คนเราบางทีน่าสงสารนะครับ พอมีทรัพย์สมบัติมาก ๆ เข้า ก็เป็นกังวลว่าเกิดปัจจุบันทันด่วนอะไรไป บุตรและบริวารจะตบตีแย่งชิงทรัพย์สมบัติกัน จนไม่เป็นอันทำมาหากินอะไรอย่างอื่น เมื่อคิดได้ดังนี้ ก็จึงจำเป็นที่จะต้องทำ “พินัยกรรม” ขึ้นมา เพื่อจัดสรรปันส่วนให้ยุติธรรม เกิดปุบปับไปที่ชอบที่ชอบแล้วจะได้สบายใจ ไม่ต้องห่วงอะไรอีก

ปัจจุบันเราจะพบว่าไอ้อะไร ๆ ที่ออนไลน์มันเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ธุรกรรมต่าง ๆ ตอนนี้เริ่มผันขึ้นมาอยู่บนอินเตอร์เน็ต แล้วก็หลาย ๆ ท่านก็ติดบริการหลาย ๆ อย่างบนอินเตอร์เน็ตแล้วซะด้วยสิ ผมเองก็ติดเหมือนกัน เพราะมันรวดเร็วกว่าการทำธุรกรรมด้วยกระดาษแยะ

ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า “พินัยกรรม” สามารถนำขึ้นมาไว้เป็นระบบออนไลน์ได้มั้ย? สามารถที่จะเข้าถึงได้ผ่านอินเตอร์เน็ตได้มั้ย? และรวมถึงเราสามารถร่างมันได้แบบออนไลน์ เหมือนกับที่เราเขียนบล็อกได้มั้ย? เออ น่าคิด

การที่เราจะคิดว่าพินัยกรรมออนไลน์จะเกิดขึ้นได้มั้ย มันไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่มันเกี่ยวกับกฎหมายของเมืองไทยด้วย ว่ามีการรับรองเรื่องแบบนี้ไว้หรือเปล่า ซึ่งเท่าที่ผมอ่านในกฎหมายก็สามารถสรุปปัจจัยหลักของการทำพินัยกรรมตามแบบปรกติได้ดังนี้

  1. ต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเอาไว้ในพินัยกรรม ยิ่งพินัยกรรมทั้งฉบับร่างด้วยลายมือของผู้ทำพินัยกรรมได้ยิ่งดี
  2. ต้องมีพยานสองคนลงลายมือชื่อร่วมด้วย
  3. ถ้าไปทำพินัยกรรมที่อำเภอนี่จะดีสุด เพราะทางอำเภอจะลงบันทึกพร้อมทั้งประทับตราเป็นสำคัญเอาไว้ แบบว่าขลังสุด ๆ

จะเห็นว่ากฎหมายจริง ๆ ก็เปิดช่องเอาไว้ว่า การทำพินัยกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องไปทำที่อำเภอก็ได้ แต่ปัจจัยหลักยังไงก็ต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมและพยานสองคนอยู่ดี

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเทคโนโลยี Digital Signature แล้วก็ตาม แต่ถ้าเราดูดี ๆ ก็จะพบว่า นิยามของการลงลายมือชื่อหรือก็คือการเซ็นลายเซ็นลงบนเอกสาร กับนิยามของ Digital Signature นั้น มันคนล่ะเรื่องกันเลยแฮะ

พินัยกรรมออนไลน์จะเป็นไปได้ ไม่ใช่เพราะว่าผู้รับมรดกจะเชื่อถือมันเท่านั้นหรอกนะ แต่มันต้องถูกต้องตามหลักกฎหมายแบบเป๊ะ ๆ ด้วย … แล้วกฎหมายเมืองไทยเรา จะสามารถก้าวหน้าตามทันความไฮเทคได้มากน้อยแค่ไหนกันหนอ … งั้น … ก็ต้องตามดูกันต่อไปครับ

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,สมมติฐาน,อินเตอร์เน็ต,กฎหมาย,พินัยกรรม,ออนไลน์[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “พินัยกรรมออนไลน์

  1. อืม… น่าคิดแหะ แต่ผมว่ามันคงติดที่ความน่าเชื่อถืออะแหละ รวมถึงความปลอดภัยด้วย ขนาดระบบธนาคารที่ทันสมัยสุดๆ ยังมีคนแฮคระบบได้ แล้วถ้าเผื่อมีญาติคนใดคนหนึ่ง จากแฮคเข้าไปแก้พินัยกรรมไดล่ะ้ เอ่อ… แบบนี้น่าคิดด้วย

  2. พินัยกรรม เป็นเสียงก็ได้นะ ถ้าคิดดูดีๆ
    คำสั่งเสียก่อนตาย ก็น่าจะใช้ได้

  3. เฮ้อ…อย่าให้คิดเลยครับพี่ไท้ ผมว่าคนเราทุกวันนี้ (คิดมาก) ขึ้นทุกวันทั้ง ๆ ที่บางครั้งก็ไม่ได้มีอะไรมากมายนักหรอก (เกี่ยวกันเปล่าเนี่ยะ)

    ฮะๆๆๆ ก็แวะมาหลายครั้งอ่านอย่างเดียว ไม่ได้เมนท์ เดี๋ยวพี่ไท้ จะหาว่าลืมกัน ยังมาอยู่ครับ เหอๆๆๆ

  4. คำสั่งเสียก่อนตายเป็นพินัยกรรมได้ครับคุณ 7 ในกฎหมายบอกเอาไว้ … แต่ … ต้องมีพยาน 2 คนได้ยินคำสั่งเสียครับ จากนั้นทั้งสองต้องรีบรุดไปให้ปากคำแก่นายอำเภอเพื่อบันทึกถ้อยคำพินัยกรรมโดยมิชักช้า ที่สำคัญต้องพูดให้เหมือนกันด้วย ไม่งั้นก็โมฆะไปครับ

    คุณ nadia ผมชอบ nadiacity อ่ะ เลิกแล้วเหรอ?

    คุณสิทธิศักดิ์เข้าบล็อกผมโดยอ่านจาก Feed อ่ะดิ เพราะผมไ่ม่เคยโลโก้ของคุณสิทธิศักดิ์เห็นปรากฎใน MyBlogLog Recent Readers เล้ย

  5. ยังไม่เลิกค่ะคุณไท้ nadiacity.blogspot.com

    กำลังจะย้ายมาที่บล็อกใหม่ blog.nadiamode.com

    แต่ยังไม่ได้ทำเพราะทำเว็บโน้นเว็บนี้เล่นเยอะแยะไปหมด

    เดี๋ยวพอมือว่างก็คงจะกัดชาวบ้านและแฉตัวเองต่อตามประสาคนชอบสาระแน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *