ผมชอบอินเตอร์เน็ตครับ มันทำให้คนฉลาดไม่มากอย่างผมฉลาดขึ้นมาได้ เวลาผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ แล้ว ผมรู้สึกมีความสุขจัง 😛 ผมโรคจิตหรือเปล่าวะเนี่ย?

ปัจจุบันเราจะพบว่าเว๊ปไซต์และบล็อกเกิดขึ้นอย่างมากมายเต็มไปหมดครับ แล้วก็มีการจัดประเภทของเว๊ปไซต์เอาไว้ด้วย ลองตามไปอ่านดูจากที่นี่อ่ะครับ เขาจัดไว้หลายประเภทเลย

ถึงแม้เขาจะจัดเว๊ปไซต์ไว้หลายแบบมากมาย แต่เอาเข้าจริงแล้ว ถ้าเราแยกดี ๆ ก็ได้แค่สองสามแบบเอง อย่างรูปข้างล่างนี้เป็นรูปแบบเว๊ปไซต์ในยุคแรกครับ

ระบบปิด

ยุคแรกเจ้าของจะโซโล่เองหมดเลยครับ ทั้งส่วนของ Base และส่วนของ Data ประมาณว่าเจ้าของหรือคนของเจ้าของ จะชงเองกินเอง คนที่เข้ามาที่เว๊ปไซต์ ก็ได้แต่อ่าน ๆ ๆ แล้วก็จากไป ระบบนี้เรียกได้อีกอย่างนึงว่าระบบปิด

พอผ่านมายุคสอง ก็ผ่านปี พ.ศ. 2540 มาพอดีครับ ก็เลยเกิดยุคใหม่ขึ้นมาก่อนยุค Web 2.0 เรื่อยมาจนถึงยุคที่เรียกว่ายุค Web 2.0 แบบว่าจะมีศัพท์ขึ้นมาเยอะแยะเลยครับ ผมก็จำไม่ค่อยได้ด้วย เลยไม่รู้จะเอาปัญญาที่ไหนมาจาระไนให้อ่านกัน ที่นึก ๆ ออกก็มี Forum, Social Networking, Wiki, Podcasting, Picture Sharing, Video Sharing, Blog หรือ Software as a Service อะไรประมาณนี้อ่ะ

มันเป็นยุคที่สดใสซะจริง เพราะเจ้าของหรือคนของเจ้าของเว๊ปไซต์เริ่มรู้แล้วว่า ถ้าอะไร ๆ ก็ทำเองหมด คงอ้วกแตกอ้วกแตนแน่ ว่าแล้วก็เลยเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมหรือสมาชิก ได้มีส่วนร่วมในการโซโล่ จัดการข้อมูลเองบ้าง โดยตัวเจ้าของนั้น สร้างระบบ Base เอาไว้ รวมทั้งสร้าง Data พื้นฐานเอาไว้ส่วนหนึ่ง แบบรูปข้างล่าง

ระบบเปิด เปิดให้จัดการข้อมูล

ระบบแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นระบบเปิดแล้ว ผู้เยี่ยมชมเว๊ปไซต์ซึ่งอึดอัดเพราะถูกกันท่าไม่ให้ตัวเองได้แสดงออกบ้าง ก็ลิงโลดซะเหลือหลายครับ ปรากฎการณ์นี้เกิดอยู่ทุกหัวระแหงครับ จนจาระไนไม่หมด

คนทำเว๊ปไซต์เองก็ชอบครับแบบนี้ เพราะไม่ต้องมาจัดการข้อมูลเองอีกแล้ว มีสมาชิกหรือผู้เยี่ยมชมช่วยจัดการข้อมูลให้, ช่วยทำการตลาดแบบปากต่อปากให้ อันนี้เป็นฝันของคนทำเว๊ปไซต์เลยล่ะ 😛 ใช้แรงของคนอื่นทำงานให้ ใช้เวลาของคนอื่นทำงานให้ เนียน ๆ จริง ๆ

แต่สุดท้ายที่ผมวาดฝันไว้มันมากกว่านั้นติ๊ดนึงครับ จากภาพข้างบนจะเห็นว่ามีแต่ส่วน Data เท่านั้น ที่เป็นระบบเปิดสำหรับสมาชิกหรือผู้เยี่ยมชม แต่ส่วนของ Base นั้น ยังถูกกันไว้สำหรับเจ้าของสร้างและดูแล ซึ่งภาพที่ผมวาดฝันไว้เป็นแบบข้างล่างครับ

ระบบเปิดในฝัน

จากภาพข้างบนจะเห็นว่า ไม่ใช่แค่ส่วน Data เท่านั้นที่เจ้าของทำเป็นระบบเปิดไว้ให้จัดการได้ ส่วนของ Base เองก็ทำเป็นระบบเปิดไว้ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าเจ้าของเองจะสร้าง Base เอาไว้แล้วส่วนหนึ่งก็ตาม

ซึ่งส่วนของ Base ที่ผมโม้นั้นหมายถึง program instruction นั่นเองครับ

เจ้า program instruction มันก็คือกลไกการทำงานซึ่งทำให้ Base เป็นไปอย่างที่เราต้องการครับ มันเป็นไปได้เยอะแยะเลย มันจะเป็น code program ภาษาใดภาษาหนึ่งก็ได้, มันจะเป็น Visual Component ที่ให้เราลาก ๆ แล้วก็แปะ ๆ ก็ได้, หรือมาจะเป็น Icon Control ที่จะให้เราจัดกระบวนการทำงานก็ได้ ไม่ถือครับ ขอแค่ทำเสร็จแล้ว ปะติดปะต่อเป็น Base ได้ก็พอ

ผมรู้จักซอฟต์แวร์น้อยครับ แต่ผมมองว่า WordPress เองก็มีลักษณะคล้าย ๆ แบบนี้เหมือนกัน นั่นก็คือมันเป็นระบบเปิดที่อนุญาติให้ใครก็สามารถสร้าง plugins เสริมเข้าไปทำงานร่วมกับมันได้ แถมอนุญาติให้เข้าไปแก้ไข plugins ในระบบได้ด้วย ซึ่งการทำแบบนี้ได้ก็คือการสร้าง Base เพิ่มได้นั่นเอง

ระบบซอฟต์แวร์แบบเปิดเป็นของยากนะครับ ออกแบบยากมากเลยล่ะ มันยากกว่าการคิดสร้างซอฟต์แวร์โดยใช้หลักการ Object Oriented ซะอีก เพราะเราต้องเริ่มคิดตั้งแต่ต้นเลยว่า เราจะเปิด เปิด เปิด และเปิด ดังนั้นความคิดแบบปิดปิดของเราจะใช้ไม่ได้เลย เมื่อต้องมาออกแบบระบบเปิดที่ว่ามานี้

ผมเองก็คิดจะออกแบบระบบซอฟต์แวร์แบบเปิด ที่จะอนุญาติให้สมาชิกและผู้เยี่ยมชม สามารถเข้ามาสร้าง Base และ Data ได้เหมือนกันครับ ก็คิดต่อไปเรื่อย ๆ ครับ จนกว่าผมจะล้านหมดหัวพอดี อิ อิ 😛

[tags]open system, close system, program instruction,software as a service,saas,คอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

10 thoughts on “ระบบเปิด

  1. แจ่มมากเลยครับพี่ เหอๆๆๆ คิดได้ไงเนี่ยะ แต่ก็เห็นด้วยครับกับความรู้เรื่องนี้ จริง ๆ ผมเองก็แค่สังเกตุครับ เพราะไม่ได้เก่งเรื่องซอฟแวร์อะไรเท่าไหร่ จากที่ผมเองพอรู้ ๆ มานั้นเหมือนพี่ไท้ว่ามาเดะเลยครับ ไม่มีผิดเพี้ยนแต่อย่างใด

    ขอบคุณครับ

  2. ถ้าพี่คิดได้เมื่อไหร่ ผมขอเป็นคนแรกเลยแล้วกันนะครับ (ไว้ให้ผมเก่งกว่านี้หน่อย จะช่วยคิดด้วย แต่ตอนนี้คงต้องให้พี่คงไปพลางๆก่อนแล้วกันครับ)

  3. ที่ว่ารู้มานั้นเหมือนที่ผมว่าไว้นี่ หมายถึงคิดจนหัวล้านหมดหัวหรือเปล่าครับคุณสิทธิศักดิ์ 😛

    ผมดีแต่คิดแล้วโม้ครับน้องโอ คงทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ค่อยได้อ่ะครับ ผมรักสนุก ไม่เคยจริงจังอะไรเลยครับ

    ผมตามไปเยี่ยมเว๊ปไซต์ ตามลิงค์ที่คุณ nat3 ให้มาแล้วนะ โหย มันเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่ธรรมดาเลยอ่ะ มันเปิดอ้าซ่าไว้ให้ใคร ๆ เข้าไปทำ feed ได้ง่าย ๆ เลย แถมยังให้พวกเราบริการตัวเองด้วย ดู ๆ แล้ว ผมก็ยังใช้ไม่เป็นเหมือนกัน T-T สงสัยต้องตั้งใจอ่านเอกสารการใช้ให้มากกว่านี้

  4. ว่าแต่จะคอมเม้นท์บล็อกคุณ nat3 ได้ ผมต้องสมัคร Live ด้วยเหรอเนี่ย โหย ยุ่งยากอ่ะ ผมไม่มีซะด้วยสิ ไอ้เจ้า Live Login ID น่ะ T-T เศร้าจิต

  5. เป็นข้อลำบากอย่างนึงของ live แหละครับ T_T คิดจะย้ายอยู่เหมือนกันแต่ยังไม่มีเวลา (จริงๆ มีอีกที่ ของ blogger ไว้เอาอันนั้นมาใส่แทนละกันครับ)

  6. เห็นคุณ a8gust บอกว่าเลือกได้อ่ะคุณ nat3 ว่าจะคอมเมนท์โดยไม่ต้องมี live id ก็ได้ นี่แสดงว่าผมไม่ได้ตั้งใจสังเกตุจริง ๆ ด้วยแหล่ะ งั้นคราวหน้าเอาใหม่

    ผมว่าจะลองหัดใช้อยู่อ่ะครับคุณ pittaya ว่าตกลงมันมีกลไกดี ๆ อะไรให้ใช้บ้าง เดี๋ยวรอขยันหน่อยแล้วจะไปลองดู

    เมื่อถึงเวลาครับคุณ luvfe อิ อิ 😛

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *