เดี๋ยวนี้การใช้งานอินเตอร์เน็ตก้าวหน้าขึ้นมากเลยครับ กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ผมเองไม่เคยค้นหาสถิติเหมือนกัน ว่าในแต่ล่ะวันมีข้อมูลวิ่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในโลกนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ไบต์ แต่คิดว่าคงมากอักโขพอดู

อินเตอร์เน็ตนำมาซึ่งการส่งบริการซอฟต์แวร์ตามหลักการของ Software as a Service ครับ จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็สามารถทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตได้หลาย ๆ อย่าง ผมเองก็ใช้บริการอินเตอร์เน็ตหลาย ๆ อย่างเหมือนกันอาทิเช่น

  • ใช้ซื้อขายหุ้น
  • ใช้โอนเงินในธนาคาร
  • ใช้ซื้อตั๋วหนัง
  • ใช้ซื้อตั๋วเครื่องบิน
  • ใช้เช่าโฮสต์ติ้ง, จดทะเบียนโดเมน
  • ใช้ซื้อข้อมูลทางธุรกิจ
  • ฯลฯ

จะเห็นว่าการที่เราใช้บริการในอินเตอร์เน็ตเยอะแยะแบบนี้ ย่อมแสดงว่าข้อมูลส่วนบุคคล, รหัสผ่าน และข้อมูลสำคัญทางการเงินหลาย ๆ อย่างก็ถูกส่งให้วิ่งไปวิ่งมาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย

เรื่องแบบนี้เรื่องใหญ่แฮะ เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มันไม่เข้าใครออกใคร ถ้าเกิดเรื่องขึ้นมาคงต้องไปทะเลาะกันที่โรงพัก แล้วก็ไปต่อกันที่ศาลแหง ๆ หรือไม่ก็ไปตกลงกันด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทน แล้วแต่กรณี ๆ ไป

โชคดีที่ในโลกใบนี้ มีคนช่วยคิดค้นทฤษฎีการเข้ารหัสขึ้นมา การเข้ารหัสก็เลยเป็นแขนงวิชาที่จะช่วยชดเชยปัญหานี้ไปได้

ผมเองก็ได้เรียนวิชานี้นะ วิชา Encryption Theory And Its Practices 3 หน่วยกิต ตอนนั้นรู้สึกว่ายากชิบเป๋งเลย คือตอนเข้ารหัสก็ว่ายากแล้ว ตอนถอดรหัสยิ่งยากกว่าอีก และคงเพราะความยากที่ว่านี่เอง ทำให้เกิดความเชื่อถือได้ว่ารหัสลับต่าง ๆ ที่ถูกเข้ารหัสเอาไว้ คงไม่มีใครถอดได้

แต่ความลับไม่มีในโลกครับ เพราะเท่าที่รู้มา สุดท้ายแล้วการเข้ารหัสอันแสนยากเย็น ที่มีการทำนายไว้ว่ากว่าจะถอดได้ก็ต้องอีกตั้งนาน กลับสามารถถอดรหัสกันได้ด้วยเวลาไม่กี่ปี

ถือได้ว่าความก้าวหน้าในความเร็วของคอมพิวเตอร์ เป็นภัยคุกคามหลักของทฤษฎีการเข้ารหัสเลยก็ว่าได้

เท่าที่ทราบนะ ทฤษฎีการเข้ารหัสถือได้ว่าเป็นอาวุธสงครามอย่างหนึ่งของประเทศชาติ ที่ถูกสั่งห้ามส่งออกโดยเด็ดขาด บางประเทศถึงขนาดมีกฎหมายกำหนดบทลงโทษกันไว้เลย แต่เมืองไทยเราไม่มีแฮะ กฎหมายที่ว่า!!!

ผมรู้สึกหงุดหงิดนิดหน่อย ที่ธุรกิจ Third Party Certificate Authorities มีส่วนแบ่งตลาดใหญ่สุดอยู่แต่ที่สหรัฐอเมริกา

ตอนนี้คนไทยเราทำ Web Hosting ได้แล้ว, ทำ Application Hosting ได้แล้ว และทำ Blog Hosting ได้แล้ว แย่งส่วนแบ่งตลาดกันน่าดู คิดว่าต่อไปคงจะมีคนทำธุรกิจ Third Party Certificate Authorities ในไทยบ้างนะครับ

[tags]certificate authorities,การเข้ารหัส,การถอดรหัส,ความลับ,อาวุธสงคราม,ทฤษฎีการเข้ารหัส[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “ความลับไม่มีในโลก

  1. ผมทราบมาว่าธุรกิจแนว CA นี่ . . . มันต้องรับผิดชอบกรณีเกิดความผิดพลาดด้วยนะ

    อาจเป็นที่ เราไม่กล้าประกันความเสี่ยง . . .

  2. คำว่าเทคโนโลยี เหนือฟ้ายังมีฟ้าครับ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้พัฒนาอะไรเลย ผู้ดีไฝ่พัฒนา ผู้ร้ายไฝ่ศึกษาเพื่อ เอาชนะ แต่เราก็ยังไม่ย่อท้อต่อความเปลี่ยนแปลง สู้ต่อไป

  3. มันมีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ๆ ๆ ๆ เลยครับ Mr.Stamp ผมก็คิดว่างั้นเหมือนกัน

    สู้ ๆ ด้วยคนครับคุณสิทธิศักดิ์ ว่าแต่จะไปสู้กับใครดีเนี่ย เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็เป็นนักสู้เน้อะ ดีจัง 😛

    ผมยอมแล้วครับ ยกธงขาว ทำ Blog Tag ไปแล้วครับคุณโยคี, น้องโอ

  4. ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเข้ารหัส (นิดหน่อย) ไม่นึกว่ายากครับ (เพราะว่าไม่รู้) แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งนะครับ ผมคิดว่าก็ต้องมีเทคโนโลยีที่ปลอดภัยยิ่งขี้น ออกมาเรื่อยๆ ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *