การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอารยธรรมไทย

ตั้งหัวข้อมาซะใหญ่โตทีเดียวครับ พอดีผมไปโม้ไว้ที่ BlogNone ว่าผมจะเขียนเรื่องนี้อ่ะครับ เลยต้องมาทำตามสัญญาซะหน่อย 🙂

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนครับ ว่าอารยธรรมมีความหมายว่าอะไร? เอ้อ นั่นสิเน้อะ ผมก็เลยไปคุ้ยหาความหมายมาให้จากราชบัณฑิตยสถานครับ เขาบอกงี้

อารยธรรม = ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.

นิยามน้อยไปนะ แต่ก็โอเค เพราะเขานิยามกันมาโดยผู้ทรงภูมิปัญญาแล้วเน้อะ!!!

ผมเชื่อว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยของเราคงมีหลาย ๆ คนที่คิดเหมือน ๆ กันว่า ทำไมหนอประเทศไทยซึ่งเป็นอารยธรรมซึ่งมีอายุยืนนานตั้งกว่า 700 ปี กลับก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างเชื่องช้าแบบนี้ ชนชั้นปกครองไทยเองก็เรียนจบมาจากสหรัฐอเมริกาตั้งมากมายก่ายกอง ทำไมหนอถึงทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยก้าวหน้าไปกว่านี้ไม่ได้ นั่นสิทำไมหนอ???

การจะเข้าใจว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยทำไมไม่ก้าวหน้า เราต้องเจาะลึกและมองย้อนกลับไปยังระบบทุนนิยมของไทยเราก่อนครับ เราถึงจะเข้าใจ ของแบบนี้มันมีเหตุแห่งทุกข์ของมันอยู่แล้ว

ถ้าคุณเคยเล่นเกมส์ Capitalism II ล่ะก็ คุณจะเข้าใจเหตุผลนี้ดีครับ เกมส์นี้สนุกนะ ผมเล่นมาเป็นพันครั้งแล้วตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มันเป็นเกมส์จำลองการทำธุรกิจครับ เรื่องที่น่าทึ่งสำหรับเกมส์นี้ก็คือมันเคยถูกใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา MBA ของที่มหาวิทยาลัย Hardvard และมหาวิทยาลัย Standford ด้วย น่าสนใจใช่มั้ยล่ะ???

ทีนี้ใครที่ไม่เคยเล่นเกมส์นี้ก็ไม่เป็นไร เพราะยังไงผมก็จะเล่าให้อ่านอยู่แล้ว

เกมส์นี้ทำให้ผมเข้าใจว่า การจะพัฒนาอุตสาหกรรมชั้นสูงต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้นั้น ต้องใช้ทุนอย่างมากเลยทีเดียว เพราะต้องมีงบจัดจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ฝีมือดี, ต้องมีงบฝึกอบรม, มีงบเพื่อนำเข้าเทคโนโลยี, มีงบเพื่อวิจัยพัฒนา เป็นต้น แล้วในเมื่อต้องใช้ทุนมากอย่างนั้น เราจะเริ่มต้นตั้งไข่ได้ยังไง อันนี้เริ่มเป็นโจทย์ล่ะ

ผมลองตั้งโจทย์นะ แล้วจะเข้าใจ … โจทย์คือ บริษัทมีเงินลงทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท, มีค่าใช้จ่ายทุกอย่างเดือนล่ะ 100,000 บาทขาดตัว (หนักไปทางเงินเดือนนักพัฒนาซอฟต์แวร์), ไม่มีรายได้เลยตลอด 2 ปี และคำนวณแล้วว่าจะมีรายได้แน่ในปีที่ 3 โดยจะมีรายได้เดือนล่ะ 50,000 บาท และเพิ่มขึ้น 10% ทบต้นทุกเดือน

คำตอบของโจทย์นี้คือ เจ๊งตั้งแต่เดือนที่ 10 ครับ เพราะเงินหมด เห็นแมะ ยังไม่ได้หายใจเลย ก็ขาดใจตายไปแล้ว ดังนั้นจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โจทย์สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คือเม็ดเงินลงทุน เน้น ๆ หนัก ๆ

ทีนี้เมื่อสำรวจประเทศไทย ก็จะพบรูปแบบการระดมทุนเพื่อตั้งไข่สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หลาย ๆ แบบ อาทิเช่น

  1. กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
  2. เชื้อเชิญให้ Joint Venture มาลงหุ้นด้วย โดยขอเป็นผู้บริหารกิจการเอง แล้วให้ Joint Venture รับปันผลเฉย ๆ อย่ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหาร แถมอาจจะพ่วงท้ายในสัญญาด้วยว่า ถ้าผู้บริหารมีเงินมากพอ ก็จะสามารถซื้อหุ้นคืนจาก Joint Venture ได้
  3. ไม่อะไรเลยซักอย่าง ใช้ทุนที่มีตั้งไข่ขึ้นมา

ทั้งสามแบบล้วนสามารถตั้งไข่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ครับ แต่เลี้ยงไม่โต!!!

แล้วแนวโน้มที่ถูกต้องควรเป็นยังไงล่ะ?? ผมเปรียบงี้นะว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเหมือนเด็กทารกที่ต้องมีพ่อแม่มาเลี้ยงดู เราก็รู้อยู่เต็มอกว่าถ้าเลี้ยงเด็กทารกคนนี้ให้เติบโตขึ้น ต่อไปต้องเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งในอนาคตแน่ ๆ เลย

เราคงปล่อยให้เด็กทารกกำพร้า แล้วเลี้ยงดูตัวเองให้เติบโตไม่ได้ ถึงรอดมาได้ก็คงเป็นเด็กจรจัด ปากกัดตีนถีบไปวัน ๆ ถึงพอมีกินบ้าง แต่ก็คงไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เจออนาคตดี ๆ ซึ่งก็เหมือนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยทุกวันนี้ ที่แค่พอหายใจรวยรินได้ไปวัน ๆ

แล้วใครควรเป็นพ่อกับแม่ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยล่ะ คำตอบนะ …

พ่อก็คือรัฐบาลไง ผู้ซึ่งไม่เคยเหลียวแลลูกที่ชื่อว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซักเท่าไหร่ ซึ่งก็คงว่าไม่ได้เพราะงานเขาเยอะ ปล่อยเขาไป

ส่วนแม่ก็คือกลุ่มทุนจากอุตสาหกรรมอื่น ที่จะเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซะเองไง เพราะกลุ่มทุนเหล่านี้ล้วนมีพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมจะเลี้ยงดูอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เติบใหญ่ได้ จนกระทั่งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้

ดังนั้นตัวชี้ขาดในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย จึงไม่ได้อยู่ที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือที่เขาเรียกกันว่า Entrepreneur ครับ แต่ขึ้นอยู่กับกลุ่มทุนจากอุตสาหกรรมอื่นที่มั่นคงแล้วต่างหาก ว่าจะสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์หรือไม่

ผมเชื่อว่าต่อไปเราจะได้เห็นบริษัทผลิตหรือให้บริการซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ระดับประเทศ ที่มีบริษัทแม่เป็นบริษัทขายเฟอร์นิเจอร์ หรือเป็นบริษัทนำเข้ายาสระผม ยาสีฟันก็ได้ ใครจะรู้ 😛

ป.ล. เพราะเงินนั่นแหล่ะครับ ถึงทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยไม่ก้าวหน้า เงินตัวเดียวแท้ ๆ เชียว

[tags]เงิน,ทุน,อุตสาหกรรม,ซอฟต์แวร์,อารยธรรมไทย,กลุ่มทุน[/tags]

Related Posts

14 thoughts on “การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอารยธรรมไทย

  1. ไม่ต้องต่อไปหรอก … บริษัทคอมฯที่มีบริษัทแม่ขายเฟอร์นิเจอร์ก็มีอยู่แล้วหนิ ^-^

    นอกจากบริษัทขายเฟอร์นิเจอร์แล้ว ยังมีบริษัทขายปูน ทำร้านเซเว่น แล้วก็เป็นนักข่าว (เออ แต่อันหลังไม่ใช่บริษัทไทยนี่หว่า)

  2. หึๆๆ อยากจะบอกว่าเจ๊งหุ้น บริษัทที่แม่ขายเฟอร์นิเจอร์มาด้วย คัทลอสไปหมดแล้ว

    เข็ดกับหุ้นรายได้จากการประมูลไปอีกยาวเลย

  3. กำลังจะมาคอมเมนท์แบบคุณ panuta เลย อิอิ

    … ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจ ก็ไปหาสถานสงเคราะห์ก็น่าจะดี
    ว่าแต่ มีใครตั้งกองทุนเพื่ออุตสหกรรมซอฟต์แวร์มั่งมั๊ยนี่

  4. ซอร์ฟแวร์นี้ก็ต้องได้รับการเลี้ยงดู ปูเสื่อเหมือนคนเดินดินแบบเราๆเหมือนกันเนาะ ผมว่าถ้ามีแม่อย่างเดียวก็สามารถเลี้ยงลูกให้ดีได้ ถ้ามีความแข้มแข็งมากพอ

  5. คุณ panuta นี่รู้จริงแฮะ 😛

    คุณ house ซื้อตัวไหนล่ะ ซื้อเกินมูลค่าอ่ะดิ ไม่น่าเลย ไม่เป็นไร เอาใหม่เน้อะ

    สถานสงเคราะห์สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ คงมีอยู่ที่เดียวอ่ะครับคุณ iPats นั่นคือ opensource community นอกนั้นคงไม่มีแล้วล่ะ แบบว่าประมาณว่าช่วย ๆ กันเลี้ยงตามบุญตามกรรมไป

    เลี้ยงดูปูเสื่อนี่หมายถึงเอาใจลูกค้าประมาณนี้เปล่าคับเนี่ยคุณเดย์ 😛

  6. ที่ swpark มี Incubator Center ครับ อาจจะไม่สนับสนุนเป็นเงิน แต่ในแง่ความรู้ความเชี่ยวชาญ อย่างน้อยๆ ก็เรื่องธุรกิจที่คนสายเทคนิคไม่ค่อยรู้

    ส่วนเรื่องเงิน อีกเหตุผลนึงคงเป็นเรื่องระบบ venture captical ของเมืองไทยที่ไม่แข็งแรงด้วย

  7. โอ้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากเลยครับ ที่คุณ mk มาเยี่ยมบล็อกผมด้วย ดีใจจัง

    ผมติดตามผลงานของคุณ mk มาตลอดเลยนะ ปลื้ม ๆ คุณ mk เป็น idol ในวงการคอมพิวเตอร์สำหรับผมเลยล่ะ ดีใจ ๆ

  8. ผมมองตรงกันข้ามกับคุณไท้เลยครับ 🙂

    ลองมองดูผู้ประกอบการ IT ที่เรามองว่าเป็น idol เช่น Bill gate, Steve job, Larry elison คนพวกนี้เขาไม่ได้มองเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญที่สุด (อย่างน้อยก็ในตอนเริ่มต้นละ) พวกเขามองโลกแล้วเห็นบางอย่างที่มันอยู่ผิดที่หรือไม่ถูกต้อง และสร้างมันขึ้นมาใหม่ตามอุดมคติของพวกเขา

    Gate, Job – Personal computer
    Elison – Relational database

    ถ้าเงินสำคัญที่สุดทำไม IBM PS ไม่ชนะ Apple (ในช่วงแรก) และ OS/2 ไม่ชนะ Microsoft DOS/Windows (ในช่วงหลัง) Oracle database ก็ชนะ IBM system R ทั้งๆที่ IBM มีเงินทุนมากกว่าหลายเท่า

    ผมคิดว่าสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม software รวมทั้ง emerging technology อื่นๆ คือ “Inventor spirit” และ “Entrepreneur spirit” และทั้งสองสิ่งไม่มีทางซื้อและสร้างได้ด้วยเงินครับ

    หรือบางทีคำว่า “อุตสาหกรรม software” ของผมกับคุณไท้อาจจะเป็นคนละความหมายกันก็ได้มั้งครับ

  9. ผมเข้าใจคุณ paan อ่ะครับ ว่ากำลังจะสื่อความหมายอะไร ผมเองก็คิดเช่นเดียวกับคุณ paan เลย

    เพียงแต่โมเดลการตั้งไข่ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เราสองคนคิดตรงกัน มันไม่สามารถเกิดได้ในอารยธรรมไทยเราอ่ะครับ มันเหมาะสมที่จะไปเกิดที่อารยธรรมอเมริกันมากกว่า

    แรงขับของการตั้งไข่ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอเมริกันสามารถเกิดได้ ด้วยแรงบันดาลใจ บวกกับความพยายาม เพราะเขาตั้งไข่ก่อนเพื่อน

    แต่ของอารยธรรมไทยเรา อารยธรรมผู้ซึ่งเน้นการใช้ทุนขับเคลื่อนเป็นหลัก ใช้แรงบันดาลใจขับเคลื่อนเป็นรอง อีกทั้งเราก็ไม่ได้เป็นผู้ที่มาก่อน เราเป็นผู้ตามหลัง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะตั้งไข่ด้วยการอัดเม็ดเงินแทนอ่ะครับ เพื่อให้ไล่ตามได้ทัน

  10. MFEC ครับ
    ผมซื้อต่ำกว่ามูลค่านะ ตอนนั้นซื้อที่ประมาณ 5 บาท แล้วก็มีงานเข้าต่อเนื่องปรับตัวไปถึงเกือบๆ 8 บาท

    พอดี ผมไม่ได้ตามข่าว(อู้ไปหน่อย) ต่อมาเกิด พื้นฐานเปลี่ยนแปลง คือ งานดีเลย์ จ้างคนเพิ่มแต่รายได้โตไม่ทัน ภาครัฐลดการใช้จ่าย ทำให้กำไรลดลง

    ขายไปแล้วครับ รู้เลยว่าหุ้นประมูลนี่ต้องเกาะสถานการณ์ใกล้ชิดมากๆ ราคามันลงก่อนที่งบออกซะอีก งวดนี้ AIT ผมเลยไม่เอาแล้ว ยังขยาดอยู่ กำไรมันปรับตัวเร็วเกิน แต่งวดนั้นก็เสียหายไม่เยอะครับ ได้กำไรตัวอื่นมาช่วยไว้

  11. – การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอารยธรรมไทย [ภาคที่ 1]-

    ผมว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอารยธรรมไทยนั้นจะเจริญเติบโตได้เพราะ การศึกษาและการยอมรับจากตนในประเทศเสียก่อนครับ “อุตสาหกรรม software” นั้นอาจเป็นเครื่องมือชี้วัดระดับของอารยธรรมได้ แต่ได้เพียงบางประเทศไม่ทั้งหมด หากเรามอง”อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์”ในบ้านใกล้เรื่อนเคียงก็จะพบว่า อารยธรรมบางประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านเราก็ไม่ได้สูงส่งอะไรเลยแถมยังเป็นเมืองขึ้นมาก่อน, แต่ทำไมคนอื่นจึงมองว่า”อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์”ของเค้าดีล่ะ ผมว่าต้องมองย้อนกลับไปยังพื้นฐานของการทำธุรกิจข้ามชาติ

    สมมุติน่ะครับสมมุติ ให้คุณเป็นนักธุระกิจจาก USA มีเงินพอมาลงทุนจาก “อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์” ในประเทศดังต่อไปนี้

    1. จีน
    2. ไทย
    3. อินเดีย
    4. สิงคโปร์

    คุณจะเลือกประเทศใด ถ้าเป็นผม (ย้ำน่ะครับเป็นผม) ผมจะเลือกการติดต่อสื่อสาร + การเมือง + เศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศนั้นก่อน

    ข้อ1 การติดต่อสื่อสารแน่นอน จีน ไทย ต่างก็ใช้ภาษาของตัวเองเป็นหลัก ส่วน อินเดียและ สิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะฉนั้น + 1 แต้มให้กับอินเดียและ สิงคโปร์

    ข้อ 2 แล้วการเมืองล่ะมองที่อินเดียและ สิงคโปร์ อินเดียมีหลายวัฒนธรรมและหลายศาสนาอาจจะเป็นเรื่องยากในการเข้าถึงมีหลายกลุ่มมาก แต่ก็มี Silicon Vallay ให้ 0.5, สิงคโปร์ +1 เล่นด้วยไม่ยาก ส่วนจีนล่ะ แน่นอนเล่นเข้าด้วยถึงยากแต่ถ้ามีคนในรัฐบาลก็ไม่แน่แต่เพื่อนผมทำธุระกิจกับจีนนี้ รัฐบาลเค้าข้อนค้างที่จะเล่นด้วยยาก เพราะงั้นไม่มีแต้มแล้วบ้านเราล่ะ 555 ไม่ต้องบอกเลยแต่ผมให้ 0.5 ล่ะกันทั้งไทยและจีน

    ข้อ 3 เศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ +1 ให้กับจีน, สิงคโปร์ และไทย(เอาน่าบ้านเรามหาภาคพอใช้ได้น่ะ) อินเดีย 0.25

    -รวม-

    1. จีน = 1.5
    2. ไทย =1.5
    3. อินเดีย = 1.75
    4. สิงคโปร์ = 2

    (ย้ำน่ะว่านี้เป็นความเห็นของผม) เพราะงั้นเองเราน่าจะมองออกว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราจะ เถิบขึ้นไปสู้กับประเทศเหล่านั้นได้นั้นคือ “การศึกษา” ครับย้ำเลยว่าเป็น 1 ในพื้นฐานสำคัญที่เราต้องปูให้แน่น. มีบางคนบอกผมว่า บ.ใหญ่ๆหลายแห่งในไทยที่คน IT อยากไปทำนั้น ยังส่ง code จาก อินเดียมาให้เราแก้ BUG ให้ เห็นแมะ!!! แล้วบอกว่าเค้าเก่งกว่าเราแต่เราอยากไปนั่งไล่ BUG ให้เค้าตลอดเลยเหรอนั้นคือความจริงน่ะครับ

    ลองย้อนกลับไปดูสิว่าทำไม ผมจะตัดเรื่อง “การเมือง + เศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ ” เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพราะฉนั้นจะเหลือเพียง “การติดต่อสื่อสาร” ผมไม่ได้มาบอกว่าการไม่เป็นเมืองขึ้นของใครของประเทศไทย เป็นสิ่งไม่ดีแต่ผมกลับภูมิใจเสียอีก เพราะงั้นเราต้องปกป้องเอาไว้จากมือมารครับ!!! เพียงแต่ “การติดต่อสื่อสาร” นั้นมาจากการศึกษาที่เราต้องเร่งสร้าง เร่งสอนครับ

    [มีต่อภาค 2 ครับ]

  12. ผมคิดว่าโมเดล OpenSource + Software as a service เป็นโมเดลที่น่าสนใจสำหรับประเทศจน ๆ อย่างบ้านเรานะครับ คือไม่ได้ขายโปรแกรม แต่ขายการบริการ โดยเอา Free and OpenSource Software (FOSS) มาเป็นต้นทุน แล้วค่อยพัฒนาต่อยอดโปรแกรมให้ตรงตามความต้องการในภายหลัง แล้วเอาโปรแกรมที่ได้ไป OpenSource อีกที ก็จะได้แรงงานเพิ่มเติม โดยที่ทุกฝ่ายก็มีความสุข ผมว่าวิธีนี้ช่วยประหยัดเงินทุนไปได้มหาศาลเลยครับ (เป็นวิธีเดียวกับ Zope และ Google ใช้ครับ)

    แต่ปัญหาคือ OpenSource บ้านเรามันยังกระท่อนกระแท่นอยู่เลย

  13. หุ้น MFEC จริง ๆ แล้วราคาควรจะอยู่ใกล้ ๆ กับ book value อ่ะครับคุณ house ผมเองก็ชอบหุ้นตัวนี้นะ เพราะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ 8% มาสามปีแล้ว แต่เท่าที่ผมแกะงบเค้าดู ผมก็มีสงสัยเล็ก ๆ เหมือนกัน ว่าทำไมหนอในหนังสือชี้ชวนเขาแจ้งว่าเขาจะจ่ายปันผลที่ 50% ของกำไรสุทธิหลังจากจ่ายภาษีและดอกเบี้ยจ่ายแล้ว แต่ทำไมเขากลับจ่ายปันผลมากกว่าที่กำหนด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ปันผลที่ 8% ของราคาตลาด แล้วเขาก็นำเอากำไรสะสมมาจ่ายด้วย ซึ่งมันทำให้สินทรัพย์ของบริษัทลดลง ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง เพราะกระแสเงินสดน้อยลง ผมก็คิดว่าการที่เขาจ่ายปันผล 8% ของราคาตลาดมาได้สามปีนี่ก็คงสุดอั้นแล้วล่ะ ก็เลยคิดเอาไว้ว่าเขาคงจะออกหุ้นเพิ่มทุนในไม่ช้านี่แน่ ๆ เลย ถึงตอนนั้น dilution ของตัวหุ้นก็คงลดลงไปอีกเยอะเลย

    🙂 ผมรออ่านภาคสองนะคุณ cookievirus แต่เรื่องการให้คะแนนนี่ผมคงขอผ่านอ่ะครับ เพราะการให้คะแนนเป็นอะไรที่ยากมาก ๆ เลย เพราะตัวแปรมันเยอะ

    สงสัยต้องแก้ไขที่ต้นเหตุของเราแล้วล่ะคุณโบว์ ต้นเหตุของเราคือ opensource ของเรายังป้อแป้อยู่เน้อะ อือม เอาไว้คราวต่อ ๆ ไปผมลำดับความคิด แล้วเขียนเรื่องเหตุแห่งการป้อแป้ของ opensource บ้านเราดีกว่า

  14. ผมขอพูดในฐานะนักศึกษาน่ะครับ(เด็กที่ยังไม่ได้ออกมาสู่โลกของการพัฒนาซอฟแวร์อย่างเต็มตัว) สิ่งแรกที่เด็กสมัยนี้ขาดคือไอดอลทางด้านเทคโนโลยี พวกเด็กๆ(รวมถึงผมด้วย)ปลื้มก๊อฟไมค์มากกว่าบิลเกต อาจจะเพราะสิ่งแวดล้อมหลายๆอย่างทางด้านวัตถุดึงดูดความสนใจของวัยรุ่นไปในทิศทางอื่น ทำไงได้ค่านิยมมันเป็นแบบนี้ ทำให้มีเด็กน้อยคนที่พ่อแม่ถามว่าโตมาแล้วอยากเป็นอะไร “อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ครับ ผมอยากเก่งเหมือนบิลเกต” ผมคิดว่าไอดอลมันเป็นการสร้างแรงบัลดาลใจแก่เด็กๆ ให้เค้ารู้ว่าอยากเป็นอะไรและชอบสิ่งนั้น มันจะสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพออกมาได้อย่างมีความสุข
    อีกปัญหาไหญ่ก็เรื่องของการศึกษาเพราะมีเด็กจำนวนมากที่เห็นมาเรียนคอม เพราะความคิดว่าเงินมันดีมันกำลังบูม เค้าเหล่านั้นแทบไม่รู้มาก่อนเลยว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จบมาแล้วงานที่เค้าต้องอยู่ตลอดชีวิตมันคืองานอะไร อาจจะเพราะทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่ค่อนข้างไหม่ในบ้านเรา สิ่งที่ผมอยากจะฝากให้ผู้ไหญ่ส่งเสริมในด้านนี้อย่างจริงๆจัง ใ้ห้ความรู้เด็กๆให้เค้าใจองค์ประกอบของระบบพัฒนาซอฟแวร์ ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลเค้าอย่างเพียงพอ ด้านเรื่องการติดต่อสื่อสารจากที่เราเคยเดินหลงทางไปทางGrammarเสียนาน ตอนนี้ผมว่ามีหลายๆๆที่ปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้จริงแล้ว อีกไม่นานปัญหานี้น่าที่จะลดลงได้
    สุดท้ายเมื่อองค์ประกอบทางด้านบุคลากรพร้อมแล้ว ก็เหลือแต่สถานที่และโอกาศให้เค้าเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ(ผมขอพูดเกี่ยวกับอุดมคติของผมหนอ่ยล่ะกันครับ) อยากที่จะให้มีองค์กรใดซักองค์กรหนึ่งที่คอยสนับสนุนอย่างจริงๆัจัง ทั้งทางด้านเงินทุน
    และเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่รวดเร็วทันสมัย มีอุปกรณ์เครือ่งไม้เครือ่งมือให้เค้าได้ลองเล่น ทำให้เด็กมีการพัฒนาฝีมือตัวเองไปเป็นลำดับ
    ทุกคนสามารถเดินเข้าไปพร้อมความฝันและบอกว่าฝันของเค้าจะเป็นจริงได้อย่างไร
    ทางองค์กรสามารถสนับสนุนเค้าได้ ทั้งทางด้านการเงิน(เหมือนนักลงทุนความเสี่ยงในต่างประเทศ)และเทคโนโลยี ผมรู้ว่ามันอาจเป็นไปได้ยากในความเป็นจริง แต่ยังไงก็อยากจะให้รัฐบาลสนับสนุน โดยเริ่มจากทีล่ะนิดล่ะน้อยก็ยังดีค่อยๆพัฒนาไปทีล่ะส่วน
    และเมื่อวันนั้นมาถึงมันก็จะกลายเป็นกงล้อมที่กลมสมบูรณ์สามารถหมุน นำพาประเทศเคลื่อนที่ไปได้อย่างมั่นคง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *