สัมปทานสารสนเทศแห่งชาติ

ประเทศไทยเรามีสินทรัพย์อยู่มากมาย และสินทรัพย์เหล่านั้นก็ล้วนส่งเสริมอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยเรา ดังนั้นผู้บริหารจัดการอำนาจรัฐในแต่ล่ะยุคสมัย จึงมีหน้าที่ ๆ จะต้องดำเนินนโยบายในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้น อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อสร้างความมั่งคั่งต่อยอดให้กับรัฐชาติในอนาคต

เราสามารถแบ่งประเภทของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสินทรัพย์ของชาติโดยอำนาจรัฐ ได้ดังต่อไปนี้

  1. ภาครัฐบริหารจัดการสินทรัพย์เองและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แบบเต็ม ๆ ตัวอย่างเช่น ค่าปรับการทำผิดกฎจราจร เป็นต้น
  2. ภาครัฐไม่บริหารจัดการเอง แต่ให้สัมปทานกับเอกชนไปบริหารจัดการกับสินทรัพย์นั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับก็คือ ค่าสัมปทานก้อนโต และรายได้อื่น ๆ ตามแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างเช่น การให้สัมปทานในการขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น
  3. ภาครัฐสูญเสียสินทรัพย์นั้นไป โดยการแปรรูปหน่วยงานรัฐซึ่งดูแลสินทรัพย์นั้น ๆ ให้กลายเป็นบริษัทเอกชน โดยมีภาครัฐร่วมถือหุ้น ทำให้ผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ เงินปันผล หรือ ดอกเบี้ย เป็นต้น

ถ้าเลือกได้ ภาครัฐก็คงอยากจะบริหารจัดการสินทรัพย์ของชาติ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยตนเอง!!!

แต่บังเอิญว่ามันมีปัจจัยอยู่หลายอย่าง ที่ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปล่อยสินทรัพย์ดังกล่าวออกไปให้เอกชนทำ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็ได้แก่

  1. การที่ภาครัฐไร้ซึ่งทักษะในการบริหารจัดการสินทรัพย์นั้น ๆ ด้วยเหตุเพราะไม่เคยลงทุนในด้านนั้น ๆ มาก่อน
  2. ภาครัฐบริหารจัดการสินทรัพย์นั้น ๆ เองได้ แต่ถ้าทำเองแล้วจะต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานอันหนักอึ้ง
  3. ภาครัฐถูกทำให้ไขว้เขว้ หลงเข้าใจผิดคิดว่าสินทรัพย์นั้นไม่ต้องทำเองก็ได้ จึงหลงกลส่งมอบให้เอกชนไปดำเนินการแทน

เสียดายที่สัมปทานส่วนใหญ่ต้องให้รัฐมนตรีเป็นคนเซ็นอนุมัติ เพราะไม่ใช่อย่างนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กก็คงจะสามารถขอสัมปทาน เพื่อบริหารสารสนเทศอันเป็นสินทรัพย์ที่ถือครองโดยประเทศชาติ ได้อย่างสะดวกโยธินกว่านี้

[tags]สัมปทาน,สารสนเทศ,แห่งชาติ,ภาครัฐ,เอกชน[/tags]

Related Posts

2 thoughts on “สัมปทานสารสนเทศแห่งชาติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *