับ
    อีกประเภทที่เหมือนเคยเห็นคือโปรแกรมประมาณว่าขีดๆ ไปบนหน้าจอ คล้ายๆ อ่านลายมือ
    แต่แทนที่จะเป็นลายมือธรรมดา (ที่เขียนเป็นตัวนึง แต่ดันแปลไปเป็นอีกตัว – -“)
    ก็เป็นการใช้ชวเลขแทน เหมาะสำหรับพวก tablet pc หรือ pocket pc

    อีกอย่างที่คล้ายชวเลขในแง่การเดาๆ อินพุตที่แทจริงก็คือ ระบบ T9 ของมือถือครับ
    เช่นผมกดว่า 880840 ก็สามาถแปลได้ว่า “สวัสดี” (เครื่อง SE) ซึ่งมันอาจจะเป็นคำอื่นก็ได้
    คือคล้ายๆ ชวเลข แต่เปลี่ยนจากท่คนอ่านต้องเดา เป็นโปรแกรมในโทรศัพท์ต้องเดา

    ส่วนการบีบอัดข้อความ.. เข้าใจว่าหมายถึงพวกบีบอัดข้อความในหนังสืออะไรประมาณนี้หรือเปล่าครับ
    ถ้าใช่ มันก็มีการศึกษากันอยู่นะครับก็เหมือนบีบอัดรูปภาพ เพียงแต่ส่วนใหญ่มันจะเป็น lossless ยังไม่เคยเห็นคนใช้ lossy มาบีบอัดข้อความ แต่ถ้าทำได้ ก็คงจะไม่กล้าใช้กัน เพราะไม่ามารถรับประกันได้ว่า output = input

  4. อ้อลืมไป.. แถมนิดนึง
    มันมีหลักเกี่ยวกับการบีบอัด (lossless) อยู่ว่า ไม่มีอัลกอไหนที่สามารถบีบอัดข้อความให้เล็กลงได้ทุกข้อความ

    ก็คือ จะต้องมีอย่างน้อยซักข้อความนึง ที่ซึ่งเมื่อใส่เข้าไปในอัลกอนี้แล้ว จะมีเอาท์พุตขนาดใหญ่กว่าอินพุต (พิสูจน์ได้โดย pigeonhole)

  5. การจะเขียนชวเลขให้เก่งนั้นต้องฝึกคัดอย่างสม่ำเสมอ+ความจำ ตอนนี้ชวเลขมีใช้อยู่ที่รัฐสภา ชื่อ สำนักรายงานการประชุมและชวเลข เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการจดและจัดทำรายงานการประชุมสภา (การอภิปรายทุกถ้อยคำ
    ของ ส.ส. และ ส.ว.) มีเจ้าหน้าที่ชวเลขประมาณ 90 คน แม้ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัย แต่ในรัฐสภายังมีความจำเป็นที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ชวเลขอยู่ กรณีเครื่องบันทึกเสียงหรือไมโครโฟนขัดข้อง คำอภิปรายเหล่านั้นก็ไม่ขัดข้องสูญหายไปด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ชวเลขสามารถบันทึกทุกคำพูดไว้ได้ แต่สำนักก็ได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการจัดทำรายงานการประชุมให้เร็วขึ้นอยู่เสมอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *