Show Off ความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์

ผมรู้สึกยินดีมากเลยครับ ที่ปัจจุบันประเทศไทยเรามีการเปิดสาขาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะเมื่อสมัยก่อนนั้น สาขาทางคอมพิวเตอร์ก็มีเพียง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีมากมายขึ้น ทั้งระบบสารสนเทศ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, ระบบจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหาร, กราฟิกและมัลติมิเดีย ฯลฯ

การที่มีสาขามากขึ้นแบบนี้ ก็มีความหมายถึงการที่ไทยเราผลิตบัณฑิตทางด้านนี้ได้มากขึ้น ซึ่งผมก็หวังนั่นแหล่ะ ว่าคุณภาพจะมากขึ้นไปด้วย เพราะจบมาแล้วถ้ามาเข้าองค์กรที่ผมทำงานอยู่ ผมก็จะได้เลือกมาทำงานในทีมผมได้โดยผมไม่ต้องลังเลใจอะไร 🙂

ขอแจ้งให้ทราบอย่างนึงครับ ซึ่งสำคัญมาก นั่นก็คือ การออกมาทำงานในภายนอก สถาบันการศึกษาที่จบมา อาจจะช่วยเราได้ในตอนออกตัวครับ ตอนสตาร์ท แต่หลังจากนั้นก็เป็นประสบการณ์และทักษะของเราเองครับ ที่จะช่วยให้เราเจริญก้าวหน้าได้

ตัวผมเองจบจากสถาบันการศึกษาของรัฐ ที่ต้องสอบเข้าด้วยอัตรา 1 ต่อ 15 ครับ แต่ผมเองก็ต้องซูฮกให้กับผู้ร่วมงานจากมหาวิทยาลัยเปิด ซึ่งมีความสามารถในการทำงานที่สูงกว่าผม ทั้งทางเทคนิค และทางระบบ

ถึงบอกอ่ะครับ ว่าสถาบันไม่เกี่ยว ตัวเราเองอย่างเดียวล้วน ๆ ครับ ดังนั้นสถาบันเก็บไว้ที่ใจ แสดงความสามารถกันดีกว่า 🙂

กลับมาเรื่องของเราต่อครับ คือสิ่งที่จะบอกก็คือ ในเมื่อรู้ว่าตนเองนั้นมีความสามารถแล้ว จะเก็บงำความสามารถของตนเองไว้ทำไมครับ ปลดปล่อยมันออกมาครับ

ผมจะไม่รู้สึกยินดีครับ ถ้าใครที่มีความสามารถ แล้วใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอวดภูมิของตนเอง โดยไม่ได้สร้างผลงานอะไรออกมาเลย ตัวผมเองก็เคยเป็นคนแบบนั้น จนคิดได้ว่า ผมเองก็ควรสร้างอะไรบ้างเหมือนกัน จึงได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาและจัดสร้าง Software as a Service ขึ้นมา

ทีนี้ถ้าเราอยากจะแสดงความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของเรา แล้วความสามารถทำให้เราได้ผลงานเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เราควรทำไงดี ซึ่งก็มีทางเลือกมากมายคร่าว ๆ ประมาณนี้นะ

  1. ทำแบบที่ผมทำ ทำเว๊ปไซต์แบบ Software as a Service ขึ้นมา เริ่มจากง่าย ๆ เห่ย ๆ แบบที่ผมทำแบบนี้ก็ได้ แล้วค่อย ๆ ขยายไปเรื่อย ๆ
  2. เข้าร่วมกลุ่มหรือตั้งกลุ่มพัฒนา Open Source Software ในเว๊ปไซต์ http:/www.sourceforge.net ข้อดีของเว๊ปนี้คือมีระบบการจัดการโปรเจคซอฟต์แวร์ที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะมีระบบ Tracking System ที่อนุญาติให้ผู้ที่อยู่ในโครงการหรือผู้ทดสอบซอฟต์แวร์ รวมทั้งผู้ใช้ซอฟต์แวร์ของเรา แจ้ง Bug, Support Request, Feature Request และมี Forum เพื่อให้ใคร ๆ เข้ามาพูดคุยเกี่ยวกับโปรเจคที่เราทำอยู่
  3. สร้างซอฟต์แวร์แล้ว upload ไว้ที่ http://www.thaiware.com/ หรือ http://www.download.com/

สิ่งเหล่านี้จะช่วยเราได้ครับ เราจะใช้มันเป็นสิ่งอ้างอิงได้ เมื่อต้องสมัครเข้าไปทำงานในองค์กรที่เราคาดหวังเอาไว้ เพราะยังไง คงมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ไม่มากนักหรอก ที่จะออกนอกลู่นอกทางไปทำอาชีพอื่นน่ะครับ

ผมยกตัวอย่างคนนึง ผมนับถือเขา ซึ่งเขาไม่รู้จักผม แต่ผมรู้จักเค้าครับ คือเขาเป็นเจ้าของเว๊ปไซต์ http://www.cwinapp.com/ ครับ เป็นเว๊ปไซต์ที่สอนเขียนซอฟต์แวร์กราฟิก โดยเน้นใช้ Microsoft Visual C++ และ Platform SDK เว๊ปไซต์นี้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยคุณพีรภัทร์ สว่างเพียร ครับ ปัจจุบันเว๊ปไซต์นี้ปิดตัวไปแล้วภายหลังจากเปิดมาปีนึง บทความในเว๊ปนั้นก็เคยถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือแล้ววางขายในร้านหนังสือซีเอ็ดเมื่อหลายปีก่อนด้วย และข่าวล่าสุดที่ผมได้จากคุณพีรภัทร์ก็คือ เขาไปทำงานที่บริษัท MFEC จำกัด (มหาชน) โดยทำงานในส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับมือถือด้วย Java Mobile Edition ครับ

คนเราทุกคนต้องมีครูครับ ผมเองก็ถือว่าคุณพีรภัทร์เป็นครูเหมือนกัน ความรู้ทางด้านการสร้างซอฟต์แวร์กราฟิกบน Windows ของผมทั้งหมด ก็ได้จากการจุดประกายโดยเว๊ปไซต์นี้ครับ

เป็นโชคดีที่ผมได้ดาวน์โหลดบทความทุกบทความจากเว๊ปดังกล่าวมาด้วย ก่อนที่เว๊ปจะปิดตัวลง ยังไงก็คงไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธ์หรอกนะครับ กดดาวน์โหลดได้เลยนะจากรูปด้านล่าง

เว๊ปไซต์ http://www.cwinapp.com

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *