การพัฒนาซอฟต์แวร์ตามชื่อเรียก Application

พักหลังผมไม่ค่อยได้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเป็น Application ซักเท่าไหร่ ผมค่อย ๆ ด้อยความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปเรื่อย ๆ แต่ก็ชำนาญขึ้นในด้านการบริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แทน

ยุคนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เราสามารถโฟกัสทักษะการเขียน Application ได้ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่แล้ว เพราะอุปกรณ์มันหลากหลายมากขึ้น แล้วมันก็มีอะไร ๆ ที่ซ้อนทับมากขึ้นด้วย

เพื่อให้ชำนาญอะไรซักอย่างนึง โปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์เลยต้องเลือกว่าจะถนัดในการสร้าง Application แบบไหน เพราะแต่ล่ะแบบก็มีการแตกแขนงในแบบของมันเยอะแยะ ต้องเรียนรู้อะไร ๆ เยอะแยะ เพื่อให้ Application ที่ทำออกมาดี

ผมก็เลยทำตารางข้างล่างนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่า โดยกว้าง ๆ แล้วหากต้องโฟกัสความชำนาญด้านการพัฒนา Application มันจะมี Application ตามชื่อเรียกยังไงบ้าง

ชื่อเรียก Application
ชื่อเรียก Application

อย่างตัวผมเอง เดิมเคยชำนาญมากในการพัฒนา Enterprise Application และ Desktop Application เพื่อใช้งานบน Server/PC/Notebook

ถัดมาผมก็เพิ่มความชำนาญในการพัฒนา Web Application ในยุค HTML+CSS และ HTML+CSS+AJAX เพื่อใช้งานบน PC/Notebook

แต่ภายหลังผมก็เริ่มตามไม่ทัน ผมไม่ได้ตามไปกับยุค HTML+CSS+AJAX Framework และไม่ได้ตามไปกับยุค Web Application แบบ Responsive

ที่บ๊วยกว่าก็คือ ผมไม่ได้เข้าไปอยู่ในกระแสการพัฒนา Mobile Application เลย ไม่ว่าจะเป็นบน iOS หรือ Android!!!

ส่วน Embedded Application นั้น มันไกลตัวผมอยู่แล้ว อันนี้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ!

สำหรับสาเหตุที่ตามไม่ทัน ก็อย่างที่บอกไปข้างบน คือ ต้องหันไปทำทางอื่นแทน!!!

ถ้าตอนนี้ต้องกลับไปรื้อฟื้นการพัฒนา Application ผมก็คงจะเอาดีด้าน Enterprise Application บน Cloud/Server แทน เพราะมันสอดคล้องกับงาน Back-end ที่ใช้รับส่งข้อมูลจาก Front-end ซึ่งเป็น Web Application หรือ Mobile Application ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้

 

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *