ทำธนบัตรปลอมกับแฮกค์คอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงิน อันไหนน่าสนใจกว่ากัน?

งั้นลองเปรียบเทียบกันดูหน่อย

ระหว่างอันนี้ …

พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑

มาตรา ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

มาตรา ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กับอันนี้ …

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อันแรกติดคุก 3 ปี

อันสองติดคุก 6 เดือน + 2 ปี + 5 ปี = 7 ปี 6 เดือน

งั้นอาชญากรก็คงเลือกพิมพ์แบงค์ปลอมต่อไป เพราะโทษมันเบากว่าแฮกค์เงินในระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินเยอะเลยแฮะ!!!

ส่วนข้างล่างนี่แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 เพราะคุณ kasemsakk ทักท้วงมา

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๒๔๐ ผู้ใดปลอมขึ้นมาซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดที่รัฐบาลออกใช้ หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา ๒๔๑ ผู้ใดแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้ หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลงพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ให้ผิดไปจากเดิมเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานแปลงเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา ๒๔๔ ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใด ๆ อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา ๒๔๐ หรือของแปลงตามมาตรา ๒๔๑ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท

มาตรา ๒๔๕ ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใด ๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา ๒๔๐ หรือของแปลงตามมาตรา ๒๔๑ ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔๖ ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอม หรือแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งใด ๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้ หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือสำหรับปลอมหรือแปลงพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้นเพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

มาตรา ๒๔๙ ผู้ใดทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใด ๆ ให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งใด ๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ หรือจำหน่ายบัตรหรือโลหะธาตุเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้นผมเลยต้องถอนคำพูดแล้วแก้ใหม่เป็น …

งั้นอาชญากรก็คงเลือกแฮกค์เงินในระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินดีกว่า เพราะโทษมันเบากว่าการพิมพ์ธนบัตรปลอมเยอะเลยแฮะ!!!

ป.ล. ผมเองก็คุ้น ๆ ว่าโทษของการพิมพ์ธนบัตรปลอมมันรุนแรงมาก แต่พอไปอ่านในกฎหมายเงินตราแล้วโทษมันเบาซะเหลือเกิน (จริง ๆ ก็สงสัยเหมือนกัน) ลืมนึกไปว่าเมืองไทยเรายังมีกฎหมาย compatible ที่เรียกว่า “ประมวลกฎหมายอาญา” อยู่ (ลืมไปว่าอ่านเจอโทษหนักในนี้แหล่ะ)

[tags]ธนบัตร, ปลอม, แฮกค์, คอมพิวเตอร์, เงิน, สถาบันการเงิน[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “ทำธนบัตรปลอมกับแฮกค์คอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงิน อันไหนน่าสนใจกว่ากัน?

  1. เคยมีโทษประหารอยู่ใน พรบ. ฉบับร่างด้วยครับ แต่ตอนหลังมีการคัดค้านจนต้องเอาออก

    จำนวนเงินค่าปรับก็น่าสนใจครับ พิมพ์แบงก์ปลอมปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท แต่ทำลายข้อมูลคนอื่นปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

    แต่ทั้งนี้ พรบ.เิงินตรา เป็นฉบับปี 2501 สมัยนั้นห้าหมื่นบาทคงมากพอสมควร

    นักกฎหมายเขาบอกว่าการแก้กฎหมายทีหลังจะทำได้ยาก ก็เลยต้องตั้งโทษไว้สูงๆ ตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนหน้านี้ พรบ.คอม ฉบับร่างเคยมีปรับหนึ่งล้านบาทมาแล้วครับ

  2. แก้ให้แล้วครับคุณ kasemsakk

    เมืองไทยเรา มีโทษประหารก็เหมือนไม่มีครับคุณอภิศิลป์ ซึ่งผมก็ว่าดีแล้วล่ะ มันน่ากลัว

    ทำธนบัตรปลอม ได้รับโทษยิ่งกว่าหนีภาษีอีกครับคุณ NiNeMarK

  3. เลี่ยงภาษี เสียหายแต่รัฐ

    ธนบัตรปลอม เสียหายทั้งระบบเศรษฐกิจครับ

    โทษเลยหนักกว่าเยอะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *