กับดักของธุรกิจซอฟต์แวร์

เคยอ่านหนังสือชื่อเงินสี่ด้านมั้ยครับ มันถูกพิมพ์ออกวางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2544 แล้วก็เช่นเคย คือกว่าผมจะรู้ว่าหนังสือเล่มนี้มันดัง ก็ผ่านไปสองปีแล้ว เหอ ๆ ทั้งปี ไม่เคยรู้อะไรก่อนคนอื่นเลย

หนังสือเล่มนี้อธิบายแหล่งรายได้ที่คนเราจะหาได้ อธิบายไปอธิบายมาเขาก็สรุปว่าถึงสุดท้ายแล้ว มนุษย์อย่างพวกเรามีหนทางเพียงแค่ 4 หนทางเท่านั้น ในการหารายได้เข้ากระเป๋าเราเอง นั่นก็คือ

  • E = Employee = เป็นลูกจ้างในระบบธุรกิจ
  • S = Self Employed = เป็นคนทำธุรกิจอิสระ ทำงานให้กับระบบธุรกิจของตัวเอง
  • B = Business Owner = เป็นเจ้าของกิจการ สร้างระบบธุรกิจขึ้นมา แล้วก็จ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในระบบ
  • I = Investor = นักลงทุน ใช้ทรัพย์สินที่มีทำงานให้กับตัวเอง

(ปล้นเขากินก็ยังถือว่าเป็น S = Self Employed เลย :-P)

ถ้าเราเอาโมเดลของเงินสี่ด้าน มาทาบเทียบกับแนวทางการหาตังค์ของ geek คอมพิวเตอร์ ก็จะได้ดังภาพข้างล่าง

เงินสี่ด้าน สำหรับ geek คอมพิวเตอร์

มันคงเป็นความเป็นจริงที่ว่า ถ้าหากว่าเราคุ้นเคยกับการหารายได้จากแหล่งใดได้อย่างสม่ำเสมอ เราก็จะยึดติดกับแหล่งรายได้ดังกล่าวไว้ ไม่ยอมปล่อยไปไหน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ แล้วเราก็ได้เงินเดือนเยอะซะด้วย เราก็จะพยายามยึดงานนั้นเอาไว้ พร้อมทั้งสอดส่ายสายตาหางานใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าต้องเป็นงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่เราถนัด และเป็นลูกจ้างเหมือนที่เป็น เป็นต้น

ยิ่งเสพผลตอบแทนจากด้านใดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งติดด้านนั้นมากเท่านั้น!!!

โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าธุรกิจที่ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อขายนั้น มีค่าการตลาดต่ำมากเลยนะ หรือถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือทำแล้วไม่กำไรเท่าไหร่ เผลอ ๆ จะขาดทุนเอาด้วยซ้ำ เพราะซอฟต์แวร์มันทำสำเนาได้ แถมทำการตลาดยากอีกต่างหาก

แล้วพอมันเป็นแบบนี้ นักลงทุนซึ่งอยากจะลงทุนในธุรกิจซอฟต์แวร์ก็เลยแหยง ไม่กล้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธุรกิจซอฟต์แวร์ซักเท่าไหร่ แย่กันเป็นทอด ๆ เลย

ทางด้านบริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ ๆ เอง ก็หนีไปรับจ้าง customize หรือไม่ก็ implement ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปแพง ๆ ให้กับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หรือองค์กรราชการขนาดใหญ่แทน

ผมกำลังสงสัยนะ ว่าต่อไปธุรกิจซอฟต์แวร์ระดับเล็กจนถึงระดับกลางของเมืองไทย จะหาช่องเพื่อเติบโตขึ้นเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ได้ยังไงเหมือนกัน เพราะรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจไทย มันไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยเลย พับผ่าสิ

ป.ล. ถ้าบริษัทเหล่านี้ไม่รีบโตล่ะก็ เด็กจบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ คงหางานกันยากขึ้นแหง ๆ เลย

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ธุรกิจซอฟต์แวร์,geek,การจัดการ[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “กับดักของธุรกิจซอฟต์แวร์

  1. คนเเรกซะงั้น
    ซวยเเล้วสิตูถ้าเป็นอย่างที่พี่ว่าจริง หุหุ
    หาเงินจากไหนดีละ เห่อๆๆ

  2. ไอ้เจ้าเงินสี่ด้านเนี่ย ผมก็เพิ่งรู้จักเมื่อสองสามเดือนก่อนนี่เองครับ
    เห้อเห็นแบบนี้แล้วเศร้า อนาคตตัวเอง

  3. e-book delphi อัพให้เเล้วนะครับ ที่หัวข้อว่า งานที่โปรเเกรมเมอร์ไม่ชอบทำ ท้ายๆๆอะ เออว่าเเต่โพสอย่างนี้โดนจับไหมอะอิอิ มีกฎหมายข้อนี้ด้วยไหมหว่า? ว่าไปพี่ไท้พูดเรื่องกฎหมายที่นักเล่นเนตชอบทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวบ้างดิ ครับอย่างรู้อิอิ

    ปล จริงๆๆไม่อยากโพสนอกเรื่องในคอมเมนเลยมันทำให้เสียสมดุลในการจัดอันดับไป เเต่ไม่รู้จะคุยกับทุกคนได้ที่ไหนเนี้ยนะสิ

  4. ^o^ เป็นลูกจ้างไปก่อนก็แล้วกันครับคุณ bin เหมือนผมไง

    หุ ๆ คุณ wiennat เชยกว่าผมอีกนะเนี่ย 😛

    คนเล่นเน็ตมักจะทำผิดกฎหมายอยู่สองเรื่องใหญ่ ๆ ครับคุณ bin นั่นก็คือการหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา และการหลอกหลวงประชาชนครับ

    ส่วนการละเมิดลิขสิทธิ์และการฉ้อโกงประชาชนนั้น ถือว่าเป็นส่วนน้อยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *