ระบบกินแบ่งที่เรียกว่า Web Service

ระบบกินรวบเป็นระบบที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เป็นเจ้าของ ยิ่งผลผลิตที่เกิดจากระบบดังกล่าวมีความเป็นเอกเทศมากเท่าไหร่ ผลประโยชน์ของระบบนั้น ๆ ก็จะยิ่งมีมากเป็นเท่าทวีคูณ

ระบบเว็บไซต์ก็ถือว่าเป็นระบบที่ให้ผลประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของเช่นกัน โดยเฉพาะเว็บไซต์ซึ่งมีข้อมูลที่หลากหลายครบถ้วนบรรจุอยู่ภายใน ก็ยิ่งจะสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นเงาตามตัว

ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เจ้าของเว็บไซต์จึงไม่ค่อยยินดีนัก หากจะเปลี่ยนระบบเว็บไซต์ของตนเอง จากระบบกินรวบให้กลายเป็นระบบกินแบ่ง!!!

โดยปรกติแล้ว ถ้าเราสวมวิญญาณพ่อค้า เราก็ต้องคิดถึงกำไรขาดทุนเป็นสำคัญ งั้นเราลองมาคิดดูกันหน่อยดีกว่า ว่าต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างระบบกินแบ่งด้วย Web Service มีอะไรบ้าง?

  1. สูญเสียเอกลักษณ์ของข้อมูล เพราะข้อมูลไม่ได้ถูกผูกขาดอีกต่อไป
  2. ต้องเสียพลังของ server เพื่อนำไปประมวลผลคำร้องขอ Web Service
  3. ต้องเสียกำลังคน เพื่อใช้พัฒนา Web Service

จะเห็นว่าข้อแรกเป็น “ต้นทุนของการเสียโอกาส” ในขณะที่สองข้อหลังเป็น “ต้นทุนทางบัญชี”!!!

ในฐานะของพ่อค้า ย่อมไม่ใส่ใจในต้นทุนทางบัญชี เพราะหากยอมให้เกิดต้นทุนทางบัญชี ก็ย่อมแสดงว่ามั่นใจแล้ว ว่าจะสามารถสร้างกำไรได้ ดังนั้น ประเด็นสำคัญมันจึงอยู่ที่ต้นทุนของการเสียโอกาสมากกว่า ที่จะต้องพิจารณาเป็นสำคัญ!!!

ถ้าระบบเว็บไซต์ดังกล่าว หาผลตอบแทนจากโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ หรือหาผลตอบแทนจากการเก็บค่าธรรมเนียม ก็ย่อมต้องมีต้นทุนของการเสียโอกาสที่สูงลิบลิ่ว หากต้องสูญเสียเอกลักษณ์ของข้อมูลที่มีไป จากการเปิดให้เข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ได้ด้วย Web Service!!!

งั้นหนทางก็จะถูกบีบให้แคบลง จนต้องหาคำตอบว่าแล้วเว็บไซต์ประเภทไหนบ้างล่ะ ที่เมื่อเปิด Web Service แล้ว จะทำให้ต้นทุนของการเสียโอกาสต่ำมาก จนกระทั่งการทำ Web Service เกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าของเว็บไซต์ไม่ลังเลมากนักที่จะทำมันขึ้นมา?

โดยส่วนตัวแล้วมองว่า การสร้างระบบกินแบ่งด้วย Web Service เป็นหนทางสำหรับอนาคต ในการยืนอยู่บนเส้นทางของวงการเว็บไซต์ต่อไป!

[tags]ระบบกินรวบ, ระบบกินแบ่ง, Web Service, ต้นทุนของการเสียโอกาส, ต้นทุนทางบัญชี[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “ระบบกินแบ่งที่เรียกว่า Web Service

  1. ผมมองว่าการเปิด API ให้มีช่องทางการเข้าถึงบริการ มีผลดีมากกว่าผลเสีย

    เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้มี Client แบบอื่นๆ นอกเหนือจาก Browser โดยที่เจ้าของเว็บ ไม่จำเป็นต้องลงทุนพัฒนาเอง

    ตอนนี้มีมือถือ ต่อไปอาจจะเป็นตู้เย็น, ไมโครเวฟ, เครื่องซักผ้า

    นี่ยังไม่นับ ในส่วนของช่องทางสำหรับให้สมาชิกสร้างเนื้อหาอีกนะครับ

    นับข้อดีแล้ว ใครไม่เปิด API ผมถือว่า “เชย” นะ

  2. เออจริงด้วยคุณ AMp ผมลืมไป 😛

    งั้นตอนนี้เว็บไซต์เมืองไทยก็เชยกันฮึ่มเลยอ่ะคุณ Audy T-T

  3. ผมคิดว่าการมี Web service เนี่ย ก็เหมือนกับแฟรนไซน์ ดีดีนี่เอง เพียงแต่ว่า เราต้องรู้ว่า สิ่งไหนควรให้สิ่งไหนไม่ควรให้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *