เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็คิดจะสร้างเว็บไซต์ที่เป็นระบบเปิดกันครับ อือม ใคร ๆ ที่ผมบอกนี่ส่วนใหญ่จะเป็นฝรั่งฟากอเมริกาและยุโรปนะ พี่ไทยเราคงไม่ค่อยเกี่ยวด้วยซักเท่าไหร่งานนี้

ตอนนี้ผมมองว่ามิติของระบบเปิดมันไม่ได้มีเพียงแค่มิติเดียวเหมือนแต่ก่อนครับ อย่างสมัยก่อนเราจะให้ความใส่ใจแค่การสร้างชุมชนออนไลน์ขึ้นมา แล้วพยายามสร้างสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่าง (โดยเจ้าของเว็บไซต์) เพื่อเอื้อประโยชน์ให้คนในชุมชน ช่วย ๆ กันสร้างเนื้อหาขึ้นมาอีกทอดนึง เป็นการให้ทุก ๆ คนช่วยกันทำให้เว็บไซต์มันใหญ่โตขึ้นมา

ดังนั้นระบบเปิดมิติเดียวแบบนี้ จึงมุ่งเน้นที่การสร้างเครื่องมือเจ๋ง ๆ สำหรับสร้าง “เนื้อหา” เป็นสำคัญ!!!

ระบบเปิด 3 มิติแต่เท่าที่ผมมองตอนนี้ ฝรั่งเขาคิดไปไกลถึงระบบเปิดแบบ 3 มิติกันแล้วครับ เพราะนอกจากเขาจะคิดสร้างเครื่องมือเจ๋ง ๆ สำหรับสร้าง “เนื้อหา” แล้ว เขาก็ยังสร้าง “API” เพื่อเปิดให้เหล่าสมาชิก สามารถสร้างโปรแกรมให้ทำงานในระบบได้ และเขาก็ยังสร้าง “ระบบเงินตรา” ซึ่งจะใช้จริงในระบบเปิดของเขาได้ด้วย

ลำพังแค่สร้างชุมชนให้ได้ผมก็ว่ายากแล้วนะ ไอ้ครั้นจะให้ก้าวข้ามขีดจำกัดโดยการสร้างระบบ API แถมสร้างระบบเงินตราด้วย คงไม่ใช่ง่าย ๆ แน่ ๆ

ระบบเปิดมิติเดียวแต่ก็อุตส่าห์มีหลายเว็บไซต์สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าจะตอบโจทย์ของระบบเปิดได้กี่มิติ??

อย่างถ้าตอบโจทย์ของระบบเปิดมิติเดียว ที่เน้นสร้างเครื่องมือเพื่อให้ชุมชนเข้ามาช่วยกันสร้างเนื้อหา ก็มีกันหลายที่ ซึ่งผมคงไม่ต้องยกตัวอย่างนะ เพราะพวกเราก็คงจะรู้กันอยู่แล้ว มีกันให้เต็มไปหมด

ระบบเปิดแบบ 2 มิติส่วนประเภทที่สามารถตอบโจทย์ของระบบเปิด 2 มิติได้ ก็มีไม่มากนักน่าจะนับหัวกันได้เลย อย่างที่ผมรู้จักตอนนี้ก็คงเป็น Facebook และ SecondLife ที่สามารถตอบโจทย์ของระบบเปิดแบบ 2 มิติได้ นั่นก็คือมีทั้งชุมชนและ API รองรับ สำหรับให้เหล่าสมาชิก สามารถสร้างโปรแกรมอะไรก็ได้ เพื่อใช้ทำงานในระบบเว็บไซต์อีกทอดนึง

แต่ถ้าตัดจนเหลือเว็บไซต์ที่เป็นระบบเปิด 3 มิติแล้ว ผมก็เห็นเหลือแค่ SecondLife อ่ะครับ ที่มีครบหมดทั้งชุมชน, API และระบบเงินตรา

ตอนนี้ SecondLife สู้ Facebook ไม่ได้หรอกครับ หนังมันคนล่ะม้วนกัน แค่จำนวนสมาชิกกับจำนวนคนออนไลน์ก็ต่างกันมากแล้ว แต่ผมเชื่ออย่างนึงนะ ผมเชื่อว่าระบบเงินตราที่มันมีอยู่ จะเป็นตัวทำให้ SecondLife มันก้าวกระโดดได้มากกว่านี้ และสิ่งที่ผมเชื่อมากกว่านั้นก็คือ ต่อไปเว็บไซต์บางส่วนจะกลายร่างเป็นโลกเสมือนจริง โดยแทนที่เราจะต่อเชื่อมเข้าไปหามันด้วยเว็บบราวเซอร์ เราก็ต้องเปลี่ยนไปต่อเชื่อมเข้าหามันด้วยโปรแกรม client เฉพาะอย่างแทน ซึ่งโปรแกรม client ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ และใช้กันอย่างกว้างทั่วโลก

ทำไมผมคิดงั้น … เพราะผมไปเจอ OpenSim ไงครับ มันเป็นระบบโลกเสมือนจริงที่มีลักษณะเหมือนกับ SecondLife มันเป็นตัวโคลนของ SecondLife … มันเปิดโอกาสให้เราสร้างโลกเสมือนจริงในแบบเฉพาะของเราได้ ซึ่งมันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับการที่เราสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราในปัจจุบันนี้เลย

โดยสรุปแล้ว ด้วยการเกิดขึ้นและพัฒนาตัวตนของระบบเปิด 3 มิติ ย่อมหนีไม่พ้นที่ผู้ใช้อย่างพวกเรา และผู้ท้าชิงรายอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องไล่กวดตามความก้าวหน้าของมัน โดยไม่สามารถละฝีเท้าได้ … แน่นอนครับ

[tags]ระบบเปิด, 3 มิติ, ชุมชน, เงินตรา, API, secondlife, opensim, facebook[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “ระบบเปิด 3 มิติ

  1. เจ๋งไปเลย *0* ไม่คิดว่าจะมองเป็น 3 มิติไปได้ แค่มิติเดียวก็พัฒนากันยากลำบากแล้ว ยิ่งโดยเฉพาะกับชุมชนที่เอาแต่เสพ แต่ไม่เคยแบ่งปัน (เหมือนระบบการศึกษาไทยเลยแหะ)

  2. เว็บที่ผมทำไว้ก็เคยฝันถึง “ชุมชน” กับ “ค่าโฆษณา” อยู่บ้าง แต่ความที่ไม่อยากรับโฆษณาลดความอ้วนหรือธุรกิจคลุมเครือต่างๆ ก็เลยปฏิเสธการติดโฆษณาของ “ป้านิภา” ไป ตอนนี้ยังไม่มีเวลาจะวิ่งหาโฆษณาอื่นอย่างจริงจังครับ

  3. ในตอนนี้กระแสการสร้างผลิตภัณฑ์ Web Application กำลังเป็นที่นิยมมาก (นิยมมานานแล้วล่ะ) จนเคลื่อนตัวมาถึงยุคที่สอง (Web 2.0) มีการสร้างชุมชนมากขึ้น
    จนมาถึงส่วนขยายโดยการนำ API เข้ามาใช้ เป็นอะไรที่สามารถพัฒนาให้งอกเงยกลายมาเป็น Platform อย่างที่ Facebook กระทำอยู่
    เข้ากับทฤษฤี Win to Win เลยครับ เพราะผู้ใช้ก็ได้ประโยชน์มี Application ให้เลือกใช้มากมาย ผู้ผลิต App ก็ได้มีฟื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานรวมไปถึงการหารายได้จากผลงาน เจ้าของชุมชนก็ได้รับประโยชน์จากปริมาณผู้ใช้ที่มากขึ้นและความสำเร็จทางธุรกิจ

    ปล.ถึงคุณ ข่า ผมว่าตอนนี้ปัญหาเกี่ยวชุมชนและการแบ่งปันในไทย กำลังถูกพัฒนาแก้ไขไปในทางที่ดีแล้วครับ เห็นได้จากหลายๆชุมชนสามารถสร้างเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และแบ่งปันได้แล้ว
    และอย่างน้อย ก็มีคนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

    ปล. ถึงคุณโรจน์ ผมก็มีความคิดเรื่องค่าโฆษณาเหมือนคุณเลยครับ อะไรที่มัน Hard sell มากๆ คนเข้าคงไม่สนใจหรอกครับทำให้รำคาญเปล่าๆ เราเองยังรำคาญเองเลย
    แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะให้ชุมชนยังคงอยู่ได้ในความหมายของธรุกิจ และผู้ใช้ไม่ต้องทนกับโฆษณาไวอากร้า (เพราะเค้าเป็นผู้หญิง) แนวทางแก้ปัญหาในตอนนี้ของคุณโรจน์คืออะไรครับ

    ปล.ถึงพี่ไท้ ขออนุญาติชวนผู้อ่านบล๊อคพี่คุยหน่อยน่ะครับ
    เห็นเนื้อหา Comment มันน่าสนใจ

  4. T-T อ๋า คุณข่าว่าใครอ่ะเนี่ย?

    พี่โรจน์มีโอกาสติดโฆษณาของป้านิภาได้ ผมดิยังไม่มีโอกาสเลย เศร้าจิต

    อนุญาตเด้อคุณ memtest

  5. ตลาดของคนเสพเว็บไซด์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีศักยภาพพอที่จะนำ API ไปใช้และ คงไม่มีใครคิดถึงเรื่องเงินตราเช่นกันครับ

    ปล. คุณข่า ก็การเอาตาดูจอมันง่ายกว่าการเอามือกระแทก keyboard นี้ครับ 🙂

  6. ถ้าเราอยากให้ เรื่อง contribution เกิดในบ้านเรา เราก็ต้องช่วยกันสิครับ
    แบบใน blog นี้ล่ะ

    ผมมองหลายปัจจัย เป็นวงจรอุบาทว์ เลยล่ะ
    1. ปริมาณน้อย – คนเขียน content ดีๆ น้อย (ไม่นับพี่ไท้ นะ) ในอินเตอร์เน็ทภาษาไทย content ส่วนใหญ่คือ ไร้สาระ และเถื่อน เพราะมันเข้าใจง่ายดี
    2. คุณภาพต่ำ – คนพวกนี้ (ในข้อ 1) ไม่ต้องการ comment ครับ (เดี๋ยวเค้าจะด่าเอา ว่าไม่ฉลาดเลย ไร้สาระฉิบ..)
    3. ยังไม่ฉลาด – คนเก่ง ยังกลัวคนอื่นขโมย ความรู้ (หมายถึง ไม่เก่งจริง)
    4. แล้วก็คิดว่าคนอื่นไม่ฉลาดด้วย – คนอื่นคงไม่เข้าใจหรอก เรื่องฉลาดๆ อ่ะ

    พอคิดได้แบบ 3+4 มันก็เลยเป็นเหตุให้เกิด 1 กับ 2 วนไปวนมาครับ

    ถ้าเราร่วมมือกันแก้เพียง 1 ใน 4 จุดนี้ วงจรนี้ก็จะเริ่มสลายไปครับ

    ขอโทษพี่ไท้ ถ้ามันจะไม่ค่อยเกี่ยวกับ context ของ post นี้นะพี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *