งานเยอะทำไงดี โทษไว้ก่อนคนไม่พอ ถ้าโปรแกรมเมอร์ไม่พอก็ขอโปรแกรมเมอร์เพิ่ม ถ้านักวิเคราะห์ระบบไม่พอก็ขอนักวิเคราะห์ระบบเพิ่ม

อยู่ดี ๆ เดินไปเคาะหน้าห้องระดับนโยบายว่าขอคนเพิ่ม ประเดี๋ยวจะโดนกระโดดเตะกระเด็นออกมาจากห้องจนได้ เพราะอะไร? เพราะจะขอคนเพิ่มได้มันต้องมีหลักฐานมายืนยันว่าคนมันไม่พอจริง ๆ

ไม่พอเพราะงานมันล้นคนจริง ๆ ไม่ใช่ไม่พอเพราะเราบริหารคนไม่เต็มขีดความสามารถ!!!

ระดับนโยบายจะยอมให้คนเพิ่มได้ด้วยเงื่อนไขเพียงแค่ 3 อย่าง

  1. อัตรากำลังคนสำรองยังเหลืออยู่
  2. มีหลักฐานแสดงศักยภาพงานเทียบกับศักยภาพคน แล้วพบว่ามันล้น คนไม่พอจริง ๆ … และ
  3. วาทศิลป์อันเยี่ยมยอด ที่จะโน้มน้าวให้ระดับนโยบายคล้อยตามได้

ไอ้ตัวหลักฐานนี่แหล่ะยาก เพราะต้องมาทำ Workload ของคนในทีมงานแต่ล่ะคน ว่าแต่ล่ะคนทำอะไรอยู่บ้าง ดูแลอะไรอยู่บ้าง ใช้เวลาในหนึ่งวันไปกับเรื่องอะไรบ้าง เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ อีกทั้งต้องมาดูว่างานในมือของแต่ล่ะทีม ทั้งหมดมีงานอะไรบ้าง เอามาเรียง ๆ กันแล้วจัดลำดับความสำคัญ แล้วก็ตีเป็นชั่วโมงการทำงานที่ต้องใช้ไปออกมา ระดับนี้แล้วไม่ตีเป็นวันครับ ตีเป็นชั่วโมง!!!

หลักฐานแสดง Workload มันต้องให้โปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบเป็นคนทำ เพราะเป็นคนที่รู้เนื้องานจริง ๆ ว่าเป็นยังไง แต่คนเหล่านี้ก็งานยุ่งจนไม่มีเวลามาทำหลักฐาน Workload ซะด้วยสิ

เลยกลายเป็น Dead Lock เลย โปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบไม่มีเวลาทำ Workload พอไม่มีเวลาทำ คนระดับจัดการก็เลยไม่รู้จะเอาหลักฐานอะไรไปขอคนเพิ่มกับคนระดับนโยบาย พอขอคนเพิ่มไม่ได้งานมันก็พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ไปทำให้โปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบไม่มีเวลามากขึ้นไปอีก

วิธีแก้ที่ตอนนี้นึกได้ก็คือสงสัยต้องนั่งเทียนเขียน Workload โดยอาศัยการสังเกตุแล้วกระมัง เพราะคนที่ต้องเขียนอ่ะนะ อย่าว่าแต่ไม่มีเวลาเขียนเลย แค่เวลาเล่าในรายละเอียดก็ยังไม่มีเลย!!!

ช่างเป็นวงจรอุบาทว์ขององค์กรคอมพิวเตอร์จริง ๆ!!!

ผมไม่เห็น IT consult เจอปัญหาแบบนี้ซักเท่าไหร่นัก เพราะพวกเขากำหนดขอบเขตของเนื้องานไว้ก่อนเลย ว่าจะทำให้ถึงแค่ไหน เมื่อข้อตกลงยุติเขาก็จะประเมิณกำลังพล, Workload, ชั่วโมงการทำงาน, GAP Analysis, Customized Program ฯลฯ แล้วก็คิดราคา ถ้าตกลงราคาได้ ก็ขนคนมาลงไซต์งานเลย แล้วพอทำเสร็จก็จากไป ไม่ต้องมาดูแลระบบซอฟต์แวร์ที่ตนเป็นผู้สร้างขึ้น ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมก็วนกลับไปกำหนดขอบเขตของเนื้องานใหม่ เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

มันไม่เหมือนกับองค์กรคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในองค์กรทั่วไปที่ไม่ได้หากินกับการขายบริการซอฟต์แวร์ องค์กรคอมพิวเตอร์แบบนี้จะต้องรับงานเข้ามาเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้นซะที เพราะ User ก็มีความต้องการเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ นั่นแหล่ะ ดังนั้นไอ้เรื่องจะมาประเมิณกำลังพลก่อนอ่ะมันลำบาก เข้าทำนองของเก่าก็ต้องดูแล ของใหม่ก็ต้องมาพัฒนา

ตอนเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ไม่เห็นอาจารย์จะมีหน่วยกิตวิชา “การจัดการโครงการซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่” กับวิชา “การสร้างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้สามารถรับงานได้เป็นอนันต์” ให้เราเรียนเลย พับผ่าสิ!!

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ทีมงาน,ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์,โครงการซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “เพิ่มคน

  1. การสร้างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้สามารถรับงานได้เป็นอนันต์

    มีคนรู้วิชานี้จริงๆเหรอ

  2. จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ในบริษัท ไม่ยอมนำวิชา system analysis และ IT project management มาใช้กับ user ในองค์กรรึเปล่าคะ ไปคิดกันแต่ว่าสองตัวนี้ใช้กับลูกค้าที่เก็บเงินได้เท่านั้น

  3. ถ้ามีก็ดีมากเลยครับคุณ 7 อิ อิ

    น่าจะเป็นเช่นนั้นครับคุณ aoyoyo แบบนี้ต้องยุให้ user ไม่ให้ตังค์ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์จะได้มองว่า user ก็เป็นลูกค้าอันทรงคุณค่าเหมือนกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *