คอมพิวเตอร์แสง หรือ แสงคอมพิวเตอร์?

ตอนนี้การ์ตูน One Piece กำลังสนุก ตัวเจ๋ง ๆ มากันเพียบ พลเอกของกองทัพเรือก็อยู่กันครบ เจ็ดเทพโจรสลัดก็มี จักรพรรดิ์โจรสลัดอย่าง “หนวดขาว” ก็มาแจมด้วยอีกต่างหาก มาเยอะแบบนี้เลยเปลืองหน้าคู่ไปหลายแผ่นเลย!!!

พลเอกของกองทัพเรือมี 3 คน มีอยู่คนหนึ่งเป็นมนุษย์แสง ผมชอบคนนี้จังเลย เพราะจู่โจมด้วยแสง และสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ด้วยความเร็วแสง!

ในทางวิทยาศาสตร์อธิบายไว้ว่า แสงเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค ซึ่งหากเป็นคลื่นก็จะอยู่ในย่านความถี่ 484-668 เทร่าเฮิร์ต และมีความยาวคลื่นเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 380-750 นาโนเมตร แต่ถ้าเป็นอนุภาคก็ต้องถือว่าเป็นอนุภาคที่แปลกมาก เพราะมันไม่เคยยอมอยู่นิ่ง ๆ เลยพับผ่าสิ!

และเพราะแสงมันมีคุณสมบัติที่ก้ำกึ่งแบบนี้นี่เอง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า หากสามารถนำแสงมา “ขัง” เอาไว้ในอาณาบริเวณเล็ก ๆ แล้วใช้คุณสมบัติของมัน มาสร้างเป็นวงจรตรรกะแสง เพื่อให้กำเนิด “คอมพิวเตอร์แสง” ก็คงไม่เลวเหมือนกัน!

เหตุผลเพราะแสงสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที หรือประมาณคร่าว ๆ ได้ว่าภายในหนึ่งวินาที แสงจะสามารถวนรอบโลกได้ 7 รอบครึ่ง ซึ่งถือว่าเร็วพอใช้ได้ 😛

เมื่อเป็นแบบนี้ หากเอาคุณสมบัติของความเป็นคลื่นของแสง ซึ่งมีความยาวคลื่นที่สั้นและมีย่านความถี่ที่สูง มาใช้แทนคุณสมบัติการกระโดดดึ๋ง ๆ ของอิเล็กตรอน ซึ่งช้ากว่ากันเป็นไหน ๆ เราก็จะได้ข้อสรุปในระดับหนึ่งว่า เราจะได้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานรวดเร็วขึ้นอย่างมหาศาล เราอาจจะมีคอมพิวเตอร์แบบ 128 พันล้านบิต ซึ่งเจ๋งกว่าคอมพิวเตอร์แบบ 64 บิตในปัจจุบันอย่างหาที่เปรียบมิได้ทีเดียวเชียวแหล่ะ

และถ้าถึงตอนนั้น โปรแกรมเมอร์ก็คงปวดกบาลน่าดู เพราะลำพังคอมพิวเตอร์แบบ 32 บิต ก็มี Microcode เยอะจนหูจะดับอยู่แล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์มีขนาดถึง 128 พันล้านบิตเมื่อไหร่ คงต้องเกณฑ์คนเก่ง Assembly ทั่วทั้งโลกมาช่วยกันเลยกระมังเนี่ย???

[tags]คอมพิวเตอร์แสง, แสงคอมพิวเตอร์, แสง, ความเร็วแสง[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “คอมพิวเตอร์แสง หรือ แสงคอมพิวเตอร์?

  1. ผมเชื่อว่า ต่อให้เรามีคอมพิวเตอร์ที่เร็วขนาดนั้น
    เราก็ยังจะมีปัญหา …

    …CPU 100%
    …แรมเต็ม
    …HDD เต็ม
    …Network ช้า

    มนุษย์ไม่เคยพอ 😀

    ป.ล. พี่ไท้ครับ blog พี่ ถ้าเปิดด้วย FF3.5 แล้ว layout ตรงที่กรอก comment มันแปลกๆ อะ

  2. หลังๆ มานี่พี่ไท้โม้แต่ละเรื่อง ผมไม่รู้จะเม้นอะไรดี เอาเป็นว่าบทความนี้มันช่างบระเจ้าจ๊อด!! ละกัน

    แบบว่ามหัศจรรย์เกินสติปัญญาจะถกปัญหาด้วย Y_Y

  3. – -” โอ้ว วันพีซ

    น่าจะเอาเอเนลูมาปั่นไฟนะครับ ช่วยลดการใช้ถ่านหิน lolz

  4. ภายในหนึ่งวินาทีแสงสามารถเดินทางรอบโลกได้เจ็ดรอบครึ่ง !?!
    ร ร เร็วมาก

    พี่ไท้อ่านการ์ตูนด้วยเหรอครับ ผมก็อ่านเรื่องนี้เหมือนกันครับ

  5. ที่บอกว่าแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 380-750 นาโนเมต นั้นมันเป็นแสงเฉพาะที่ตามมนุษย์มองเห็นนี่ครับ ผมเลยเกิดข้อสงสัยว่า เราจะเอาแสงที่มีคลืนความถี่ในย่านนั้น เท่านั้นเหรอครับ มาใช้งาน?

    แล้วแสงที่มีความยาวคลื่นนอกเหนือ หรือน้อยกว่านั้นที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นมันได้ล่ะ จะเอามาใช้งานไหม? (เช่น แสงในย่าน ultraviolet กับ infrared)

  6. ผมก็เห็นเหมือนกันล่ะคุณ AMp แต่ขี้เกียจแก้อ่ะ T-T

    งั้นคราวหน้า เอาเรื่องที่มันเกินสติปัญญาอีกดีกว่าเน้อะคุณ crucifier 😛 อ้าว อ้าว

    ยินดีด้วยเน้อคุณทรงชัย อิ อิ

    ไอ้ “เอเนลู” นี่ผมคุ้น ๆ มากเลยอ่ะคุณ madzleng คิดว่าเป็นอะไรซักอย่างใน one piece นั่นแหล่ะ แต่มันอะไรว้าาาาา คิดไม่ออก T-T

    อ่านดิคุณเน็ต ถือเป็นการ์ตูนเรื่องเดียวที่ผมอ่าน ถ้าหมดเรื่องนี้ก็คงเลิกอ่านการ์ตูนแล้ว หมดยุคของผมแล้ว T-T

    เพราะว่าตาของเรามองเห็น เราจึงเรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ช่วงนั้นว่า “แสง” ครับคุณ yeawdk ซึ่ง “แสง” มีคุณลักษณะพิเศษ คือเป็นทั้ง “คลื่น” และเป็นทั้ง “อนุภาค” ที่ชื่อว่า “photon” ดังนั้น หากเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่าน ultraviolet หรือ infrared เราก็จะเรียกมันว่า “รังสี” แทน ซึ่ง “รังสี” กับ “อนุภาค photon” นั้น มันมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *