ดูเหมือนการทำให้เว๊ปของตัวเองโด่งดัง โดยการหยิบยืมปัญญาสาธารณะมาใช้ ชักจะไม่ค่อยเวิร์กซะแล้วครับ คือผมก็เข้าใจนะว่าโดยแนวคิดปัจจุบันตอนนี้เนี่ย การจะทำให้เว๊ปโด่งดังได้ มันต้องเป็นอะไรที่เป็นชุมชน แบบว่าต้องให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกันได้มาก ๆ

แต่ทีนี้มองในมุมกลับแล้วเราก็จะพบว่า มันเป็นการผูกขาดกลาย ๆ เหมือนกัน เพราะมันจะกลายเป็นว่าผู้ก่อตั้งเว๊ปไซต์ คือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด จากการที่มีคนในชุมชนสละปัญญาคนล่ะเล็กคนล่ะน้อย มาช่วยกันสร้างสรรค์เนื้อหาให้กับเว๊ปไซต์

ผมเองเคยเขียนเรื่องระบบเปิดเอาไว้ แต่ผมเขียนขาดไปแค่ส่วนเดียว ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก แล้วผมก็ลืมที่จะเขียนมันไป เพราะมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผมเลยไม่สนใจ นั่นก็คือ …

เราต้องคิดว่าเมื่อใดก็ตามที่เราสร้างระบบเปิดได้ถึงขั้นนั้น ขั้นที่ชุมชนภายในระบบของเราเข้มแข็งขึ้นมา เมื่อนั้นเราก็ต้องเตรียมใจที่จะถูกคนในชุมชนเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิในการปกครองควบคุมด้วย

เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก มันเป็นเรื่องของอำนาจ, อิทธิพล และผลประโยชน์ การจะให้ใคร ๆ มาสละปัญญาเพื่อสาธารณะ โดยที่เขาไม่ได้สิทธิที่ตอนนี้เขาอาจยังไม่อยากได้ แต่ต่อไปเขาอาจจะอยากได้จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะส่วนใหญ่ก็โต ๆ กันแล้ว ฉลาดเป็นกรดกันทีเดียว ^o^

ทีนี้ถ้าผมคิดจะเล่าเรื่องนี้ก็จำเป็นต้องแยกอธิบายเป็นสองเรื่อง โดยเรื่องแรกจะเป็นเรื่องของอำนาจ และอีกเรื่องนึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์

เรื่องของอำนาจ

ถ้าเราจะสร้างเว๊ปไซต์ชุมชนขึ้นมา เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดปล่อยวางอำนาจตั้งแต่แรก ซึ่งก็เข้าใจว่าการจะปล่อยวางอำนาจนั้น สามารถทำได้โดยการสร้างกลไกประชาธิปไตยขึ้นมาในเว๊ปไซต์ ซึ่งมันก็มีต้นทุนในการสร้างที่สูงพอสมควร

เพราะโดยกระดูกสันหลังของประชาธิปไตยนั้นคือการลงมติ เราก็ต้องมานั่งแจกแจงว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ควรให้สิทธิ์กับสมาชิกในชุมชนลงมติได้ ซึ่งมันก็แจกแจงได้ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ มัน ad hoc มาก ดังนั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกซอฟต์แวร์ของเรา ให้มีขอบเขตในการลงมติ แยกเป็นหัวเรื่องใหญ่ ๆ อะไรก็ว่าไป

ที่ผมคิดเอาไว้ก็จะประมาณว่ามีการเสนอญัตติขึ้นมา โดยอยู่ในขอบเขตของหัวเรื่องใหญ่ ๆ ที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อให้ใคร ๆ เข้ามาคอมเม้นท์ได้ แล้วก็ลงมติได้ด้วย อีกทั้งญัตติดังกล่าวก็ต้องมีการกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลา ซอฟต์แวร์มันก็จะอ่านผลของการลงมติ แล้วลงมือปฏิบัติตามมติทันที ยกตัวอย่างเช่น

หัวเรื่องของการลงมติมี 5 แบบ ประกอบไปด้วย

  1. มติเพื่อการลบหัวข้อ
  2. มติเพื่อการลบคอมเม้นท์
  3. มติเพื่อปิดหัวข้อไม่ให้ออกความเห็น
  4. มติเพื่อการเปลี่ยนสถานะบางอย่างของสมาชิก จากที่เคยทำอะไรได้ ก็ทำไม่ได้
  5. มติเพื่อการเนรเทศสมาชิก

จะเห็นว่ามติข้างบนนี้เป็นมติแบบพื้นฐาน ที่เราจะสามารถทำกลไกให้สมาชิก ระบุพารามิเตอร์ไม่กี่ตัวประกอบการเสนอมติได้ และเมื่อระบบอ่านผลของการลงมติ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ก็จะสามารถลงมือปฏิบัติตามมติได้ โดยที่ผู้ก่อตั้งไม่จำเป็นต้องไปรับรู้หรือเปลืองตัวกับเรื่องพวกนี้เลย เพราะของแบบนี้ระบบซอฟต์แวร์มันทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ หากมีพารามิเตอร์ที่เพียงพอ

อีกทั้งผลของการลงมติแบบนี้ก็จะถูกเก็บเป็นประวัติศาสตร์เอาไว้ สมาชิกในชุมชนก็จะรู้สึกพอใจ เพราะจะสามารถ tracking ได้ว่าใครบ้างที่เป็นคนลงมติ และลงมติแบบไหน ตอบรับหรือคัดค้าน

ซึ่งแบบนี้สมาชิกในชุมชนก็จะรู้สึกว่าตนเองก็มีสิทธิ์มีเสียงที่จะตัดสินใจอะไรได้เองเหมือนกัน แบบนี้ก็เป็นเรื่องดีนะผมว่า

ไว้คราวหน้ามาต่อเรื่องผลประโยชน์บ้างครับ

ป.ล. ผมไม่เคยเขียนอะไรที่มีภาคต่อเลยนะ ครั้งนี้ครั้งแรกจริง ๆ ^o^

[tags]การจัดการ,การลงมติ,อำนาจ,อิทธิพล,ผลประโยชน์,ประชาธิปไตย์,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ชุมชน[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “โมเดลใหม่

  1. อืม แล้วไม่คิดบ้างเหรอว่า ผู้ก่อตั้งเขาก็มีต้นทุนเหมือนกัน แล้วคนที่เข้ามาใช้งานก็ได้รับประโยชน์ไปแล้ว คือเป็นทั้งผู้ให้ และ ผู้รับ

    ถ้าเวปนั้นปกครองไม่ได้จริงๆ ปิดไปเลยง่ายกว่าไหม

  2. เมื่อเริ่มก่อตั้งเวปเป็นแบบ community ก็คงต้องทำใจและกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องการบริหารและการแบ่งผลประโยชน์ให้กับนักเชียนรับเชิญไว้พอสมควรนะคะ ยกเว้นแต่ว่าเป็นเวปที่ทำเพื่อสาธารณประโยชน์ และผู้บริหารเวปก็ไม่ได้รับผลประโยชน์จากที่ใดเข้าพกเข้าห่อตัวเอง อย่างนี้เรื่องผลประโยชน์คงไม่ต้องพูดถึง

    ทำเวปบลอกเพื่อความสนุกส่วนตัวก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ (อิอิ)

  3. ถ้าคนคิดจะทำแบบนี้ ก็ต้องยอมรับเรื่องต้นทุนที่ตามมาอยู่แล้วหละ ไม่เช่นนั้นจะ เปิดให้คนอื่นมาใช้ฟรีๆ ทำไม?
    จริงๆ ถ้าทำเว็บแบบนี้อยากให้มีการลงมตินะ อย่าง youtube ถ้ามีการให้โหวตคลิปไม่เหมาะสม คลิปที่เป็นปัญหามันก็คงหายไปอย่างรวดเร็ว(เพราะคนไทยได้ forward mail แล้วก็แห่กันไปโหวตให้หายไป) แต่ว่ามันจะแก้ปัญหาได้จริงหรือป่าวนี่สิ? โอยคิดแล้วปวดหัวจริงๆ

  4. คิดว่าผู้ก่อตั้งมีต้นทุนครับคุณ 7 ไม่ใช่น้อยด้วย ไหนจะค่าโดเมน, ค่าโฮสติ้ง, ค่าเขียนโปรแกรม, ค่าหาข้อมูล จิปาถะ ผมจึงแยกที่จะเขียนเรื่องผลประโยชน์เอาไว้ในอีกหัวข้อนึง เป็นการแยกเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ออกจากกัน

    เห็นด้วยครับคุณ aoyoyo อิ อิ แต่ว่านะจะบ่นหน่อย บล็อกคุณ aoyoyo อ่ะ ปฏิเสธเวลาผมเข้าด้วย IE นะ แบบว่าเข้าด้วย IE ทีไร ถีบผมออกทุ้กกกกกที สุดท้ายเลยต้องใช้หมาย่างเปิดแทน

    ยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้หรือเปล่าอ่ะครับคุณ nat3 มันเป็นเพียงแนวคิด ยังเป็นทฤษฎีไม่ได้ด้วยซ้ำ

  5. ไม่ว่าโลกแห่งความจริงและโลกไซเบอร์ ถ้ามีมนุษย์เข้าไปอยู่ร่วมกันมันย่อมจะมีปัญหาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองในชุมชนนั้นล่ะครับจะมีวิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
    เพื่อให้ชุมชนดำเนินต่อไปได้อย่างไร ตอนนี้ก็เกิดความขัดแย้งในชุมชนที่ผมเป็นสมาชิกอยู่เช่นเดียว หวังว่าจะจบลงไปได้รวดเร็วและผู้ปกครองคงมีมาตราการที่เป็นบรรทัดฐาน เพื่อใ้ห้ปัญหาอย่างงี้จะได้ไม่เกิดขึ้นมาอีก

    อิอิิอิมาบ่นอะไรให้พี่ไท้ฟังเนี่ย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *