ระบบซอฟต์แวร์แบบ “บอลเกงกิ”

ผมว่าคนรุ่นนี้คงมีน้อยคนนักครับที่ไม่รู้จักดราก้อนบอล การ์ตูนยอดนิยมที่นอกจากจะเตะต่อยกันไวปานความเร็วแสงแล้ว ยังสามารถยิงพลังต่อสู้กันได้อีกด้วย ซึ่งผมเองก็ชอบที่การปล่อยพลังต่อสู้กันนี่แหล่ะ ดูมันเว่อร์ดี แล้วก็มีอยู่ท่านึงที่ผมชื่นชอบมากด้วย นั่นก็คือพลังบอลเกงกิ

หลักการง่าย ๆ … พลังของบอลเกงกิได้จากการรวบรวมพลังจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มารวมกัน รวมจากหลาย ๆ ที่ รวมคนล่ะเล็กคนล่ะน้อย ยิ่งสมัครใจให้พลังก็ยิ่งจะสามารถรวบรวมได้ง่ายเข้าไปใหญ่

ข้อดีของพลังบอลเกงกิก็คือมีอานุภาพรุนแรงมาก อีกทั้งเป็นพลังที่ได้จากการรวบรวมมาจากทุกสารทิศ จึงแบ่งเบาภาระพลังของผู้ใช้พลังได้อย่างอักโข จะเสียก็แต่ต้องใช้เวลารวบรวมนานพอดูกว่าจะปล่อยพลังออกไปได้ แต่หากปล่อยออกไปตรงเป้าหมาย ก็ถือว่าคุ้ม

ผมเองก็เพิ่งจะมีโอกาสให้ความสนใจกับทฤษฎีทางด้าน Human-Based Computation เหมือนกัน ผมชอบเทคนิคของทฤษฎีนี้นะ ไอ้เรื่องการให้ซอฟต์แวร์แบ่งขั้นตอนที่แน่นอน เพื่อส่งงานให้มนุษย์ช่วยทำเนี่ย ชอบจริง ๆ เพราะมันไม่ใช่การแบ่งงานให้กับคนเพียงคนเดียวช่วยทำ แต่มันหมายถึงการแบ่งงานให้คนเป็นแสน ๆ คนช่วยกันทำ โดยกระทำผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องให้มีมนุษย์คอยเจ้ากี้เจ้าการกำหนดกระบวนการใด ๆ

ซึ่งแบบนี้มันต่างจากทฤษฎี Distributed Computing ที่พวกเรารู้จักกัน ทฤษฎีนั้นเป็นการแบ่งงานย่อย ๆ ออกไปให้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องช่วยกันทำงาน โดยการสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่อย่างว่าแหล่ะ ยังไงคอมพิวเตอร์ก็คิดอะไรที่มีเงื่อนไขซับซ้อน ต้องใช้อารมณ์และเหตุผลในการตัดสินใจไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นผมว่า Human-Based Computation น่าสนใจกว่า เพราะมันคือการสร้างซอฟต์แวร์ให้ใช้คนช่วยทำงานให้อ่ะ

ประเด็นก็คือจะไปหาที่เรียน Human-Based Computation จากที่ไหนกันล่ะเนี่ย? ทฤษฎีนี้มันน่าสนใจซะด้วยสิ เพราะดูท่าทางจะเป็นอนาคตของโลกอินเตอร์เน็ต โลกที่คอมพิวเตอร์หมดมุกที่จะคิด เลยพยายามใช้ลูกล่อลูกชน เพื่อให้มนุษย์ช่วยคิดแทนให้ยังไงล่ะ!!!

ป.ล. ถ้าหาเรียนที่ไหนไม่ได้ สงสัยงานนี้ต้องคิดเองแล้วกระมัง!!!

[tags]human-based computation, distributed computing, บอลเกงกิ, genki dama,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “ระบบซอฟต์แวร์แบบ “บอลเกงกิ”

  1. อ่านเกี่ยวกับพลังของบอลเกงกิ (คาดว่ามาจาก ball genki) แล้วก็พาลนึกถึงหนังเรื่อง the matrix ที่จุดเริ่มต้นคือการรวบรวมพลังไฟฟ้าจากมนุษย์แต่เอามาหล่อเลี้ยงเครื่องจักร ตอนที่ดูก็ทำให้นึกถึงว่ามนุษย์เรามีพลังที่ซ่อนในตัวที่เราอาจไม่รู้ว่ามี แต่พลังเหล่านั้นถ้าเอามารวมๆกันแล้วมันคงทำอะไรได้สักอย่าง

    ส่วนเรื่อง Human-based computation ตามไปอ่านใน wiki คร่าวๆ เห็นว่าเมื่อมีการลองทำแล้วก็ได้ประสิทธิภาพที่ดี แต่ก็ยังติดในเรื่องของอิสระเสรีของมนุษย์รวมถึงระดับความเครียดที่ต่างออกไป (อ้างอิงจากตรงส่วน Human-based computation as a form of social organization)

    ก็สอดคล้องกับที่ฉันคิดในใจตอนที่อ่านเฉพาะใน blog นี้ ว่าถ้าให้คอมพิวเตอร์คำนวณและแจกจ่ายงานให้ ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็เหมือนมนุษย์มีเจ้านายคนใหม่เป็นคอมพิวเตอร์ ถูกแจกจ่ายงานจากความเหมาะสมบางอย่าง แต่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนและเพราะมีความนึกคิดของตนเอง รวมถึงความต้องการเสรีภาพในตัวเอง ก็อาจจะก่อให้เกิดการต่อต้านออกมาได้

    อืม ตอบไปก็ไม่แน่ใจว่าเข้าใจในระบบนี้ถูกต้องแค่ไหน เป็นความเห็นที่ได้จากการอ่านน่ะค่ะ

  2. ขอพูดแต่เรื่องบอลเกงกิอย่างเดียวน่ะครับ ถ้ามองให้ดีเหมือนกับOpen Sourceเหมือนกันน่ะ ทุกคนสามารถร่วมกันส่งพลังไปให้โงกุนได้
    เพียงแค่ยกมือขึ้นเช่นเดียวก่ะโอเพ็นซอสที่ทุกคนมี่ส่วนร่วมได้ เช่นช่วยกันแปลเอกสารช่วยกันใช้เป็นเทสเตอร์ไปในตัว แต่ผมชอบช๊อตนึงน่ะไม่รู้จะจำกันได้ป่าว คือตอนที่โงกุนขอพลังเพื่อสร้างบอลเกงจิจากชาวโลก แต่ชาวโลกของเราลังเลที่จะให้เพราะไม่รู้ว่าโงกุนเป็นจอมมารที่มาหลอกขอพลังไปรึเปล่า
    แต่เมื่อmr satanขอเท่านั้นทุกคนพร้อมใจกันช่วยอย่างไม่ต้องลังเล
    มันทำให้เห็นถึงความมีอิทธิพลของคนคนหนึ่งทั้งที่เค้าไม่มีอะไรเลย
    ไม่สามารถสร้างอะไรที่ยิ่งไหญ่ได้ แต่เค้าสร้างภาพได้

  3. ที่ถูกต้องคงเป็น มนุษย์ -> คอมพิวเตอร์ -> มนุษย์ แบบนี้อ่ะครับคุณ cotton หรือก็คือเหนือคอมพิวเตอร์ขึ้นไป ก็มีมนุษย์อีกทีนึงนั่นเอง ^o^

    กลับมาแล้วเหรอคุณ Zelandiax บล็อกของคุณ Zelandiax บางทีก็เข้าได้ บางทีก็เข้าไม่ได้นะ

    อือ จริงด้วยคุณ memtest มิสเตอร์ซาตานก็เหมือนกับนักการเมืองยังไงล่ะ เป็นผู้โน้มน้าวนั่นเอง

  4. มุขนี้ฮาใช้ได้ครับ บอลเกงกิ กับ Opensource ที่ว่าด้วยการช่วยกันสร้างคนละไม้คนละมือ
    จริงๆ มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่มักจะพูดถึงกันเวลาคุยเรื่อง คนคิดแทนคอม นั่นก็คือเรื่อง Mechanical Turk ที่ Amazon เป็นคน implement ได้สำเร็จครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *