กลยุทธ์ Human-based computation แบบขงเบ้ง

เมื่ออดีตกาลนานมาแล้ว ในปลายราชวงศ์ฮั่นแห่งจักรวรรดิ์จีน ได้มีบุรุษกระเดื่องนามถือกำเนิดขึ้น ซึ่งหากเราเรียกชื่อของเขาด้วยสำเนียงจีนกลาง บุรุษผู้นั้นก็จะมีชื่อเรียกว่า “จูเก่อเลี่ยง” แต่ชื่อนั้นของเขามักไม่เป็นที่รู้จักกันนัก หากเทียบกับชื่อ “ขงเบ้ง” อันลือลั่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในโลกใบนี้

ในระดับผู้บริหารจัดการ สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำที่สุดก็คือ การมองภาพใหญ่ของงานทั้งหมด จากนั้นก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า อะไร, ที่ไหน, อย่างไร, เมื่อไหร่, ใคร และ เท่าไหร่?

เมื่อได้คำตอบครบถ้วนแล้ว ในฐานะผู้บริหารจัดการ ก็ต้องมีการเรียกประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงชี้แจงให้ทีมงานตระหนักถึงความพร้องเพรียงในการทำงานร่วมกัน และหลังจากนั้น ผู้บริหารจัดการก็จะทำหน้าที่เพียงเฝ้าจับตาดูทุก ๆ หน่วยการทำงาน ว่าทำงานได้สอดคลองกับกลยุทธ์โดยรวมหรือไม่!!!

ขงเบ้งถือเป็นผู้บัญชาการรบที่มีกลยุทธ์เฉพาะตัว เพราะไม่ใช้วิธีการประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการรบ หากแต่จะใช้วิธีเขียนสิ่งที่ตนเองต้องการให้ทำลงบนกระดาษ จากนั้นบรรจุเอาไว้ในถุงผ้า แยกเอาไว้สำหรับแม่ทัพนายกองแต่ล่ะคน แล้วจึงค่อย ๆ เรียกแม่ทัพนายกองแต่ล่ะคนเข้ามารับถุงผ้า พร้อมทั้งกำชับว่าเมื่อได้อ่านสิ่งที่ให้ทำบนกระดาษแล้ว ห้ามทำพลาดและห้ามแพร่งพรายให้แม่ทัพนายกองคนอื่นรู้เด็ดขาด!!!

กลยุทธ์แบบนี้มีข้อดีข้อเสียให้สาธยายได้มากมาย แต่ข้อเด่นที่ผมเห็นว่าเป็นเรื่องแยบคายก็คือ

  1. ขงเบ้งไม่จำเป็นต้องเฝ้าจับตาดูแม่ทัพนายกองคนไหนเลย เพราะแต่ล่ะคนล้วนรู้แต่สิ่งที่ตัวเองต้องทำ ดังนั้นสมาธิจึงแน่วแน่ไม่วอกแวกไปใส่ใจคิดในเรื่องที่คนอื่นต้องทำ (เพราะไม่รู้)
  2. แม่ทัพนายกองไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ยุทธวิธีที่ตนเองถูกมอบหมายให้ทำนั้น มันจะมีผลกระทบต่อภาพรวมของยุทธศาสตร์ยังไงบ้าง รู้แต่ว่าทำให้สำเร็จได้เป็นพอ
  3. โอกาสที่ไส้ศึกจะล่วงรู้ยุทธวิธีทั้งหมดก็เป็นไปได้ยาก เพราะมันเป็นความลับซะเหลือเกิน

มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลก เพราะถึงแม้จะถูกสั่งให้ทำหรือสั่งไม่ให้ทำ โดยมีเหตุจูงใจอันเกิดจากความโลภ, ความหลง และความกลัวก็ตาม แต่ก็ไม่วายที่จะตั้งคำถามถึงเหตุผล ว่าทำไมต้องทำ และทำแล้วจะเกิดผลดีผลเสียยังไง?

ดังนั้นการใช้คนโดยที่ให้เขารู้ึถึงยุทธศาสตร์โดยรวมน้อยที่สุด จึงเป็นเรื่องดีที่สุด!!!

ปัจจุบันนี้ Human-based computation ยังมีรูปแบบเป็นแบบเปิดอยู่ นั่นก็คือผู้ที่ถูกคอมพิวเตอร์สั่งให้ทำงาน ยังคงรู้ว่าสิ่งที่ตนเองลงมือทำนั้น มันมีผลกระทบถึงยุทธศาสตร์โดยรวมยังไงบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่กรอก CAPTCHA ด้วย reCAPTCHA หลายคนก็พอจะรู้ว่า มันเป็นการช่วยตรวจอักษรให้กับข้อมูลจำนวนมหึมาใน Internet Archive หรือบางคนที่คลิกโฆษณาของ Google Adsense ก็รู้ว่าเมื่อคลิกไปแล้วจะทำให้ทั้ง Google และเจ้าของเว็บไซต์ได้ค่าโฆษณา หรือหลายคนยิ่งรู้เข้าไปใหญ่ว่า หากมีใครซักคนแปะลิงก์ชวนให้กดสมัครนู่นนี่นั่น แสดงว่าเมื่อกดสมัครแล้วคนที่แนะนำจะได้ตังค์แน่นอน เป็นต้น

หากจะเปลี่ยนให้ Human-based computation เป็นแบบปิด ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอากลยุทธ์ Human-based computation แบบขงเบ้งมาใช้ โดยการให้คอมพิวเตอร์แบ่งงานให้คนทำ โดยคนที่ทำไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้น มันมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์โดยรวมยังไง

ผลประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากกลไก Human-based computation แบบนี้ก็คือ เราสามารถสร้างผลผลิตมวลรวมจากพลเมืองอินเทอร์เน็ตได้ โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าเราต้องการผลลัพธ์ยังไงนั่นเอง

[tags]human-based, computation, ขงเบ้ง, ยุทธศาสตร์, ยุทธวิธี, กลยุทธ์[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “กลยุทธ์ Human-based computation แบบขงเบ้ง

  1. มันคือ จิตวิทยา ใช่ไหมครับ

    เหมือนๆ หลอก คน ให้ เรา เลย

    โดยที่เค้า ไม่รู้ตัวว่าโดนหลอก

    ว่าไปนั่น

    หุหุ

  2. งานแบบนี้เห็นได้ทั่วไปมั้งครับ โดยเฉพาะพวกงานประกอบต่างๆ
    เช่นพวกสายพานประกอบรถยนต์ สายการผลิต อะไหล่

    คนในสายพานรู้แต่สิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้า รู้แต่ว่าประกอบรถ แต่ยังไงไม่รู้
    พวก บ. ทำอะไหล่ ส่งโรงงานก็ทำแค่อะไหล่ส่ง รู้ว่ารถ แต่ยังไง
    สรุปรู้แค่ว่า มันออกมาเป็นรถได้ แต่ก็ทำแค่ส่วนที่บอกให้ทำ แล้วได้เงิน

    ในสงครามก็รู้แค่ว่าทำตามคำสั่งแล้วจะชนะ(มั้ง) ไม่ต้องสนใจอะไร
    ทหารปัจจุบันก็ถูกสอนให้ทำตามคำสั่ง ไม่ต้องสนใจอะไรเหมือนกัน

    งานใน net มันก็เชื่อมโยงกับ entry เรื่อง office เสมือนของพี่ไท้นั่นแหละ
    ที่ผมคิดว่าทำอยู่บ้านได้ แต่พี่ไท้กลับเอาคนมานั่งที่เดียวกันทำงานในคอมฯชะงั้น
    งานใน net มันมองยากหน่อย แต่ระบบจ่ายงานตามสายพาน ส่งไปให้คนงานทำ
    มันก็พอจะมีนะครับ คนทำที่บ้าน นับค่าแรงตาม Job ที่ส่งไป ระบบแบบนี้ผมพัฒนาอยู่

    หรืออีกแบบที่มีมานาน ก็พวก Seti@Home ส่งงานมารันที่ Com คนทั่วไป
    เดี๋ยวนี้มีหลาย Project ที่ทำแบบนี้ เจ้าของเครื่องก็ไม่รู้ว่าเครื่องมันทำอะไร
    แต่รู้ว่าทำอะไรโดยรวม แต่รายละเอียดไม่รู้อะไรมากนัก แบบนี้ก็มี

  3. คิดไปโน่นเลยคุณ Audy อิ อิ ^-^

    ส่วนหนึ่งก็น่าจะประมาณนั้นนะคุณ ITAXIz

    คุณ 7 กำลังพัฒนาอยู่เหรอ โหย มันมองยากอย่างที่คุณ 7 บอกเลยอ่ะ เพราะซอฟต์แวร์มันเป็นนามธรรม จับต้องมิได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *