ทราบกันมั้ยครับว่าการบีบอัดข้อมูลนั้น เป็นภาคอวตารนึงของการเข้ารหัสข้อมูล 😛 บางท่านอาจจะทราบ แต่ก็คงมีอีกหลาย ๆ ท่านไม่ทราบ

จุดประสงค์หลักของการบีบอัดข้อมูลก็เพื่อลดทรัพยากรที่ต้องใช้ อันได้แก่

  • ลดเนื้อที่ในหน่วยความจำสำรอง ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Drive หรือ
  • ลดภาระในการส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณเครือข่าย เพื่อให้ส่งน้อยครั้ง แต่ได้สาระสำคัญมาก ๆ เป็นต้น

จริง ๆ แล้วการคิดค้นทฤษฎีบีบอัดข้อมูล ไม่ใช่เรื่องของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แต่เพียงฝ่ายเดียวครับ เป็นบทบาทของนักคณิตศาสตร์ด้วย ที่จะช่วยกันคิดค้นขึ้นมา

การบีบอัดข้อมูล

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้หน่วยความจำสำรองจะใหญ่โตมากขึ้น และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงมากขึ้น แต่การบีบอัดข้อมูลก็ยังไม่ได้ด้อยความสำคัญลงไป ซึ่งก็คงเป็นเพราะว่ามิติและความซับซ้อนของข้อมูล, ภาพ, เสียง, วีดีโอ ซึ่งเราจะเก็บนั้น มันมีรายละเอียดเยอะขึ้นนั่นเอง

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ทฤษฎีการบีบอัดข้อมูลในยุคปัจจุบัน มีการใส่ทฤษฎีการเดาเข้าไปด้วย เพราะขั้นตอนการบีบอัดข้อมูลนั้น จำเป็นที่จะต้องตัดกลุ่มข้อมูลที่ไม่ใช่สาระสำคัญออกไป เพื่อให้ได้เนื้อข้อมูลจริง ๆ เก็บเอาไว้

แต่เมื่อจะต้องคลายการบีบอัดข้อมูล กลับจำเป็นต้องนำเอากลุ่มข้อมูลที่ไม่ใช่สาระ ที่ถูกตัดออกไปกลับมา มันเป็นเวรกรรมเลยนะเนี่ย ของที่ตัดออกไปแล้ว แล้วจะเอากลับมาได้ยังไง

เขาก็เลยใช้วิธีนี้ครับ โดยตอนที่จะบีบอัดข้อมูลแล้วตัดกลุ่มข้อมูลที่ไม่ใช่สาระสำคัญออกไปนั้น จะมีการทิ้งร่องรอยของกลุ่มข้อมูลที่ถูกตัดออกไปเอาไว้ในเนื้อข้อมูลที่บีบอัดด้วย เพื่อเวลาคลายการบีบอัดออกมา จะได้ใช้ร่องรอยที่ทิ้งเอาไว้ เดาข้อมูลที่เป็นไปได้ แล้วสร้างขึ้นมาใหม่แทน

ผมเคยรู้มา จำไม่ได้ว่าใครเล่าให้ฟัง แต่เขาบอกว่าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐนั้น สามารถที่จะบีบอัดลายนิ้วมือของมนุษย์ ให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ข้อมูล โดยบีบให้ข้อมูล 1 ลายนิ้วมือ ใช้เนื้อที่เก็บเพียงแค่ 256 ไบต์เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วการสแกนลายนิ้วมือ แล้วแปลงเป็น Tranning Vector ด้วยทฤษฎี WaveLet นั้น ถ้าเก็บจริง ๆ โดยไม่บีบอัดเลย อย่างน้อย 1 ลายนิ้วมือก็ต้องใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 200KB เป็นแน่แท้

ยังไม่มีข่าวว่าการบีบอัดข้อมูล ถือเป็นอาวุธสงครามเหมือนกับการเข้ารหัสข้อมูล แต่ต่อไปก็ไม่แน่เหมือนกันครับ

[tags]บีบอัดข้อมูล,เข้ารหัสข้อมูล,ถอดรหัสข้อมูล,ลายนิ้วมือ,คอมพิวเตอร์,การสร้างซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “บีบ บีบ บีบ

  1. พี่ไท้คะ ถ้าเราจะ “บีบ” ก็ตาย จะ”คลาย” ก็รอด กับคนนี่ ในที่สุดจะนำพาไปสู่ “การเข้ารหัส” คนคนนั้นรึเปล่าคะ อ่า…แบบว่า ช่วงนี้กำลังโดนรัฐบาลบีบๆ เรื่องเข้ารหัส ถอดรหัส อะไรนี่อยู่ (พูดอีกนัยหนึ่ง ก็การลักลอบดักฟัง …)

  2. เอ คุณ aoyoyo ทำงานให้กับบริษัทโทรคมนาคมไหนอยู่น้า นึก ๆ ๆ ๆ นึกไม่ออกแฮะ เอาเป็นว่าถ้ารัฐบาลบีบ เราก็ทำตาแป๋วแล้วบอกว่า ม่ายรู้เรื่อง แบบนั้นดีกว่าเน้อะ

    ยังไม่ล้ำลึกเลยครับคุณ 7 อิ อิ

    ใช้ Feed Reader เด่ะคุณ xinexo จะได้อ่านทัน ไม่ตาลายด้วย ลองเน้อะ ลอง ๆ ^o^ ผมเองก็ว่าจะเขียนให้น้อยหน่อย ซักปีล่ะเรื่องคงจะดี อิ อิ เพราะกำลังจะหมดมุขแล้ว

  3. แหงะ ปีละเครื่อง ผมก็ไม่มีไรอ่านจิ T T”
    แต่ว่าถ้ามันเดาเพื่อคลายการบีบอัดข้อมูลได้ ก็น่าจะเดาอย่างอื่นได้นะ อย่างเวลาใช้ voice recognition น่าจะเดาได้ว่าเราจะพูดอะไรไป มีหรือป่าวน๊า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *