ปัจจุบันผมยังคิดว่าพวกเรายังอยู่ในยุคแห่งการปฏิวัติสารสนเทศอยู่นะ โดยเป็นการปฏิวัติเป็นส่วน ๆ กันไป แยก ๆ กันปฏิวัติ

นิยามการปฏิวัติก็คงต้องหมายถึงความเปลี่ยนแปลง การปฏิวัติสารสนเทศก็มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่โน้มเอียง, พึ่งพิง และอิงแอบอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์, ระบบซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่าย

สินค้าทดแทนเองก็เป็นผลข้างเคียงจากการปฏิวัติสารสนเทศ เพราะเมื่อการปฏิวัติสารสนเทศสำเร็จเป็นส่วน ๆ ไปนั้น ก็จะทิ้งผลลัพท์เอาไว้ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างพวกเรา ที่เคยอุปโภคบริโภคสินค้าชนิดหนึ่ง แล้วหันเหไปอุปโภคบริโภคสินค้าชนิดใหม่

บางครั้งการหันเหจากสินค้าเดิมไปใช้สินค้าทดแทนตัวใหม่ อาจเป็นแบบปัจจุบันทันด่วน เปลี่ยนกันแบบรวดเร็ว ทันทีทันใด แต่บางครั้งก็ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ

ในหลาย ๆ ครั้ง สินค้าเดิมก็ยังคงอยู่ แต่อยู่ในฐานะร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ มีการใช้งานบ้าง แต่ก็กระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มน้อย ที่ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับสิ่งที่ตนเองเคยอุปโภคบริโภคอยู่ อันเนื่องจากความเคยชิน

ผมลองนึก ๆ ดูครับ ว่าปัจจุบันนี้เรามีสินค้าทดแทนอันเกิดจากการปฏิวัติสารสนเทศอะไรบ้าง ก็ได้ตามตารางข้างล่างนี้

ตารางสินค้าทดแทนอันเกิดจากการปฏิวัติสารสนเทศ

จากตารางข้างบน เป็นเพียงส่วนน้อยที่ผมนึกได้ คิดว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ใครหลายคนอาจจะนึกได้ แต่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในตารางนี้

โดยพื้นฐานแล้วอานุภาพแห่งสินค้าทดแทน ไม่ส่งผลกระทบถึงผู้อุปโภคบริโภคอย่างพวกเรามากนัก เพราะถ้ามันออกมาใหม่ เราก็คิดนิดหน่อย จากนั้นก็ควักตังค์ในกระเป๋าจ่ายออกไปเพื่อซื้อมันมา แล้วก็หัดเรียนรู้ใช้งานมันอีกเล็กน้อย ก็สามารถใช้งานมันได้แล้ว

แล้วอานุภาพแห่งสินค้าทดแทน มันจะไปกระทบถึงใครล่ะเนี่ย?

มันเป็นคลื่นพลังที่กระแทกไปถึงธุรกิจที่ผลิตสินค้าเดิมครับ!!!

เมื่อวานผมโม้เอาไว้เรื่อง สาวกของคอมพิวเตอร์ ในนั้นนอกจากผมจะโม้เรื่องการจ้างงานที่ต้องการทักษะทางคอมพิวเตอร์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเขียนแฝงเอาไว้ก็คือ ธุรกิจจะประกอบด้วย “นายทุน” และ “แรงงาน”

การถูกสินค้าทดแทนแย่งส่วนแบ่งตลาดไป ย่อมทำให้สินค้าเดิมส่วนแบ่งตลาดน้อยลง ทำให้สัดส่วนของรายได้ลดลง อันนำมาสู่การเท่าทุนหรือขาดทุนของธุรกิจที่ผลิตสินค้าเดิมนั้น ๆ

เมื่อธุรกิจที่ผลิตสินค้าเดิมไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ก็ย่อมนำมาซึ่งการเลิกกิจการ และทำให้ “พนักงาน” หรือ “ลูกจ้าง” ต้องตกงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผมไม่เคยเห็นรัฐบาลช่วยทำตัวเลขสถิตินี้ให้ดูนะ แต่ผมเชื่อว่าโดยส่วนใหญ่แล้วภาวะคนตกงานในประเทศไทย ซึ่งคนตกงานเหล่านั้นเป็นแรงงานนั่งโต๊ะและใช้สมองทำงาน มีสาเหตุมาจากการปฏิวัติสารสนเทศในสัดส่วนที่ไม่น้อยเลยล่ะ

ดูเหมือนว่าตราบใดที่เรายังต้องเป็นชนชั้นแรงงานอยู่ เราก็คงต้องทำนายอนาคตธุรกิจของบริษัทที่เราทำงานอยู่ด้วย ว่าในอนาคตข้างหน้า บริษัทที่เราทำงานอยู่นั้น จะต้องเลิกกิจการไป เพราะต่อสู้กับสินค้าทดแทนที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตไม่ได้หรือเปล่า

[tags]สินค้าทดแทน,แรงงาน,สินค้าเดิม,นายทุน,พนักงาน,ลูกจ้าง,อานุภาพ,ปฏิวัติสารสนเทศ,ตกงาน[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “อานุภาพแห่งสินค้าทดแทน

  1. พูดถึงสินค้าทดแทน ก็นึงถึงสิ่งนี้ขึ้นมาเลย

    ฟิล์ม >> mmc,sd,memory stick,compact flash

  2. ผมว่าคนเราไม่เคยหยุดนิ่งนะคับ
    มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ
    ถ้าคิดไปถึงสมัยก่อนโน้น

    เค้าใช้นกส่งจดหมาย ไปเป็น telegraph แล้วปัจจุบันเป็นโทรศัพท์ แล้วก็พัฒนามาเป็น IM อนาคตอาจจะเป็นโทรจิตก็ได้นะคับ

    เครื่องพิมพ์ดีด เป็น word processing อนาคตอาจจะใช้เป็น voice command ก็ได้ ปัจจุบันก็มีให้เห็นในหลายๆ อย่างแล้วคับ

    เมื่อก่อนเดินทางทางเท้าอย่างเดียว เริ่มมีรถ แล้วก็ีบอลลูน จากบอลลูนพัฒนาเป็นเครื่องบิน แล้วตอนนี้เป็นจรวด เริ่มมีทัวร์ท่องอวกาศ อนาคตอาจจะได้ไปอยู่ที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นได้คับ
    ความจริงอันนี้แตกไปได้เยอะนะคับเนี่ย มี sky train กับ subway รวมแล้วคือรถไฟ แต่ผมอยากได้ teleport สุดคับ อาจจะอีกซักร้อยปี

    จากหนังสือกลายมาเป็น ebook อนาคตอาจเป็นชิพที่ใส่เข้าไปในร่างกายเพื่อให้ความรู้ก็ได้คับ ประมาณ the matrix คับ

    ถ้าจะให้นึกต่อคงมีอีกเยอะนะคับ
    ประเด็นคือคนเราไม่เคยหยุดนิ่ง ทุกอย่างถูกพัฒนาตลอดเวลาคับ
    จะมีอะไรต่อไปก็ยากที่จะเดาคับ

  3. ครับคุณ tae ถ้าให้นึกล่ะก็ ได้เป็นรุ่น ๆ เลยล่ะ

    ครับคุณ oholit คนเราพัฒนาไม่หยุดนิ่ง และผมก็เริ่มสังเกตุเห็นแล้วว่าตอนนี้สินค้าทดแทนใหม่ ๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมา ล้วนโน้มเอียงเข้าสู่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์, อุตสาหกรรมอวกาศ, อุตสาหกรรมสมุทรศาสตร์, อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยีครับ

    CamFrog คงเอามาแทน IRC กระมังครับน้องโอ 😛

  4. สวัสดีครับ พี่ไท้
    หลายๆเรื่องผมเห็นด้วยนะครับ ในกรณีที่มันเป็นเชิงการค้าน่ะครับ

    ถ้าเป็นเรื่องคุณค่าทางจิตใจหรือว่าความเป็นศิลปะ เอ่อ ผมก็ไม่รู้จะใช้ศัพท์ยังไงดี

    สมมติว่าถ้าผมอยากได้ภาพมาประดับบ้านซักภาพ ผมว่ายังไงๆภาพเขียนจริงๆก็ดูจะเหมาะสมกว่าภาพที่เป็น Computer art แล้วปริ้นท์ออกมาเอานะครับ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่เหมือนกัน

    หรือว่าระหว่างร้านค้าออนไลน์กับ 7-eleven ข้างบ้านนี่ ผมว่ายังไง 7 ก็จำเป็นกับชีวิตผมนะ 55+ยังไม่รวมถึงร้านเสื้อผ้าที่ยังไงๆก็อยากลองใส่ซักครั้งก่อนซื้อน่ะครับ

    หรือว่าระหว่าง e-mail กับตัวจดหมายเอง ถ้าไม่ได้เป็นการเป็นงานอะไร คุยกันระหว่างเพื่อน ผมเองอยากได้จดหมายมากกว่านะครับ

    ที่อยากจะบอกก็คือ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นจริงๆครับ แต่มันก็ยังมีบางอย่างที่ตอนนี้คอมยังทำไม่ได้อ่ะครับ 55+ แต่ไม่รู้ในอนาคตจะทำได้หรือเปล่านะครับ แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ว่าความเปลี่ยนแปลงต้องมาถึงอยู่แล้วไม่วันใดก็วันนึง

  5. ดูเหมือนว่าตอนนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า มีการต่อสู้กันอยู่เงียบ ๆ ระหว่างแนวคิดช่างฝีมือ กับแนวคิดอุตสาหกรรมนิยมอยู่ครับหมอรัฐ

    ถ้าเป็นเชิงการค้านั้น แนวคิดอุตสาหกรรมนิยมชนะขาดครับ หากให้ความสนใจในการผลิตคราวล่ะมาก ๆ และให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพพอยอมรับได้

    แต่ถ้าหากว่าให้ความสนใจในความละเมียดละไมแล้ว ถึงแม้ว่าการผลิตตามแนวคิดช่างฝีมือจะให้จำนวนชิ้นงานที่น้อยกว่าจมหู แต่ถ้าเรื่องของความเป็นเลิศของคุณภาพสินค้าแล้ว ย่อมไม่สามารถจะเลียนแบบได้ง่าย ๆ ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *