ช่วงนี้ผมกำลังหา Mobile Application มาลงบน Samsung Galaxy Cooper ของผมครับ และผมก็พบกับปัญหาสองอย่างในระหว่างติดตั้งและใช้งาน Mobile Application

โดยปัญหาอย่างแรกคือปัญหาคลาสสิค นั่นก็คือ พื้นที่จัดเก็บของเครื่องไม่ค่อยจะพอ เพราะถึงแม้จะมี Mobile Application หลาย ๆ ตัว ที่อนุญาตให้เราย้ายไปติดตั้งที่ SD Card ได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ App ทุกตัวที่จะทำได้ แถมยิ่ง Mobile Application มีการปรับรุ่นให้ทันสมัยยิ่งขึ้น มันก็มีขนาดใหญ่โตยิ่งขึ้นไปอีก!!!

ส่วนปัญหาอย่างที่สองอ่ะเด็ดกว่า นั่นคือ ผู้ผลิต Mobile Application ไม่รู้จะรีบไปไหน (สงสัยจะกลัวตกเทรน) ก็เลยตั้งหน้าตั้งตาทำให้ App ของตัวเองทันสมัยกันใหญ่ ผลก็คือ มันใช้ไม่ได้ มันล่ม มันบังคับให้ปิดตัวเอง และก็ไม่อยากจะเชื่อว่าแม้แต่ Facebook for Android เองก็มีปัญหากับเขาเหมือนกัน (หลังจากปรับรุ่นแล้ว)

เมื่อเป็นแบบนี้ ผมก็เลยหันไปใช้บริการของ App นั้น ๆ ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ในลักษณะ Web Application แทน!!!

มันทำให้ผมเห็นว่า รูปแบบของ Application จะเริ่มหันเหจากเดิม คือ …

Desktop Application -> Web Application -> Mobile Application

ไปเป็น …

Desktop Web Application -> Mobile Web Application -> Mobile Application

ส่วน Desktop Application ก็คงจะล้าสมัยไปตามระเบียบ เพราะสัดส่วนมันคงจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากตลาดผู้บริโภคหันไปจับกลุ่มที่ Tablet กับ Smart Phone แทน

ตอนนี้ผมเลยเริ่มเห็นแล้วว่า วิธีการควบคุมต้นทุนสำหรับการสร้าง Mobile Application (ที่น่าจะดี) ก็คือ การสร้างให้มันเป็น Mobile Web Application และละทิ้งการสร้าง Mobile Application ที่ยึดโยงต่อระบบปฏิบัติการใด ๆ (Android หรือ iOS หรือ webOS หรือ บลา ๆ ๆ) ซึ่งจะตอบโจทย์ในเรื่องของอรรถประโยชน์และต้นทุนการผลิตมากกว่า (สำหรับการทำเป็นงานอดิเรก)

Related Posts

2 thoughts on “สายลมหวนกลับ

  1. ผมไม่เคยเล่น Mobile App
    แต่อยากทราบเหมือนกันว่าข้อได้เปรียบของ Facebook Mobile App ที่เหนือกว่า Facebook Mobile Web App คืออะไร

  2. มันมี Layer ระดับเดียวกับที่ Web Browser เป็นครับ จึงมีความคล่้องตัวสูงกว่าในการเข้าถึง Device แต่ด้วยมาตรฐานที่แตกต่างกันของระบบปฏิบัติการสำหรับ Smartphone ก็ทำให้ผู้พัฒนามีความลำบากในการจัดสร้างเหมือนกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *