การประมวลผลขนาดยักษ์

วันนี้ผมและทีมงานได้ไปเยี่ยมชมและฟังบรรยาย ณ สำนักคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งครับ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ค่อนข้างพิเศษมาก เพราะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีคณะแพทย์ศาสตร์ถึง 3 คณะ ซึ่งไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย เคยมีคณะแพทย์ศาสตร์ในสังกัดเยอะขนาดนี้มาก่อน … นั่นย่อมแสดงว่าสถาบันการศึกษาดังกล่าว เน้นความเป็นเลิศในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก

ผู้อำนวยการของสำนักคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางคอมพิวเตอร์เป็นอันมากครับ ท่านได้เล่าหลาย ๆ เรื่องให้ฟัง ซึ่งมีทั้งเรื่องในระดับนโยบาย, ระดับจัดการ, ระดับกระบวนการ และระดับปฏิบัติการ

มีอยู่จุดนึงซึ่งท่านเล่าให้ฟังแล้วผมฉุกคิดขึ้นมา คือท่านเล่าว่าหากสนใจที่จะประมวลผลในระดับใหญ่ ก็สามารถจะประสานความร่วมมือกันได้ และหากเป็นการประมวลผลขนาดยักษ์ก็สามารถจะทำได้ โดยสามารถประสานไปยัง “ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ” ซึ่งมีศักยภาพในการประมวลผลในระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน

สิ่งที่ทำให้ผมฉุกคิดก็คือ ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เรื่องของการประมวลผลในระดับใหญ่ เพราะอะไรผมถึงลืมไป อือม คงเป็นเพราะทุกวันนี้ผมไม่มีงานประมวลผลขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงกระมัง ลำพังแค่ระดับ server ที่ทุกวันนี้ใช้อยู่ ก็ถือว่าเก่งโคตร เจ๋งเป้ง เร็วป้าด ๆ อยู่แล้ว จึงไม่เคยนึกถึงศักยภาพในการประมวลผลขนาดยักษ์แบบนั้นเลย

ในขณะที่คนทั่วไปซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ก็คงจะไม่ต้องการศักยภาพในการประมวลผลขนาดยักษ์ เพราะทุกวันนี้นอกจากเกมคอมพิวเตอร์สามมิติแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะมีซอฟต์แวร์สำหรับทำงานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประเภทไหน ที่จะซดความสามารถของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้มากกว่านี้อีกแล้ว

ถึงกระนั้น เกมคอมพิวเตอร์สามมิติ ก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลขนาดยักษ์อยู่ดี!!!

ในปัจจุบันนี้เราจะพบว่า SaaS ที่เปิดให้คนทั่วไปใช้กันนั้น จะแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ โดยประเภทแรกเน้นให้คนเข้ามาใช้บริการโดยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น picnik ซึ่งเป็นโปรแกรมแปลงภาพ เป็นต้น

สำหรับประเภทที่สองนั้น จะเน้นให้คนเข้ามาใช้บริการเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์เป็นสำคัญ ดังนั้นบริการบน SaaS เหล่านั้นส่วนใหญ่จึงพยายามทำยังไงก็ได้ เพื่อให้เหล่าสมาชิกได้สื่อสารกันด้วยมิติของช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้วยข้อความ, ภาพ, เสียง หรือแม้แต่คลิบวีดีโอ

SaaS ทั้งสองประเภทนั้น ยิ่งมีสมาชิกเข้ามาใช้งานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการการประมวลผลขนาดยักษ์มากเท่านั้น … แต่มันเป็นความต้องการในทางอ้อม เป็นความต้องการอันเกิดจาก feature ของระบบที่ต้องการการประมวลผลขนาดใหญ่ แต่ไม่ใช่ความต้องการโดยตรงจากเหล่าสมาชิกเอง มันจึงไม่ใช่ความต้องการในทางตรง!!!

ประเด็นที่ผมจะบอกก็คือในอนาคตข้างหน้า มีความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้น่าจะเริ่มมี “งาน” บางอย่าง ที่ต้องการใช้บริการจาก SaaS เฉพาะทาง ซึ่ง “งาน” ดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การประมวลผลขนาดยักษ์ และการประมวลผลระดับนั้น เป็นการประมวลผลอันเกิดจากความต้องการของผู้ใช้เองจริง ๆ ไม่ได้เกิดจาก feature ของระบบแต่ประการใด

สุดท้ายยุคสมัยเดิม ๆ จะย้อนกลับมา ยุคสมัยซึ่งผมไม่เคยได้สัมผัส นั่นก็คือยุคสมัยที่เราจะต้องหอบเอาบัตรเจาะรูไปที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อจะป้อนบัตรเจาะรูเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วให้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลให้เรา

ยุคสมัยซึ่งศักยภาพในการประมวลผล เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าศักยภาพในการแสดงผล!!!

เหล้าเก่าในขวดใหม่ เรากำลังจะกลับมาโหยหาศักยภาพในการประมวลผลขนาดยักษ์ … อีกครั้งหนึ่ง

[tags]การประมวลผล, ขนาดยักษ์, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, ไทยกริด, SaaS[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “การประมวลผลขนาดยักษ์

  1. เพื่อนผมหลายคนเรียนไม่จบตามกำหนดเพราะเครื่องที่บ้านช้าเกินไปเอามารัน matlab ไม่เสร็จซะที ไฟตกหายวูบเริ่มใหม่ ต้องรอจังหวะเปิดได้ยาวๆ ซัก 3 สัปดาห์ แต่อยู่บ้านคงไม่รัน matlab

    รันโปรแกรมวิเคราะห์หุ้นท่าทางจะดี

  2. เดาว่าใช่่่จุฬารึปล่าวครับ ? เห็นว่ามแพทย์ 3 คณะ แพทย์ ทันตะ สัตวะ แล้วก็มีระบบคลัสเตอร์เป็นของตัวเองด้วย (PAKSA Cluster)

  3. matlab เป็นซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจมากเลยครับคุณ sugree ผมเองเพิ่งมารู้จักมันเมื่อไม่นานนี้เอง T-T รู้ทีหลังคนอื่นอีกล่ะ

    ไม่บอกครับคุณ jetm2m คุณ kesmanas เก็บไว้ในใจครับ อิ อิ

  4. ได้ยินมาเมื่อร่วม ๑๐ ปีที่แล้วว่า
    ที่ศิริราช ส่งหมอไปเรียนPHDทาง Medical Informatics
    จ้าง โปรแกรมเมอร์ ร่วม ๒๐ คน มาสะสางระบบ
    ไม่นับ IT Man อื่นๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *